นวัตกรรมการสอนภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2561) ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา,
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และนำไปสู่ความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างยั่งยืน แม้การทำงานจะพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการที่ดี สิ่งที่เห็นเป็นตัวชี้วัดได้ชัดเจนคือ ทุกฝ่ายได้ทำงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ในเรื่องของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ จชต. จากการเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในวันนี้ ทำให้เห็นพัฒนาการ นวัตกรรม ครูแกนนำ รวมทั้ง Best Practices จำนวนมาก แม้แต่การจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่เกิดขึ้นอย่างมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ทำให้เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านนี้ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่ จชต.ยังคงมีอยู่ ก็ต้องมาวางแผนแก้ไขไปทีละส่วน ๆ ในระยะแรกจึงได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาสำหรับเด็ก ป.1 แต่ระยะต่อมาก็ขยายไปที่เด็ก ป.1–3 เน้นให้มีทักษะภาษาไทย
“อีก
สิ่งที่เป็นความภูมิใจ คือ การวางแผนของศูนย์ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จชต. ที่ได้กำหนดเป้าหมายตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560-2564) เพื่อมุ่งหวังยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลดลง โดยในปีแรก (ภายในปี 2561) วางเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้ลดลงครึ่งหนึ่ง, ปีที่สองเหลือปัญหา 30%, ปีที่สามเหลือ 15% และปี 2564 ปัญหานั้น ๆ ต้องหมดไป
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำให้มีการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพราะภาษาไทยสำคัญมาก หากเด็กเรียนแล้วเข้าใจ ก็จะเกิดความเข้าใจในการไปเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้ในการทำงาน หรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ ก็ต้องไม่ทิ้งภาษาถิ่น เพราะเป็นชีวิตประจำวัน ” พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ให้ข้อคิดในการทำงานด้วยว่า ขอให้นำนวัตกรรม แนวคิด ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้ได้ และในการทำงานขอให้เน้น 5 ร. คือ “ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย” ด้วยการทำงานเชิงบูรณาการ และกลไกประชารัฐ คือ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
พิธีเปิดและมอบโล่รางวัล เกียรติบัตร
เยี่ยมชมนิทรรศการ
ภายหลังพิธีเปิด พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร คือ โล่รางวัลครูดีศรีสงขลา 10 รางวัล, เกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษาการเขียนเรียงความดีเด่น 17 คน, โล่รางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย 2 รางวัล โดยมีผู้บริหารและวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้เกียรติในพิธี อาทิ พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ประธานปิด), น.ส.ดวงใจ บุญยภาส ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทย สพฐ., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ., นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย จชต. เป็นต้น
Photo ปกรณ์ เรืองยิ่ง