ประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ครั้งที่ 7/2561 จัดโดยสำนักงาน คปต.ส่วนหน้า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี โดยมีผลการประชุมที่สำคัญสรุปดังนี้

● หน.ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ย้ำการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนา จชต. ด้วยกลไกประชารัฐ

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบทุกครั้งเกี่ยวกับความก้าวหน้าการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วนตามกลไกประชารัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมทำงานเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ จชต. ให้ประชาชนซึ่งเป็นศูนย์กลางมีความสุข และเมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น เราก็ร่วมกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน และศาสตร์พระราชา ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งขับเคลื่อนการทำงานที่จะต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ และที่สำคัญสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ของรัฐบาล

● กองทัพภาค 4 เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ จชต.

พล.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาค 4 กล่าวว่า กองทัพภาคที่ 4 ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนเร่งแก้ไขปัญหาที่สำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 3 จชต. โดยเริ่มต้นสแกนอย่างละเอียดทุกหน่วยงาน แม้แต่ในกองทัพภาค 4 เอง อีกทั้งผู้นำศาสนาก็มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหานี้ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว อันจะนำไปสู่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และเกิดความสันติสุขในพื้นที่ จชต. อย่างยั่งยืนต่อไป

● ศปบ.จชต.รายงานความก้าวหน้าการจัดการศึกษาแบบบูรณาการใน จชต.

นายศักดิ์จิต มาศจิตต์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) ได้นำเสนอความก้าวหน้าการทำงานของ ศปบ.จชต. หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2547 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นที่ จ.ยะลา และต่อมาได้ย้ายที่ทำการมา จ.ปัตตานี โดยมุ่งเน้นขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาตามวิสัยทัศน์ “ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21”

โดยดำเนินงานแบบบูรณาการตาม 6 ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานขับเคลื่อน คือ 1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

มีโครงการสำคัญเพื่อพัฒนาการศึกษาและสถานศึกษาของรัฐและเอกชนหลายรูปแบบตามอัตลักษณ์และสภาพแวดล้อม ทั้ง 5,085 แห่ง ครู 59,625 คน นักเรียนนักศึกษากว่า 1 ล้านคนใน จชต. เช่น กำหนดให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม, การจัดสรรทุนการศึกษา 1 หมื่นกว่าทุน/ปี, จัดบัญชีผู้รับสวัสดิการของรัฐรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี, จัดโครงการโรงเรียนและอาชีวศึกษาประชารัฐ, แก้ไขปัญหาประชากรวัยเรียนนอกระบบการศึกษา ร่วมรณรงค์เชิญชวนให้มาเรียนหนังสือ, พัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาใช้ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) หลักสูตรแกนกลางสำหรับสถาบันศึกษาปอเนาะ, ส่งเสริมพัฒนาการใช้ภาษาไทย, การผลิตและพัฒนาคนให้มีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดงานเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0, โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน, การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ผ่านโครงการกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ก่อให้เกิดความยั่งยืน และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อไป

● ผู้แทน สธ.เขต 12 รายงานสถานการณ์โรคหัด

ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้แทนสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์การป้องกันแก้ไขปัญหา “โรคหัด” ซึ่งมีการระบาดอย่างมากในช่วงปีนี้ พบผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวนกว่า 600 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 6 ราย โดย จ.ยะลา มีอัตราส่วนผู้ป่วยสูงสุดคือ 55 คนต่อประชากร 1 แสนคน จึงวางเป้าหมายเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรก MMR1 รวมทั้ง MMR2 ให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 95 ภายในปีนี้ จึงจะควบคุมการระบาดของโรคหัดได้ผล โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นผู้ให้ความรู้การดูแลเด็ก

นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการ กช. กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของสถานศึกษาใน จชต. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาเอกชนว่า สช.กำลังเร่งดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยตั้งวอร์รูมในพื้นที่ระดับอำเภอ ให้ฉีดวัคซีนแก่เด็ก 0-5 ปี

● ผู้แทน คปต.กลุ่มภารกิจงานต่าง ๆ รายงานความคืบหน้า

พล.อ.ปราการ ชลยุทธ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มภารกิจงานที่ 1 ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ การขับเคลื่อนด้านความมั่นคง งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชารัฐ

พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มภารกิจงานที่ 3 ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและสิทธิมนุษยชน ที่เน้นการทำงานการสร้างความเข้าใจ การยกระดับความเข้มแข็ง ความปลอดภัย การแก้ปัญหายาเสพติด การพบปะพูดคุยกับผู้นำศาสนา ผู้บริหารสถาบันศึกษาปอเนาะ ตาดีกา เพื่อหารือแนวทางพัฒนาร่วมกัน โดยมีคณะทำงานและแผนสร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมภารกิจงานทั้ง 7 กลุ่มงาน ที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ขับเคลื่อนบูรณาการอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้ง IGOs และองค์กรพัฒนาเอกชน NGOs รวมทั้งแนวทางสนับสนุนนักศึกษามุสลิมที่เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ และสร้างองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในด้านสิทธิมนุษยชน

นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มภารกิจงานที่ 5 ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ โครงการที่สำคัญที่ดำเนินการงานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โครงการจัดการโรคเหี่ยวของกล้วยอย่างยั่งยืน เพื่อไม่ให้กล้วยยืนต้นตาย แก้ปัญหาที่ดินและพัฒนาชุมชนอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด 9 อำเภอ 25 ตำบล 89 หมู่บ้านใน จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเกิดปัญหาทับซ้อนกับที่ดินทำกินของประชาชน 20,926 ราย เนื้อที่ 1 แสนกว่าไร่

พล.อ.จำลอง คุณสงค์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มภารกิจงานที่ 6 ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐและการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหา จชต. เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีการดำเนินงานที่สำคัญคือการสร้างสนามกีฬา โดยใช้เม็ดยางพาราเคลือบด้วยวัสดุสังเคราะห์ทำพื้นสนาม เพื่อส่งเสริมการปลูกยางพาราของประชาชนใน จชต.

● ความคิดเห็นหลากหลายของผู้เข้าร่วมประชุม

นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ กล่าวชมเชยการทำงานของผู้นำของรัฐบาลส่วนหน้าว่า เมื่อผู้นำมีจิตใจดี เป็นตัวอย่างที่ดี ย่อมจะเป็นตัวอย่างให้ประชาชนมีจิตใจดีตามไปด้วย พร้อมทั้งชื่นชมแม่ทัพภาค 4 และหลายหน่วยงานที่ได้ร่วมกันทำงานได้ดีในหลายเรื่อง เช่น สุขภาวะอนามัยของประชาชน

อดีตผู้ฝึกสอนกีฬา กล่าวถึงการส่งเสริมกีฬาใน จชต.ที่ผ่านมาว่ามีความเข้มแข็ง แต่ต้องการให้รัฐสร้างบรรยากาศจัดการแข่งขันวอลเล่ย์บอลชายหาดในพื้นที่ จชต.อีก หลังจากที่ จ.ยะลา มีนักกีฬาชั้นนำในประเภทนี้จำนวนมากและเคยจัดการแข่งขันระดับประเทศและนานาชาติมาก่อน ซึ่งประเด็นนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เห็นว่า มีความเห็นที่สอดคล้องกันในการส่งเสริมและนำกีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา รวมทั้งการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก และในปลายปีนี้จะมีการจัดการแข่งขัน MOE Cup ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยนายกรัฐมนตรีใน 2 ประเภทกีฬา คือ ฟุตบอลและวอล