คุณหญิงกัลยา ชม “โค้ดดิ้งชายทุ่ง” ของโรงเรียนกลุ่มบูรพาพัฒน์ ย้ำโค้ดดิ้งเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์

เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมซักซ้อมความเข้าใจโรงเรียนกลุ่มบูรพาพัฒน์ และจัดกิจกรรมห้องเรียนสาธิตการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ณ โรงเรียนร่วมจิตประสาท คลอง 13 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี นางอารุรักษ์ สุขสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2, นางจันทิมา รื่นสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมจิตประสาท, คณะครู และนักเรียนโรงเรียนกลุ่มบูรพาพัฒน์ ให้การต้อนรับ
 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ จำนวน 13 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนร่วมจิตประสาทได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมีชื่อโค้ดดิ้งประจำโรงเรียนว่า “โค้ดดิ้งชายทุ่ง” ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ การทำนาข้าว, การทำไร่หญ้า, การปลูกข้าวโพด และการปลูกพืชพรรณต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ คือ โค้ดดิ้งแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถฝึกฝนทักษะที่จำเป็น ได้โดยปราศจากข้อจำกัดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคนิค อันเป็นการปฏิรูปการศึกษาโดยตรงสู่ตัวผู้เรียนอย่างแท้จริง

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการคิด การเรียน Coding จึงเหมาะสมเป็นอย่างมาก เป็นการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกเพศ และทุกวัย ดังคำที่ว่า Coding for All, All for Coding โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทอนิกส์ที่ทันสมัยมากมาย เพียงแต่เป็นการฝึกให้เด็กคิดให้รอบคอบ เตรียมการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาอย่างถ่องแท้ และหาแนวทางแก้ปัญหาจนจบกระบวนการ “ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาให้ถึงตัวเด็กโดยตรง และลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกของประเทศไทย” ขณะเดียวกันโรงเรียนต้องไม่ลืมปลูกฝังให้เด็กทุกคนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ให้เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม และประวัติศาสตร์ชาติไทย พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการเรียน ให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่ต้องการ ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ และบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนอาศัยอยู่ เพื่อให้เด็กได้เรียนอย่างสนุกและมีความสุขไปพร้อม ๆ กันด้วย

ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมโรงเรียนกลุ่มบูรพาพัฒน์ ที่จัดการสอน “โค้ดดิ้งชายทุ่ง” ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเกษตรกรรมมีความสำคัญต่อประเทศไทย สำหรับผลิตอาหารที่มีคุณภาพเลี้ยงชาวไทยและชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ทั่วโลกขาดแคลนอาหาร จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การเกษตรมีความเข้มแข็ง ฝึกฝนให้เด็กมีทักษะในการผลิตพืช และสัตว์ ด้วยหลักการเรียนรู้ Coding for Farm

โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมของนักเรียน ได้แก่ โค้ดดิ้งชายทุ่ง หัวข้ออาชีพพารวย, เฮฮาชายทุ่ง หมายมุ่งฟอร์ฟาร์ม, ห้องเรียนสาธิตนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 30 คน และกิจกรรม Coding for farm ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สอดคล้องกับการบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ เห็ดนางฟ้าพารวย, หรอยแรงแซงโค้ง, ไข่ครกพอเพียง, เก็บผักให้คุณยาย, ห้องตัดผมหรรษา โหด มัน ฮา พาสนุก, ธนาคารออมทรัพย์พาเพลิน, เกมระเบิด และ Take out the garbage (การคัดเลือกขยะ) เป็นต้น

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
31/10/2563