ครูกัลยา หวังพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ด้วย Coding

เมื่อวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง ในการลงพื้นที่ติดตามงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2563 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก โดยมี นายณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบาย รมช.ศึกษาธิการ, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา, นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางปัทมา วีระวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายชาย มะลิลารองเลขาธิการ ก.ค.ศ., นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการ สช., นายวุฒิศักดิ์ เหล็กคำ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, นายอรุณ ชุมทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล คณะครู และนักเรียน เข้าร่วม

 width=

 width=

 width=

 width=

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมแก่ผู้บริหาร และคณะครูโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ที่ได้ทุ่มเทให้ความรู้แก่เด็ก ๆ อย่างเต็มศักยภาพ ตามนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสของ ศธ. ซึ่งมีการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตและมีทักษะชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ อีกทั้ง ยังส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่ชอบอย่างมีความสุข โดยเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะปรับเปลี่ยนการเรียน ด้วยการสร้างบรรยากาศในการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ ซึ่งสถานศึกษาต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และสอนในเรื่องที่เด็กสนใจอยากเรียนรู้ พร้อมทั้งใช้การเรียนโค้ดดิ้ง (Coding) พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล มีตรรกะ แก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน การคิดเชิงคณิตศาสตร์ และการกล้าตัดสินใจ

โดยเริ่มจากการเรียนแบบ Unplug Coding คือการเรียนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกวัย (Coding for All, All for Coding) และสามารถต่อยอดความคิดไปสู่การพัฒนานวัตกรรม อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาให้ถึงตัวเด็กโดยตรง และลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง ศธ.ให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม ทุกคนต้องได้รับการศึกษาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตลอดจนสามารถพึ่งตนเองและอยู่ในสังคมอย่างภาคภูมิใจ

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

นอกจากนั้น โรงเรียนระยองปัญญานุกูลได้เปิดทำการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเภทอยู่ประจำและไปกลับ นักเรียนส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกและภูมิภาคต่าง ๆ โดยมีการจัดทักษะการเรียนรู้ 6 ทักษะ คือ ทักษะวิชาการ ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะภาษาและการสื่อสาร ทักษะการช่วยเหลือตนเองและสุขอนามัย ทักษะสังคมและการดำรงชีวิต และทักษะอาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียน จำนวน 335 คน แบ่งเป็น นักเรียนไป-กลับ 134 คน นักเรียนหน่วยบริการ 120 คน นักเรียนโครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียนเปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู 81 คน และมีครูและบุคลากร จำนวน 54 คน

ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ของโรงเรียนระยองปัญญานุกูล, บ้านพักเรือนนอนสุนทรภู่ (หอพักนักเรียนชาย), ห้องเรียนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, กิจกรรมสาธิตการเรียนการสอน และการฝึกอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นมัธยมศึกษา ชมการแสดงบาสโลบ (ชุดการแสดงอะเมซิ่งระยอง) และร่วมบริการอาหารมื้อเย็นแก่นักเรียนโรงเรียนระยองปัญญานุกูล เป็นต้น

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
25/8/2563