คุณหญิงกัลยา ติดตามการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน หวังใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียแก่ชาวสมุทรสงคราม

เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 10.30 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมติดตามการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ณ ห้องประชุมบางคนที ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายวงเทพ เขมวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม, บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองวัดประดู่ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงครามผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากฟาร์มสุกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยที่ผ่านมาจังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 3 จังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการน้ำเสีย แต่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามก็ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ควรที่จะต้องใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งจะมอบหมายให้คณะทำงาน รมช.ศธ. ประสานกับนักวิจัยที่เคยวิจัยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียจากฟาร์มสุกรได้สำเร็จ จนได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติที่จังหวัดเชียงใหม่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

ด้านการกำจัดผักตบชวาที่เติบโตอย่างรวดเร็วและกีดขวางทางน้ำไหล ขอเสนอให้จังหวัดสมุทรสงครามประสานขอความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำหรับการใช้เรือสำหรับเก็บผักตบชวาโดยเฉพาะ นำขึ้นมาสับแล้วนำไปผลิตปุ๋ย ซึ่งเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้นไม่มากก็น้อย

ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้หารือในปัญหาด้านอื่น ๆ ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำประปา, ท่าเทียบเรือปากมาบที่ชำรุดทรุดโทรม, ปากคลองปากมาบที่ตื้นเขิน, ปัญหาการประมง ตลอดจนราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ พร้อมทั้ง ฝากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริฯ มาปรับใช้ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ไม่ขาดแคลนน้ำ และมีน้ำใช้ตลอดปี โดยใช้หลักการแก้มลิงพวง และเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ตามแบบหมู่บ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
25/9/2563