ครม.สัญจร ที่นครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา – เมื่อวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
โอกาสนี้
การลดช่องว่างคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น เพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 914 แห่ง แยกเป็นสถานศึกษาอาชีวะของรัฐ 428 แห่ง และอาชีวะเอกชน 486 แห่ง มีคุณภาพไม่ต่างกันมากจนเกินไป ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงต้องยกระดับสถานศึกษาที่มีคุณภาพต่ำกว่าให้ขึ้นมามีคุณภาพใกล้เคียงกัน อันจะส่งผลให้มีการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นไปอย่างทั่วถึง
การเปิดหลักสูตรสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ โดยการจัดการศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ต้องทบทวนถึงความสอดคล้องของการพัฒนาประเทศ และตามศักยภาพของแต่ละภาคที่แตกต่างกัน โดยอาจนำแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐมาใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม 4 ด้าน คือ Re-branding อาชีวศึกษา, Excellent Model School (EMS), Database of Demand & Supply และ Standards & Certification Center
การบูรณาการงานทั้งส่วนกลาง จังหวัด และระดับภาค ปัจจุบันมีการแบ่งส่วนภูมิภาคออกเป็น 6 ภาคคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันตั้งแต่ระดับกลุ่มสถานศึกษา ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับภาค อันจะเป็นการขยายความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งในระดับประเทศต่อไป จึงขอให้แต่ละภาคนำรูปแบบและแนวทางการจัดตั้งและการดำเนินงานของ “ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (EEC TVET Career Center) ไปพิจารณาจัดตั้งในแต่ละภาค ภายในปีงบประมาณ 2561 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านข้อมูลกลาง การส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ การระดมทรัพยากรและความร่วมมือ การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และการวิจัยและพัฒนา
ให้สำรวจจำนวนและสัดส่วนผู้จบการศึกษาอาชีวศึกษาต่อการมีงานทำ เพื่อวางแผนการผลิตผู้เรียนในสาขาอาชีพต่าง ๆ
แนวทางการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง โดยสถานศึกษาแต่ละแห่งควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการดำเนินงานให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ซึ่งจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบมากอยู่แล้ว แต่ก็ต้องพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วนที่จะช่วยเสริมงานด้านต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ปรับปรุงถนนในวิทยาลัยเพื่อรองรับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การจัดสวัสดิภาพและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะเมื่อเพิ่มงานให้คน ก็ต้องสนับสนุนเพิ่มขวัญกำลังใจตามให้ทันด้วย เป็นต้น
แนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชน การดำเนินงานที่ผ่านมาของ สอศ. มีหลายโครงการที่รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น Fix It Center, อาชีวศึกษาร่วมด้วยช่วยประชาชน, อาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติ แม้กระทั่งสีคิ้วโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบ Smart Farmer & Modern Farm ของวิทยาลัย ก็สามารถช่วยประชาชนในการเพิ่มผลผลิตและรายได้อีกด้วย
● ในการตรวจเยี่ยม
นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมการเลี้ยงวัว ฟาร์มผลิตไข่ไก่อารมณ์ดี ผลิตภัณฑ์น้ำแกงเปรอะสมุนไพรพร้อมปรุงบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ไวน์ผลไม้ น้ำนมข้าวโพด เป็นต้น
นายสรศักดิ์ แก่งกระโทก นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิค |
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
21/8/2560