ติดตามงาน ศธ.ส่วนหน้า
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) และการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม 2560 ณ
การประชุมครั้งนี้ ได้รับทราบผลประเมินการจัดงานดังกล่าว ซึ่งพบว่าสังคมได้รับทราบและเข้าใจบทบาทการทำงานของ ศปบ.จชต. หรือ “
อย่างไรก็ตาม แนวทางการขับเคลื่อนงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) จำเป็นจะต้องเร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจต่อสาธารณชนในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง
นอกจากนั้น จำเป็นจะต้องเร่งขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงาน เช่น
โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสานฝันฯ จำนวน 8 แห่ง จนสามารถขยายผลเป็นโครงการห้องเรียนกีฬาทั่วทุกภูมิภาคอีก 8 แห่ง และในปีการศึกษาหน้าโครงการสานฝันฯ จะขยายผลเพิ่มไปยังโรงเรียนอีก 4 แห่ง ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา, อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี, อ.จะแนะ และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
โครงการห้องเรียนอาชีพ (OBEC Career Program) ซึ่งเริ่มต้นปีนี้เป็นปีแรกจำนวน 6 โรงเรียน ในพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” จังหวัดยะลา, โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม จังหวัดนราธิวาส, โรงเรียนราชมุนีรังสฤษฎ์ จังหวัดปัตตานี และจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (เชียงราย ตาก) อีก 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จังหวัดเชียงราย, โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย, โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก โดยในวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่โ
รงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอสุคิริน สาขาวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส และโรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ซึ่งจากการลงพื้นที่ดังกล่าวทำให้เห็นความก้าวหน้าการจัดการเรียนสายอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่จบแล้วได้ทั้งวุฒิ ม. 6 และ ปวช. รวมทั้งการฝึกอบรมอาชีพทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนและประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ สร้างรายได้ที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งได้เห็นถึงคุณภาพของศูนย์ฝึกอบรมฯ ที่สุคิริน ที่จะผลักดันให้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยการอาชีพสุคิริน ในโอกาสต่อไป
การดำเนินงานเกี่ยวกับทุนการศึกษา และการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา ได้จัดให้มีทุนการศึกษาในหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา ทั้งโดยทางตรง คือ การสูญเสียบิดามารดาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และโดยทางอ้อม คือ ความยากจน ความขาดแคลนทุนทรัพย์ และด้อยโอกาสต่าง ๆ ซึ่งยังมีอยู่จำนวนมาก คือ ทุนภูมิทายาท ทุนระดับอาชีวศึกษา ทุนอุดมศึกษา และทุนรายปีต่อเนื่องทายาทผู้ได้รับผลกระทบ โดยได้มีการมอบทุนดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาอาชีวศึกษาโครงการส่งเสริมทุนการศึกษา นักศึกษากลุ่มพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกิจกรรมค่ายนักศึกษาทุนประจำปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา รวมทั้งจัดให้มีการประชุมสัมมนาการแนะแนวการศึกษาต่อ: ทางเลือกและเส้นทางอาชีพของเยาวชนชายแดนใต้ ที่จังหวัดสงขลา เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และอาจารย์ ได้มีโอกาสรับฟังข้อมูล ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษา สาขาวิชา และทางเลือกศึกษาในระดับอุดมศึกษาแนวใหม่ ระหว่างวันที่ 29-30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
การสรุปรวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงาน กลุ่มภารกิจงานที่ 4 (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) หลังจากสิ้นปีงบประมาณ
อนึ่ง
การประชุมครั้งนี้มีผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและทุกสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุม อาทิ นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี, พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.), ,นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา นักประชาสัมพันธ์, ผู้แทนจากหน่วยงานทุกสังกัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ขอบคุณภาพถ่าย: นายพงศ์สัณห์ อุ่นอก สพป.ปัตตานี เขต 1
3/8/2560