ปาฐกถาที่ มข.
รมช.ศธ.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น – นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถา กวี ทังสุบุตร เรื่อง “ความเปลี่ยนแปลง ความท้าทาย และโอกาสในระบบการดูแลสุขภาพประชาชน“ ในการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 32 ประจำปี 2559 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2559 ที่อาคารเตรียมวิทยาศาสตร์คลินิก ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ โดยมี รศ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ คณาจารย์ และนักศึกษา ให้การต้อนรับและเข้าร่วมรับฟังกว่า 100 คน
Crisis กล่าวคือ ทุกการเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากความเสี่ยงเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจเป็นผลสะท้อนกลับที่ดีของคุณภาพด้านการศึกษา เพราะเมื่อคนมีการศึกษาที่ดี ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอิสระ และรู้จักที่จะกระจายอำนาจหรือดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
External report ซึ่งผลการรายงานพบว่า แทบจะไม่มีองค์กรใดที่เปลี่ยนแปลง เพราะคนในองค์กรบอกว่าจะต้องเปลี่ยน
Leadership ประเทศที่เปลี่ยนได้สำเร็จ จะต้องมีผู้นำที่ดี เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่มีผู้นำอย่างลีกวนยู ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าผู้นำคือผู้ที่พาองค์กรจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งควรจะไป แต่คนในองค์กรอาจจะยังไม่กล้าไปหรือไปไม่เป็น
ในส่วนของโอกาสทางการศึกษา ขณะนี้ระบบการศึกษามีโอกาสที่สำคัญในการปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งระบุให้มีปรับปรุงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ภายใน 2 ปี และต้องมีกฎหมายปฏิรูปการศึกษาด้วย โดยในส่วนของการปฏิรูปอุดมศึกษาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดช่วงเวลา (slot) ของการ Re-profile มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการก็ต้องเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปตามกฎหมายใหม่ ที่จะเป็นการยกเว้นกฎหมายและกฎเกณฑ์เดิมที่ร้อยรัดอยู่ มิฉะนั้นเราจะปฏิรูปไม่ได้และจะไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการปฏิรูปอุดมศึกษาโดยเฉพาะในคณะแพทยศาสตร์ว่า ฝากไว้ว่าไม่ควรที่จะปฏิรูปโครงสร้าง (Structure Reform) เพื่อหวังให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในองค์การ เพราะจะเป็นการมุ่งเป้าไปสู่ตำแหน่งงานเพียงอย่างเดียว ดังเช่นการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเมื่อปี 2542 ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าการปฏิรูปจะเกิดความลงตัว จึงแนะนำให้มีการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม โดยควรเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงของสภามหาวิทยาลัย (บอร์ด) และการเตรียมสร้าง Leadership Team ไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อให้มีคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ทันการ ทั้งการเตรียมความพร้อมตัวบุคคลและการทดลองทำงานในตำแหน่งผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดจากการทำงานจริงได้ เรียกว่าจะต้องมีการวางแผนการเตรียมการเป็นผู้นำองค์การล่วงหน้านานเป็นเวลากว่า 10 ปี มิใช่เลือกคนที่ใกล้เกษียณมาทำงานในตำแหน่งผู้นำดังเช่นในปัจจุบัน
อนึ่งในช่วงท้ายของการปาฐกถา ได้นำเสนอคลิปวีดิทัศน์เกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างแนวทางการดำเนินงานที่ดีในวงการอุดมศึกษาไทย
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน
13/10/2559