คุณหญิงโค้ดดิ้ง เล็งหาแนวทางขับเคลื่อน “โค้ดดิ้งเพื่อประชาชน Coding for All, All for Coding” ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ ครั้งที่ 2 (1/2564) ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานยุทธศาสตร์นโยบาย รมช.ศธ., นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ., นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เข้าร่วม
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการทำงานของคณะอนุกรรมการ 3 คณะ ซึ่งได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าพร้อมที่จะขับเคลื่อนและผลักดันการเรียนการสอน Coding ให้เป็นไปในทิศทางที่นำไปสู่การคิดวิเคราะห์และสร้างทักษะ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุมีผล คิดเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักเเก้ไขปัญหา ในศตวรรษที่ 21 อย่างรู้เท่าทันดิจิทัลและเทคโนโลยี (คณะอนุกรรมการอำนวยการพัฒนาขีดความสามารถ ทักษะและการเรียน Coding, คณะอนุกรรมการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล สร้างความตระหนักและการรับรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ทักษะ และการเรียน Coding และคณะอนุกรรมการประสานงานร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ)

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงชื่อของ Coding เพื่อใช้สื่อสารกับประชาชนทั่วประเทศให้มีความเข้าใจตรงกัน โดยเห็นพ้องตรงกันว่า ควรใช้ “โค้ดดิ้ง” (Coding) แบบตรงตัว พร้อมฝากให้พิจารณาถึงการวางแนวทางการสอนให้ตอบโจทย์ “Coding for All” อย่างเป็นรูปธรรม สอดรับกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียนทุกระดับชั้น และประชาชนทุกช่วงอายุ อาทิ “หลักสูตรโค้ดดิ้งสำหรับประชาชนทั่วไป” โดยให้ความสำคัฐกับผู้ว่างงาน เป็นลำดับแรก

“เพราะขณะนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประชาชนหลายคนกลายเป็น “คนว่างงาน” จึงควรหาวิธีช่วยคนเหล่านี้ เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างกว่า การเรียนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับครูและนักเรียนเช่นที่ผ่านมา รวมทั้งเพิ่มการเรียนโค้ดดิ้งในสาขาอื่น ๆ ไม่ว่าจะ ด้านเกษตรกรรม อาทิ นโยบายเกษตรประณีต หรือ 1 ไร่ 1 แสน, ด้านการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับแรงงาน

ดังนั้น การนำโค้ดดิ้งมาใช้สำหรับกลุ่มผู้ว่างงานหรือตกงาน จะมีส่วนช่วยการเรียนรู้เรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดเพื่อแก้ปัญหา ช่วยสร้างอาชีพและรายได้แก่ตัวเองได้ในที่สุด” รมช.ศึกษาธิการ

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
5/1/2564