ประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ
กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมการทำงานร่วมกับคณะ
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 18.00 น. ณ
1. แนวทางดำเนินงานการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (E2)
อย่างไรก็ตาม เมื่อให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการยกระดับอาชีวศึกษาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะทำหน้าที่รับรองหลักสูตร การบริหารจัดการเข้าร่วมฝึกอบรม ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจด้านภาษีจากการบริจาคหรือจากการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ ในอนาคตต้องการเห็นหลักสูตรอาชีวศึกษาที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้รูปแบบ One Size Fits All หรือการตัดเสื้อขนาดเดียวแล้วนำมาใช้กับทุกคนค่อย ๆ หมดไป เช่นเดียวกับระดับอุดมศึกษาที่ควรปรับให้ภาคเอกชนได้เข้ามาเป็นผู้นำในสาขา/คณะ/ในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมเช่นเดียวกันด้วย”
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน E2 “การดำเนินงานของคณะทำงาน Quick win ขณะนี้มีความก้าวหน้าในหลายส่วน ได้แก่ คณะทำงาน Re-Branding ได้จัดทำ VDO InfoGraphic และ Logo “อาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติ” เพื่อใช้สื่อสารแบบ One Single Massage ทางสื่อหลักและสื่อออนไลน์, คณะทำงาน Excellent Model School (EMS) ซึ่งมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยต้นแบบ 46 แห่ง กับสถานประกอบการ 14 แห่ง และในอีก 2 ปีข้างหน้าตั้งเป้าเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้ได้ 14,000 คน และระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนอีกกว่า 20 แห่ง เน้นกลุ่มบริษัทด้าน Internet of Things หรือ IoT ที่ทุกอย่างสามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้แบบใช้สายและไร้สาย นำไปสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ คือ Industry 4.0
ส่วนคณะทำงาน Database of Demand and Supply แม้จะยังดำเนินการไม่ได้ตามแผนงาน แต่ในระยะยาวคณะทำงานต้องการให้มีระบบเชื่อมต่อข้อมูลทั้งฝ่ายการผลิตและฝ่ายใช้กำลังคน ที่บอกถึงความต้องการกำลังคนได้อย่างชัดเจนทั้งปริมาณ สาขา ระดับการศึกษา ในรูปแบบที่ Real-time มากที่สุด นอกจากนี้ Standard and Certification Center ซึ่งมีแผนงานในระยะยาวที่จะบรรจุการยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงาน (องค์กรกลาง) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ขณะนี้ดำเนินงานใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้วและเตรียมที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการ ภายใน 1 เดือนต่อจากนี้
ทั้งนี้ มีความยินดีที่จะรับข้อเสนอของที่ประชุมเพื่อหารือกับคณะทำงานต่อไป ทั้งในประเด็นการเพิ่มความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการขนส่งระบบโลจิสติกส์ หรืออุตสาหกรรมใหม่ ๆ, การจำแนกระดับความรู้พื้นฐานและความรู้ชั้นสูงเชื่อมโยงกับค่าตอบแทนตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ, การปรับแผนงานโครงการประชารัฐให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี นอกจากนี้ ขอความร่วมมือกระทรวงศึกษาธิการในการจัดตั้งคณะทำงานร่วม E2 และ E5 เพื่อวางแผนพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ และการสร้างแรงจูงใจกับภาคเอกชนเพื่อร่วมจัดการศึกษาด้วย”
2. แนวทางดำเนินงานการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5)
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน E5 “คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ได้แบ่งลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญออกเป็น 2 ส่วน คือ Soft Side และ Hard Side
-
การดำเนินงานด้าน Soft Side มียุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา 10 ด้าน (10 Strategic Transformations) ได้แก่ ความโปร่งใส (Transparency), การเข้าถึงข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน (Accessibility and ICT Infrastructure), กลไกตลาด และกองทุน (Market Mechanism), การจัดทำหลักสูตร (Curriculum), การพัฒนาครูใหญ่ (High Quality Principle), สุขภาพและศีลธรรม (Health and Heart), การจูงใจครูต่างประเทศ (International Teacher and Incentive), ภาษาอังกฤษ (English Language), ผู้นำเยาวชนสู่ท้องถิ่น (Young Leadership) และศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub)
โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศฯ ได้จัดทำเว็บไซต์โรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners จากภาคเอกชน 12 องค์กร ใช้เป็นตัวขับเคลื่อนดูแลให้ความช่วยเหลือโรงเรียนประชารัฐ ตามโครงการ CONNEXTEd School Partner Leadership Program พร้อมทั้งจัดทำตัวชี้วัด (KPI) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวัดผลการดำเนินงานของโรงเรียนประชารัฐด้วย, คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรฯ ได้รวบรวมหลักสูตรการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และจัดฝึกอบรมให้กับครู อาทิ การอบรมการใช้สื่อออนไลน์, การอบรมภาษาอังกฤษผ่าน Video Conference เป็นต้น, คณะทำงานด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาฯ ได้จัดทำหลักสูตรพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูผ่านระบบออนไลน์, คณะทำงานด้านพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาฯ จัดตั้งกองทุนพร้อมทั้งจัดทำคู่มือกองทุนโรงเรียนประชารัฐ และจัดทำข้อเสนอการลดหย่อนทางภาษีในอัตราที่เหมาะสม และคณะทำงานพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษาฯ ซึ่งมีการรวบรวมกิจกรรมด้าน STEM Education เพื่อผลักดันให้เกิดสาขาอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ R&D Excellent Center Workshop แล้วจำนวน 2 ครั้ง
-
การดำเนินงานด้าน Hard Side คณะทำงานได้พัฒนาระบบ ICT ด้วยการสร้างโครงข่าย Fiber Optics ในโรงเรียนกว่า 1,300 แห่ง ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2559 นอกจากนี้ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ Multimedia ในห้องเรียนของโรงเรียนประชารัฐ โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 อีกทั้งส่งเสริมให้นักเรียนทำงานระหว่างเรียน (Summer School) เมื่อทำงานแล้วสามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้กับรุ่นน้องได้ และจัดกิจกรรม Road Show โดยนำโรงเรียนที่มี Best Practice ที่ดีในด้านกระบวนการสอนแบบให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ไปให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับโรงเรียนในภูมิภาคต่าง ๆ
ทั้งนี้ การศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา และเกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในประเทศ ภาคเอกชนเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่จะช่วยดึงผู้มีศักยภาพสูงเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนที่มีอยู่ไม่มีศักยภาพ แต่เราต้องการคนที่มีศักยภาพเข้าสู่ระบบการศึกษาให้มากขึ้น”
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น, นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
17/1/2560