ติดตามผลสัมฤทธิ์ยกระดับการศึกษา จชต.
ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ติดตามผลสัมฤทธิ์การยกระดับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดสงขลา – พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการ
สำหรับ
และการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
-
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ โดยการพัฒนาโต๊ะครูและบาบอ ด้านกระบวนทัศน์การบริหารจัดการและขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 380 คน รวมทั้ง มีการเสริมทักษะวิชาชีพ มุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ และ 1 ปอเนาะ 1 โครงการพัฒนา -
โครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู นักเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 1,264 คน ได้เรียนรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ พร้อมจัดฐานการเรียนรู้ด้านอาชีพ-มุมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันศึกษาปอเนาะ 75 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ -
โครงการส่งเสริมภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และสื่อสารให้กับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน กว่า 5,000 คน ให้สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีในวิถีชุมชนร่วมกัน -
โครงการเยาวชนสานสัมพันธ์ สร้างสรรค์คนดี เพื่อจัดค่ายเยาวชนปลูกฝังค่านิยมคนไทย 12 ประการ และการทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรมให้กับเยาวชน จำนวน 1,214 คน -
โครงการกีฬา กศน. สานสัมพันธ์ชายแดนใต้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายเยาวชนนอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีแบ่งเป็น 2 ประเภทกีฬา คือ 1) กีฬาสากล ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ และเปตอง 2) กีฬาพื้นบ้าน ได้แก่ กระโดดเชือกหมู่ วิ่งผลัดกระสอบ วิ่งผลัดอุ้มลูกโป่ง ชักคะเย่อทีมผสม และสกีบก โดยจัดการแข่งขันสายสัมพันธ์ใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ -
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู กศน.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระดับความสามารถ 5Q สู่คุณภาพการศึกษาและสังคมสันติสุข” ให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ ครู พนักงานราชการ และบุคลากร 877 คน เพื่อที่จะมุ่งหมายให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน นำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้กับการทำงานจริง
-
การพัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็น 4 ศูนย์การเรียนรู้ ประกอบด้วย
1) ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 413 ตำบล เพื่อให้มีศูนย์การเรียนรู้ฯ ประจำตำบล ที่จะได้มีการอบรมวิทยากรแกนนำให้ความรู้ตามกรอบความคิด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตลอดจนจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแก่ประชาชนในตำบลๆ ละ 30 ครอบครัว
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล 413 แห่ง พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์ๆ ละ 10 คน เพื่อดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ด้านประชาธิปไตยแก่ประชาชน ตลอดจนรณรงค์การไปร่วมออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ด้วย
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศชุมชนในทุกตำบล และจัดการอบรมครู กศน. ให้มีความเข้าใจนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมายที่ถูกต้อง มีทักษะการใช้งานและเทคโนโลยีผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ตลอดจนใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์เพื่อการค้า เศรษฐกิจ และสังคม ให้สามารถถ่ายทอดสู่ประชาชนในชุมชนต่อไป
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการรู้หนังสือประชาชน 6,920 คน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมาย 84,743 คน จัดการศึกษาต่อเนื่องกับผู้สนใจ 55,282 คน และจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 1,811,554 คน -
การจัดหลักสูตรอิสลามศึกษาเพิ่มเติม โดยมีหลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ อาทิ สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ได้จัดสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา, การจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาร่วมกันระหว่าง กศน.กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้ กศน.สอนวิชาสามัญ และสถาบันศึกษาปอเนาะสอนวิชาศาสนา
-
การติดตามนักเรียนออกกลางคัน ซึ่ง กศน.สตูล ได้จัดทำโปรแกรมติดตามนักเรียนออกกลางคัน ที่เรียกกันว่า “สตูลโมเดล” และมีการใช้โปรแกรมนี้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทำให้ระบบเริ่มมีปัญหา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงาน ติดตาม และแก้ไขปัญหานักเรียนออกกลางคันมีความเสถียรต่อการใช้งาน จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนและดูแลระบบข้อมูลที่รองรับการทำงานของโปรแกรมต่อไปด้วย
ความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
-
ระบบฐานข้อมูลรองรับโปรแกรมสตูลโมเดล มอบสำนักงาน กศน. ประสานการทำงานกับ ผอ.กศน.สตูล เพื่อพิจารณารายละเอียดของโปรแกรมและหาทางแก้ไขปัญหาระบบการทำงานให้มีความเสถียรและพร้อมใช้งานโดยเร็ว
-
เด็กออกกลางคันและตกหล่น มอบสำนักงาน กศน. รวบรวมข้อมูลเด็กออกกลางคันและตกหล่นครอบคลุมทั้ง 4 กลุ่ม ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อนำมาเสนอภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้แก่ กลุ่มเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอานวยความสะดวก เช่น พื้นที่ชายขอบ, กลุ่มเด็กที่ไม่เข้าเรียนแต่สภาพปัจจัยพร้อม, กลุ่มเด็กที่มีชื่ออยู่ แต่ไม่มาเรียน, กลุ่มเด็กที่มีชื่อในระบบ ตัวมาเรียน พร้อมร่วมมือกับ สพฐ. เพื่อดูแลบริหารจัดการในพื้นที่อย่างทั่วถึง
-
ข้อมูลบุคลากร มอบสำนักงาน กศน. จัดทำสรุปรายงานข้อมูลความต้องการบุคลากรของ กศน. พร้อมรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อหาแนวทางสนับสนุนต่อไป
-
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขอให้สำนักงาน กศน.ดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้น โดยเสนอให้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ เช่น กอ.รมน. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
-
โครงการตาดีกาการันตี มอบให้ สช. รายงานผลการดำเนินงานโครงการตาดีกาการันตี เพื่อติดตามพัฒนาการในการดำเนินงานของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลไปแล้ว และเพื่อใช้ในการวางแผนดำเนินงานในห้วงต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
จุดเน้นที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-
กิจกรรมเพิ่มโอกาสการมีงานทำ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3 และระดับชั้น ปวส.2 ได้ไปฝึกงานในสถานประกอบการต่างภาค/ต่างจังหวัดก่อนจบการศึกษา จำนวน 850 คน แบ่งเป็นภาคใต้ตอนบน 264 คน ภาคใต้ตอนล่าง 449 คน และกรุงเทพฯ/ปริมณฑล 137 คน
-
กิจกรรมปรับพื้นฐานก่อนออกฝึกงาน ได้จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานก่อนส่งนักเรียนนักศึกษาออกเดินทางไปฝึกงาน จำนวน 3,600 คน ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนทักษะพื้นฐานการเรียนวิชาชีพ การอบรมบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรของสถานประกอบการ
-
กิจกรรมพัฒนาภาษาสู่โลกอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่ 2 ของนักเรียนนักศึกษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ตลอดจนภาษาอื่นๆ ตามความสนใจของผู้เรียน
-
กิจกรรมอาชีวะอาสาเพื่อนำพาสันติสุข ซึ่งได้ดำเนินการนำนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ พัฒนาวัด 38 แห่ง พัฒนามัสยิด 45 แห่ง พัฒนาโรงเรียนตาดีกา 20 แห่ง และพัฒนาบ้านเกิด 65 แห่ง
-
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ได้จัดวิทยากรให้ความรู้หลักศาสนาอิสลาม และดูแลการปฏิบัติศาสนกิจในสถานศึกษา 15 แห่ง
จุดเน้นที่ 2 ส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
-
ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมจัดจ้างยามรักษาความปลอดภัย เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนนักศึกษา ครู บุคลากร ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการ แบบอยู่ประจำสถานศึกษา 94 คน และประจำศูนย์ 31 คน
จุดเน้นที่ 3 เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา
-
กิจกรรมทุนอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. โดยได้จัดทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาระดับ ปวช. 880 ทุน และระดับ ปวส. 197 ทุน
-
กิจกรรมศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอ 22 ศูนย์ เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาชีพระดับ ปวช. และ ปวส. รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้น ให้กับประชาชนและเยาวชนที่สนใจเรียนวิชาชีพตามความต้องการของตนเอง ท้องถิ่น และชุมชน โดยมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช. 550 คน ปวส. 1,055 คน และหลักสูตรระยะสั้น 3,700 คน
-
กิจกรรมจัดการเรียนการสอนแบบคู่ขนาน โดยจัดการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.ให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ ซึ่งจะเรียนศาสนา
ในภาคเช้า และเรียนวิชาชีพในภาคบ่าย โดยมีนักเรียนเข้าเรียนแบบคู่ขนานรวม 807 คน แบ่งเป็นระดับ ปวช. 409 คน และระดับ ปวส. 398 คน
จุดเน้นที่ 4 สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ
-
กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้เยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ พร้อมจัดอบรมวิชาชีพตามความสนใจของผู้เรียน โดยได้ดำเนินการตั้งกลุ่มอาชีพ 73 กลุ่มในสถาบันศึกษาปอเนาะ 81 แห่ง และในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 83 แห่ง มีเยาวชนเข้ารับการอบรมรวม 3,830 คน
-
กิจกรรมฝึกอาชีพให้ประชาชนเพื่อการทำงานต่างประเทศ โดยเป็นการฝึกอบรมสำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อเพิ่มคุณวุฒิและทักษะการประกอบอาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งมีประชาชนสนใจเข้ารับการอบรมรวม 340 คน
จุดเน้นที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา
-
จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาอาชีวศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพ ตลอดจนปลูกฝังความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจ รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย โดยจัดแข่งขันกีฬาทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ
จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการศึกษาเพื่อความมั่นคง
-
กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้เยาวชนสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพหลักสูตรระยะสั้นใน 44 กลุ่มอาชีพ ให้กับเยาวชนสันติสุข กลุ่มมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง จำนวน 1,371 คน
-
กิจกรรมฝึกอาชีพให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มสตรี-เยาวชนในสถานพินิจ ตามความสนใจของผู้เรียนรวม 2,218 คน
ทั้งนี้ สอศ.มีแผนที่จะดำเนินงานในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ คือ กิจกรรมค่ายนักเรียนทุน ชุมนุมลูกเสืออาชีวศึกษาชายแดนใต้ มหกรรมวิชาการเพื่อการมีงานทำ กิจกรรมแลกเปลี่ยนนักเรียนในอาเซียน และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพและสถานศึกษา
-
ขอให้ สอศ.พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์การฝึกอาชีพระยะสั้น ว่าส่งผลต่อรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
-
ขอให้ สอศ. พิจารณาความเพียงพอของทุนการศึกษา สำหรับส่งนักเรียนนักศึกษาอาชีวะไปฝึกงานยังต่างประเทศ ตลอดจนเสนอให้ส่งนักเรียนนักศึกษาไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เช่น เกาหลี เยอรมัน ญี่ปุ่น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
-
สกอ.ส่วนกลาง ดำเนินโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
-
สถาบันวิทยาลัยชุมชน ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนบทบาทของวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ในการส่งเสริมอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่
1) โครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของชุมชนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่จะจัดเป็นหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของชุมชน
2) งานมหกรรมวิชาการวิทยาลัยชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการและวิชาชีพของนักศึกษาและผู้ฝึกอบรม เป็นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน
3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนปัตตานี จำนวน 80 คน เพื่อปลูกฝังภาวะผู้นำและการมีจิตสาธารณะ ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ตลอดจนเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4) โครงการพัฒนาบุคลากรเรื่อง “กระบวนการทำงานร่วมกับชุมชน” ให้กับบุคลากรวิทยาลัยชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 35 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าในการทำงานกับชุมชน ดึงศักยภาพตนเองเพื่อพัฒนาชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานต่อไป เป็นต้น -
มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาศูนย์แม่ลานเพื่อความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน, ยกระดับมาตรฐานครูชายแดนใต้, การจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP), ผลิตบัณฑิตและบุคลากรเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนและสาขาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น
-
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้, โครงการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ, โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น
-
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาชุมชนและการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, โครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อจูงใจนักเรียนต่างวัฒนธรรมเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในสถานศึกษา 60 แห่ง, โครงการพัฒนาการเรียนรู้ “การส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กกับการพัฒนาห้องสมุดของเล่นต้นแบบที่มายอ ปัตตานี”, โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการข้อมูลอิสลามศึกษา : Islamic Studies Data Management Center (ISDMC), โครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ “PSU International Art Workshop 2016 เป็นต้น
-
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสอนเสริมความรู้วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และภาษาต่างประเทศ แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, โครงการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษา, โครงการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตยางพาราต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส, โครงการส่งเสริมเยาวชนรักบ้านเกิด, โครงการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบรักษาความปลอดภัย, โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) เป็นต้น
-
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดของนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงงาน/สถานประกอบการผลิตอาหารฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การพัฒนานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การพัฒนาศักยภาพในองค์กรศาสนาอิสลามให้มีความรู้ความเข้าใจการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองฮาลาล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
1) โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ดำเนินงานในหลายส่วน ดังนี้
-
ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – กีฬาและศิลป์ (ภาษา) – กีฬา ใน 6 โรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 472 คน แบ่งเป็นนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 377 คน และนักเรียนชั้น ม.5 จำนวน 95 คน
-
กิจกรรมเปิดโลกทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์ – กีฬา และศิลป์ (ภาษา) – กีฬา โดยนำนักเรียนชั้น ม.4-5 ตลอดจนครู โค้ช และเจ้าหน้าที่ รวม 543 คน ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และเชียงใหม่
-
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ฝึกสอนกีฬาและบุคลากรสนับสนุน โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 วัน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่จังหวัดสงขลา
-
โครงการพัฒนาครูหอพัก ครูแนะแนว และครูฝ่ายปกครอง เรื่องจิตวิทยาในการดูแลนักเรียนประจำ เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวิทยากรคือ ผศ.นพ.พนม เกตุมาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ และคณะวิทยากรจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
2) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน : เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยจัดประชุมแล้ว 2 ครั้ง คือ
-
การประชุมผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 500 คน เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนชั้น ป.1 ด้านการอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนา และวิเคราะห์ผลการประเมิน O-NET ระดับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้
-
การประชุมจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับจังหวัดและจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จาก 13 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 148 คน เพื่อให้มีแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับจังหวัด
-
ในระยะต่อไป มีแผนดำเนินโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยของนักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยความร่วมมือของสถาบันภาษาไทย สพฐ., โครงการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยความร่วมมือกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ., โครงการพัฒนาครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระ, โครงการจัดค่ายทางวิชาการ เป็นต้น
3) พัฒนาครู TEPE Online (Teachers and Educational Personnel Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Major)
-
ได้จัดประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ผู้บริหาร/ครูผู้สอน ใน 4 จุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา-สตูล มีผู้เข้าร่วมโครงการรวม 8,874 คน
4) การประชุมสัมมนายกระดับคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 จุด ได้แก่
-
จุดที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
-
จุดที่ 2 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ที่หอประชุมศาลากลางจังหวัดนราธิวาส
-
จุดที่ 3 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 ที่หอประชุมคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
-
จุดที่ 4 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาพร้อมบรรยายพิเศษ
5) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV
-
เพื่อแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้น โดยในปีการศึกษา 2557 มีโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วม 373 โรงเรียน โดยมีเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้น ป.6 ปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้น
6) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี DLIT
-
เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 มีโรงเรียนเข้าร่วม 955 โรงเรียน โดยมีรูปแบบเป็นสื่อออนไลน์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ DLIT Classroom : ห้องเรียน DLIT, DLIT Resources :