ผลประชุมองค์กรหลัก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
โดยมี 3 ประเด็นหลักที่หารือครั้งนี้ คือ 1) ออกมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 2) ความ
นายชลำ อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าแก้ปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) โดยสร้างมาตรการป้องกันอย่างยั่งยืน ขณะนี้ ศธ. ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” พร้อมกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนและระยะยาว ดังนี้
มาตรการระยะเร่งด่วน : ให้สถานศึกษาในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ กำหนดให้นักเรียนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยมาโรงเรียน ในกรณีที่มีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ สามารถประสานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งนักศึกษาอาชีวะอาสาได้ช่วยกันผลิต จำนวนกว่า 140,000 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายให้กับสถานศึกษาและประชาชน ณ จุดบริการศูนย์อาชีวะอาสาลดควันลดฝุ่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งกำหนดจัดกิจกรรมทำความสะอาดสถานศึกษา (Big Cleaning Day) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ตามความเหมาะสม เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในสถานศึกษา
นอกจากนี้ สอศ. ได้ผลิตเครื่องพ่นละอองน้ำจำนวน 750 ชุด พร้อมบริการติดตั้งในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ และจัดตั้งศูนย์อาชีวะอาสาลดควันลดฝุ่น (Fix It Center) กว่า 100 ศูนย์ เพื่อให้บริการประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีแนวทางให้รถยนต์ราชการและรถยนต์ของบุคลากร ศธ. เข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ กับศูนย์อาชีวศึกษาลดควันลดฝุ่น และติดสติ๊กเกอร์ผ่านการตรวจสอบสภาพรถ พร้อมเชื่อมโยงฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกด้วย
ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานและสถานศึกษาช่วยสร้างการรับรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ทั้งสาเหตุ การป้องกัน การแก้ไขปัญหา และการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือ และบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม และขอให้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจอีกทางหนึ่งด้วย อาทิ สื่อแอนิเมชั่น โดย สช., เอกสารการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล โดย สกอ., การผลิตนวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดย สอศ., การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสถานศึกษา โดย สพฐ. เป็นต้น
มาตรการระยะยาว : เริ่มจากให้ทุกส่วนราชการ ลดหรือหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีกลุ่มคนจำนวนมากในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมทั้งรณรงค์ให้ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา เดินทางโดยระบบขนส่งมวลชน แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือวางแผนการเดินทางโดยใช้รถยนต์ร่วมกัน พร้อมกับปรับแผนปฏิบัติราชการประจำปี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้เน้นดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
นอกจากนี้ ศธ.จะสร้างเครือข่ายนักเรียนนักศึกษา “ผู้พิทักษ์ภัย PM 2.5” ในสถานศึกษาตามความเหมาะสม โดยกำหนดแนวทางและบทบาทหน้าที่ของผู้พิทักษ์ภัย PM 2.5 พร้อมจัดทำหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในทุกระดับชั้น และกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับมลพิษในสถานศึกษา เช่น อากาศ น้ำ เสียง ขยะ เป็นต้น โดยให้มีการประเมินผลเป็นประจำทุกปี นำไปสู่การเป็นสถานศึกษาปลอดภัย Safety School และส่งเสริมการผลิตพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดมลพิษทางอากาศด้วย
การนำประชากรวัยเรียนเข้าสู่ระบบการศึกษา ผลงานใหญ่ในเวทีอาเซียน“62
ดังนั้น จะมีการขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น เพื่อประสานงานช่วยเหลือให้ประชากรวัยเรียน อายุ 3-18 ปี ที่อยู่นอกระบบการศึกษา จำนวนประมาณ 1,700,000 คน กลับเข้ามาในระบบการศึกษามากขึ้น ด้วยรูปแบบการทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา ให้ได้รับการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ให้มากที่สุด ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และสอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น ซึ่งเป็นบทบาทของผู้นำด้านการศึกษาในเวทีประชาคมอาเซียน
ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 “การนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา” จึงเป็นงานสำคัญของ ศธ. ที่จะสร้างความโดดเด่นในเวทีอาเซียน ดังเช่นที่นายอิชิโร มิยาซาวา ผู้แทนองค์การ UNESCO ได้แสดงความชื่นชมว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เริ่มจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมขยายผลดึงเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาทั่วประเทศ ให้กลับเข้าสู่ระบบได้มากที่สุด ภายใต้หลักการ “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”