ภารกิจ รมช.ศธ.ธีระเกียรติ ที่ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น – นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางไปปฏิบัติราชการที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559 เพื่อเป็นประธาน
9.00-10.00 น.
เปิดการประชุมวิชาการ Thailand TESOL, The 36th Annual Thailand TESOL International Conference “The Changing Landscape of ELT: Empowerment through Glocalization”
ที่โรงแรม Pullman Khon Kaen Raja Orchid
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า
ทั้งนี้ ปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่พบในปัจจุบันของประเทศ คือ การที่เด็กสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือปริญญาตรีแล้ว แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากมีจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษน้อย เช่น นักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.3 จะได้เรียนภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง, นักเรียนชั้น ป.3-ป.6 ได้เรียนภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 2 ชม. และนักเรียนในระดับชั้น ม.3 ได้เรียนภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 3 ชม. ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 300 ปี หากจะทำให้เด็กไทยเก่งภาษาอังกฤษได้ และยังพบว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนหนังสือในห้องเรียนมากกว่าเด็กในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพราะต้องเรียนทั้งหมด 8 กลุ่มสาระวิชา แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในทุกด้าน รวมทั้งยกระดับภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร แม้ว่าการปฏิรูปการศึกษาได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ในอดีต แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กระทรวงศึกษาธิการจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จ
ในส่วนของนโยบายการพัฒนาภาษาอังกฤษนั้น อันดับแรกคือ ควรสร้างความตระหนักที่ผู้เรียนจำเป็นจะต้องใช้ภาษาอังกฤษ และตระหนักว่าภาษาอังกฤษนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นภาษาของโลก ทางการทูต วิทยาศาสตร์ อีกทั้งข้อมูลร้อยละ 75 ของโลกยุคปัจจุบันก็เป็นภาษาอังกฤษ ทุกคนจึงต้องขวนขวายเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษ ต้องขยันและฝึกฝนด้วยตนเอง เพราะไม่มีทางลัดที่จะทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้ อีกวิธีหนึ่งในการพัฒนาภาษาอังกฤษคือการจดจำคำศัพท์หรือการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เพื่อให้มีคลังคำศัพท์และนำมาใช้ในการสื่อสารได้ เพราะเราไม่สามารถหาความหมายของคำจากพจนานุกรมหรือจากอินเทอร์เน็ตได้ตลอด ทั้งนี้ ครูสอนภาษาอังกฤษที่ยังไม่เก่ง ก็ต้องถ่อมตัวและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กได้ เพราะในปัจจุบันมีครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทยเพียง 6 คนเท่านั้น ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพเหมือนเจ้าของภาษา เมื่อเทียบกับระดับ C2 ตามมาตรฐานการทดสอบของ CEFR : Common European Framework of Reference for Languages)
นอกจากนี้ เมื่อมีการพูดถึงการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของประเทศก็จะถูกโจมตี แต่ความจริงแล้วไม่ว่าภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาต่างประเทศหรือภาษาที่สอง ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็นภาษาที่มีความจำเป็น ยกตัวอย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ ทุกคนมองว่าสิงคโปร์เป็นรูปแบบ (Model) ที่ประสบความสำเร็จในการจัดระบบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษ นั่นเป็นเพราะสิงคโปร์มีนโยบายที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ถูก, ส่วนมาเลเซียใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาที่หนึ่งเพราะภาษามาเลย์เป็นภาษาแม่ แต่มาเลเซียได้พัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการนำรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเคมบริดจ์มาใช้ และขณะนี้มาเลเซียพัฒนาภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วมาก ในขณะเดียวกัน ติมอร์ เลสเต รับเอาภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาที่หนึ่ง ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นภาษาทางการทูตหรือภาษาของเทคโนโลยี จากที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่านโยบายด้านภาษา (Language Policy) เป็นสิ่งสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาภาษาอังกฤษในแต่ละประเทศ
ในการประชุมระดับโลกด้านการศึกษา ซึ่งมีประเทศต่างๆ จากทั่วทุกทวีปเข้าร่วมประชุม แต่ละประเทศให้ความสำคัญกับนโยบายภาษา แม้กระทั่งชาวจีนที่มีประชากรมากที่สุดในโลกก็ต้องพูดภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งการขอทุนต่างๆ ในสหภาพยุโรป ซึ่งมีประเทศสมาชิกต่างชาติต่างภาษา ก็ยังคงใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆ แม้แต่คนฝรั่งเศสก็ยังต้องปรับตัวเองในการใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่ตายแล้วหรือไม่ เช่นเดียวกับไม่มีใครคาดคิดว่าภาษาละตินที่เคยใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีตหลายพันปีที่ผ่านมา ขณะนี้เราก็ไม่ได้ใช้ภาษาละตินในการสื่อสาร และกลายเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่ในปัจจุบันเราทุกคนทราบดีว่าภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาสำคัญที่ใช้กันทั่วโลก
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายปรับระบบการสอบให้มีการสอบแบบอัตนัยมากขึ้น โดยจะเปลี่ยนข้อสอบทุกปี ไม่มีใครที่จะสามารถเดาหรือรู้ข้อสอบล่วงหน้าได้ แต่จะมีเนื้อหาหลักที่แจ้งให้โรงเรียนทราบชัดเจนให้ว่าแต่ละช่วงชั้นต้องรู้อะไรและต้องสอบอะไรบ้าง อีกทั้งยังมีนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้น โดยต้องเปลี่ยนมาตรฐานต่างๆ ของภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจะมีการจัด Boot Camp ในการอบรมภาษาอังกฤษให้กับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และมีการกำหนดมาตรฐานการสอบอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งจะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน โดยจะมีการแสดงผลการวัดระดับภาษาอังกฤษใน Transcript แต่ไม่ใช่เกรด และผลการทดสอบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสมัครงานในอนาคตได้ โดยข้อสอบที่จะใช้วัดระดับภาษาอังกฤษต้องมีมาตรฐานด้วย ย้ำว่ากระทรวงศึกษาธิการจะไม่ดำเนินนโยบายแบบ Top-Down แต่จะเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมเท่ากัน เราต้องช่วยกันเพราะเรื่องการศึกษาไม่ใช่เรื่องรับผิดชอบของคนๆ เดียว
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้นำคลิปวีดิโอในโครงการ “I SPEAK ENGLISH เพื่อชีวิตที่ BETTER” ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมรับชม เพื่อร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
10
ประชุมหารือการจัดตั้งสถาบันออทิสติก
ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือร่วมกันครั้งนี้ เป็นการทำงานในลักษณะประชารัฐตามนโยบายรัฐบาล ซึ่ง
(ทั้งนี้ กลุ่มโรคออทิสติก (Autistic Spectrum Disorder) เป็นกลุ่มของโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ทำให้มีความบกพร่องของพัฒนาการหลายด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้า มีพฤติกรรม ความสนใจและการกระทำที่ซ้ำๆ และจำกัด)
13.30.15.30 น.
ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอน English Program
ที่โรงเรียนขอนแก่นวิเทศศึกษา
ภาพถ่าย : อรพรรณ ฤทธิ์มั่น
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
30/1/2559