ปาฐกถาพิเศษที่ มศว
รมช.ศธ.ปาฐกถาพิเศษ
“นโยบายทางการศึกษากับแพทยศาสตรศึกษา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาไว้มากมาย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขอให้ครูน้อมนำกระแสพระราชดำรัส เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนเด็กและเยาวชนของไทย เช่น
-
ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู
-
ให้ครูสอนเด็กให้มีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งขันกับตัวเอง
-
ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี
นอกจากนี้ พระองค์ได้มีพระราชกระแสด้วยว่า ครูผู้สอนควรจะต้อง “ปฏิวัติ” เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอน และพระองค์ยังได้เคยทรงตรัสไว้ด้วยว่า
-
การศึกษา (Education) นับตั้งแต่มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกตั้งขึ้นที่ประเทศสเปน จากนั้นจึงได้มีการสั่งสมภูมิปัญญาในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยลำดับ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ฝากไว้เป็นข้อคิดคือ “การตั้งคำถาม” (Principle : Questioning) เพราะการตั้งคำถามอยู่ตลอด แม้จะยังไม่ได้รีบเอาคำตอบ จะช่วยให้เราได้คิดวิเคราะห์และหาคำตอบ ซึ่งจะนำไปสู่การค้นคว้าและเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ดี แม้กระทั่งอาจารย์ผู้สอนชั้นนำระดับโลก เช่น Michael Sandel ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ Popular ที่สุดคนหนึ่งซึ่งได้รับเชิญไปบรรยายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ชั่วโมง บรรยาย ละ 2 ล้านบาท ( ดูตัวอย่างประกอบจาก Youtube) ก็ยังให้นักศึกษาพยายามตั้งคำถามต่าง ๆ อยู่ตลอด -
การอบรม (Training) หลักสำคัญในการฝึกอบรมเรื่องต่าง ๆ คือ ควรมีแนวทางการปฏิบัติ (Principle : Guided Practice) ไว้ด้วย เพราะความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ มักจะมาจากการได้ฝึกฝน (Practice) อยู่เสมอ ๆ จนเกิดเป็นทักษะ ความชำนาญการ และนำไปสู่ความเชี่ยวชาญ เหมือนกับการประเมินวิทยฐานะของครูผู้สอน (Level of Expertise) ซึ่งต้องสั่งสมความสามารถในการสอนตั้งแต่ครูผู้ช่วย จนเป็นครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ
นอกจากนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เปิดวีดิทัศน์ในที่ประชุม ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ของนักศึกษาไทย 2 คน ที่ได้ไปเรียนทางด้านการแพทย์ ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเรียนภาษาอังกฤษประสบความสำเร็จ คือ ความอยากรู้อยากเห็น พยายามตั้งคำถามและหาคำตอบหรือหาที่ปรึกษาที่ดี ครอบครัวมีส่วนสำคัญต่อการฝึกใช้ภาษา
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำถึงความสำเร็จของนักเรียนและคุณภาพการศึกษาว่า ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ “ครู” จึงต้องการให้ครูเปลี่ยนวิธีการสอน เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยด้วย ให้ความสนใจอยู่เสมอเมื่อเด็กมีความคิด (Idea) ใหม่ ๆ และครูควรจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก เช่น การสอนเรื่องตรงต่อเวลา หากครูเป็นผู้ตรงต่อเวลา จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเด็ก
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น : ถ่ายภาพ
20/10/2559