คุณหญิงกัลยา รับฟังปัญหาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามฯ ย้ำ ศธ. พร้อมร่วมแก้ไขไปด้วยกัน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563 เวลา 10.30 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเอกชนในสังกัด โดยมี นายสุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา, นายศุภชัย ศรีหล้า ประธานคณะทำงานติดตามแผนงานและงบประมาณ รมช.ศธ., นายนัสรูดิน กะจิ นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลา, นราธิวาส และปัตตานี 26 โรงเรียน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า หลังจากได้รับฟังการนำเสนอสภาพปัญหาของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลา, นราธิวาส และปัตตานี 26 โรงเรียน อาทิ การพิจารณางบประมาณให้สถานศึกษาแห่งละ 400,000-500,000 บาท ตามขนาดของโรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา, การพิจารณางบประมาณเยียวยาในสถานการณ์ COVID-19 แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, การจัดสรรอุปกรณ์อนามัยปกป้องการแพร่เชื้อ COVID-19, การเยียวยามัคคุเทศก์จังหวัดสงขลา จำนวน 2,500 ราย ที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนและขาดรายได้หลัก เนื่องจากสถานการณ์ปกติ จะนำเที่ยวแสวงบุญ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน, การจัดสนามสอบ O-NET เพิ่มเติม เนื่องจากนักเรียนอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา ต้องเดินทางไปสอบในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่เพียงแห่งเดียว ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดอันตรายในการเดินทาง, การจัดสนามการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอิสลามศึกษา (Islamic National Educational Test: I-NET) สำหรับนักเรียน แต่ละรายวิชาให้อยู่ในสถานที่เดียวกัน (โรงเรียนประจำอำเภอ), การพิจารณาค่าตอบแทนครูผู้สอนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เนื่องจากปัจจุบันนอกจากพื้นที่อำเภอจะนะ, เทพา, สะบ้าย้อย, นาทวี แล้ว อำเภออื่น ๆ ในจังหวัดสงขลา ครูผู้สอนตาดีกาไม่ได้รับค่าตอบแทน เป็นต้น
ซึ่งสภาพปัญหาที่ได้รับฟังครั้งนี้ ได้พิจารณาว่าจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำไปพิจารณาและหาแนวทางแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ สำหรับเรื่องแนวคิดที่จะการเปลี่ยนแปลงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-NET) เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ให้เป็นระบบการทดสอบแบบอื่น ที่อาจมีความเหมาะสมมากกว่า โดยจะหารือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) เพื่อหาทางออกเรื่องนี้โดยเร็ว
ในระบบการทดสอบ “ครู” ก็มีส่วนสำคัญในด้านของการสอน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพยิ่งขึ้น “ครู” ต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับนักเรียน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างบรรยายอากาศที่ดีในห้องเรียนและนอกห้องเรียน สอนในสิ่งที่น่าสนใจ สร้างแรงจูงใจ ใฝ่เรียนรู้ กระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด และกล้าแสดงออกในสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยการใช้การเรียน Coding ซึ่งเริ่มจากการเรียนแบบ Unplug Coding คือการเรียนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกวัย (Coding for All, All for Coding) และสามารถต่อยอดความคิดไปสู่การพัฒนานวัตกรรม อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาให้ถึงตัวเด็กโดยตรง และลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เด็กในการเผชิญกับโลกศตวรรษที่ 21 และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในอนาคต
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ

นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน

11/9/2563