ติดตามห้องเรียนกีฬาที่ภาคอีสาน
ต
และ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การดำเนินโครงการห้องเรียนกีฬา เป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้เยาวชนที่มีความเป็นเลิศด้านกีฬาได้รับการพัฒนาโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาและโภชนาการเป็นฐาน เน้นการพัฒนาร่างกายให้สามารถแข่งกับต่างประเทศได้ โดยจะเริ่มนำร่องใน 3 โรงเรียน ได้แก่ ภาคเหนือ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จังหวัดสุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ภาคใต้ ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดกระบี่ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการฝึกทักษะกีฬา โดยเริ่มจากฟุตบอลชาย และวอลเลย์บอลหญิง จะเน้นความเป็นเลิศให้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการสานฝันให้นักกีฬาไทยสู่สากล ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาจากเครื่องมือที่ทันสมัยของสถาบันการพลศึกษา และนอกจากนักเรียนกีฬาจะมีพัฒนาทางด้านร่างกายดีแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพด้านการกีฬาได้ เช่น การเป็นนักกีฬาอาชีพ กรรมการตัดสินกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา อีกทั้งยังมีความรู้และทักษะในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับกีฬาได้อีกด้วย
———————
จากนั้น รมช.ศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ “ฟีฟ่าเพื่อสุขภาพเด็กอายุ 11 ปี การศึกษาสุขอนามัย โดยใช้ฟุตบอลเป็นสื่อสำหรับเด็ก” (FIFA 11 For Health : a football-based heal education programme for children) ที่โรงเรียนบ้านม่วง จังหวัดขอนแก่น
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โรงเรียนบ้านม่วง จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนดีศรีตำบล เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านทุ่ม (วัดมณฑป) จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนรวมกันมากกว่า 400 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่องในโครงการ “ฟีฟ่าเพื่อสุขภาพเด็กอายุ 11 ปี การศึกษาสุขอนามัย โดยใช้ฟุตบอลเป็นสื่อสำหรับเด็ก ที่มีการจัดการศึกษาให้เด็กนักเรียนอายุ 11-12 ปี หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้มีทักษะทางการกีฬาฟุตบอลที่ดี มีกิจกรรมอื่นทำนอกเหนือจากการเรียน ซึ่งเป็นการสร้างความเพลิดเพลินและเสริมสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กนักเรียน อีกทั้งผู้ปกครองจะได้รับความรู้เรื่องสุขอนามัยที่พึงประสงค์จากบุตรหลานอีกด้วย
ในด้านครูผู้สอน ได้มีการจัดอบรมให้แก่ครูพลานามัย โดยโครงการนี้มีเนื้อหาการอบรมระยะเวลา 11 สัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์ นักเรียนจะได้เข้ากลุ่มกิจกรรมจำนวน 90 นาที และแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ประมาณ 45 นาที สอนทักษะการเล่นฟุตบอล เช่น เลี้ยงลูกฟุตบอล หนีบหลีกทุ่น ซึ่งแต่ละทุ่นจะติดป้ายว่า ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เป็นต้น และในแต่ละสัปดาห์รายละเอียดเนื้อหาความรู้จะเปลี่ยนไป ที่สำคัญโครงการนี้จะได้รับการถ่ายทอดไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครองทางบ้าน และบุคคลภายนอกโรงเรียน ซึ่งช่วยให้ทุกคนที่ได้รับฟังและนำไปปฏิบัติ จะมีสุขภาพที่ดีด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะร่วมกันส่งเสริมโรงเรียนและสถาบันการวิจัยทุกวิถีทางอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างกิจกรรมความร่วมมือที่มุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ฟีฟ่าก็จะสนับสนุนกระทรวงทั้งสามตามโครงการฟีฟ่า 11 เพื่อสุขภาพอย่างเต็มที่ ในเรื่องการให้ความรู้ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามข้อตกลงระหว่างกัน ให้เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอน ตามบันทึกข้อตกลงให้สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสัมฤทธิ์ผลสูงสุด
ด้วยการเป็นโรงเรียนนำร่องในโครงการนี้ จะเป็นการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้แก่เด็กนักเรียนด้วยการใช้ฟุตบอลเป็นสื่อ นอกเหนือไปจากการที่เด็กไทยจะได้พัฒนาทักษะฟุตบอลมากขึ้น ยังก่อให้เกิดความสุขถึงผู้ปกครองและชุมชน อีกทั้งอาจจะได้ช้างเผือกด้านกีฬาฟุตบอลจากโครงการนี้ด้วย และการจัดการฝึกอบรมครูพลานามัยโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนละ 2 คน ยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการฝึกอบรมให้กับครูพลานามัยทั่วประเทศต่อไป
ภาพ-ข่าว : คณะทำงาน รมช.ศธ. และ สพฐ.
4/8/2559