ภารกิจที่ยะลา
ภารกิจรัฐมนตรีที่ จ.ยะลา
จังหวัดยะลา – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
เมื่อเวลา 9.15 น. รมว.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึงสำนักงานศึกษาธิการภาค 8 โดยได้พบปะข้าราชการ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนักศึกษา พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสานฝัน
นอกจากนี้ ได้รับฟังข้อคิดเห็นและสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังนี้
-
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผลสอบ O-NET ในปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้นทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่วมดำเนินการ
โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ กล่าวคือ ระยะแรก : จุดประกายความฝัน, ระยะที่ 2 : มุ่งมั่นสู่อนาคต, ระยะที่ 3 : ปรากฏผลสู่ความสำเร็จ ซึ่งระยะที่ 3 ได้มีความก้าวหน้าในการลงนามความร่วมมือ (MoU) ในครั้งนี้ ทั้งยังมีการจัดสรรที่เรียนและการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนจนจบปริญญาตรี เพื่อสร้างสรรค์เยาวชนต้นแบบปีละ 400 คน ส่วนโครงการที่สำคัญอื่นๆ ที่มีผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาทิ การแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้, โครงการประชารัฐ, การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย, TEPE Online รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา อาทิ โครงการก่อสร้างศูนย์คุรุมิตร เพื่อความปลอดภัยของครู -
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
โดย นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. ให้ความเห็นว่า การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการถือว่ามีเอกภาพและประสิทธิภาพดีที่สุดนับตั้งแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา เพราะพบว่ามีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะปมปัญหาซึ่งอยู่ที่การบิดเบือนศาสนา และ “อะไรที่ทำไม่ได้ในอดีต วันนี้ทำได้” เช่น มีการจัดทำระบบทะเบียน, ความก้าวหน้าการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่, การสนับสนุน อาหารเช้าและกลางวันให้กับนักเรียนตาดีกาโดยใช้ระบบของชุมชนมาบริหารจัดการ และการส่งเสริมด้านบัณฑิตศึกษาให้เป็นครูหมู่บ้านเพื่อสอนภาษาไทยให้เด็กในพื้นที่ช่วงปิดเทอม โดย ศอ.บต.สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้คนละ 1,000 บาท เป็นต้น -
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น มีความร่วมมือกับสถาบันศึกษาปอเนาะเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบให้สูงขึ้น, มีการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น -
การศึกษาเอกชน มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นทั้งผลสอบ O-NET และ I-NET และการที่ได้จัดการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมาคือความสุขของผู้ปกครองและประชาชน นอกจากนี้มีการปรับปรุงพัฒนา การเรียนการสอนภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษให้เป็นมาตรฐาน เช่น อังกฤษใช้เกณฑ์ CEFR ในการประเมิน โดยการสอนภาษาจะเน้นไปที่การสื่อสาร ในส่วนของหลักสูตรมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ของตาดีกา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาที่จะเตรียมประกาศใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้มีสัดส่วนวิทยาศาสตร์ 70% อิสลามศึกษา 30% โดยมีการทดลองในโรงเรียน 23 โรงเพื่อมุ่งไปสู่สะเต็มศึกษาต่อไป สำหรับกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจะเพิ่มกิจกรรมยุวกาชาดอีกด้วย พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมศิลปะ นันทนาการอย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงพหุวัฒนธรรม การเรียนรู้อัตลักษณ์ของพื้นที่ สิทธิหน้าที่พลเมือง การขยายหลักสูตรสันติศึกษาให้มากขึ้น ที่สำคัญจะเน้นปลูกฝังให้เด็กๆ รักประเทศไทย-รักในหลวง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งการ ตลอดจนความร่วมมือจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง มีการติวให้เด็กเรียนมีโอกาสเรียนต่อทุกระดับ เน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ รวมไปถึงการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) พร้อมทั้งการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่ได้มีการประสานกับ ศอ.บต. และหน่วยงานภายในและต่างประเทศเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
-
การอุดมศึกษา ให้ความสำคัญเรื่องกิจกรรมกีฬา ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการกีฬา
เช่น ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก, มีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพในสถานศึกษาผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวในการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ, มีศูนย์ปันจักสีลัตโดยมหาวิทยาทักษิณเป็นศูนย์กลาง, โครงการทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 40,000 บาทต่อคนต่อปี เพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่สามารถเลือกเรียนต่อได้ทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ, การสนับสนุนทุนการศึกษาตามโครงการสานฝันฯ เพื่อให้เด็กในโครงการได้เรียนจนจบปริญญาตรี นอกจากนี้จะเน้นให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงจับคู่กับโรงเรียนต่างๆ ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ขอให้ติดตามดูแลนักเรียนไทยที่ไปศึกษาต่อในอินโดนีเซียกว่า 2,000 คน โดยกำชับให้เลือกเรียนในคณะ สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจาก ก.พ. -
การอาชีวศึกษา ได้มีการจัดตั้งศูนย์อาชีวะ ศูนย์จัดการศึกษาเพื่ออาชีพ มีการส่งเสริมเชิญชวนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาเรียนสายอาชีวะให้มากขึ้น พร้อมทั้งจัดที่พักให้อยู่ฟรีในระหว่างเรียน โดยส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านศาสนาและวิชาชีพ ที่สำคัญคือพยายามเน้นให้คนในพื้นที่ได้บรรจุเป็นพนักงานราชการ รวมทั้งส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้กลับเข้าไปพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนของตนเองโดยใช้วิชาชีพที่ตนเองเรียนมา
-
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เน้นการอ่านออกเขียนได้ ด้วยวิธีสอนแบบแจกลูกสะกดคำ, มีการบูรณาการจัดการศึกษาอย่างเป็นเอกภาพมากขึ้น, จัดงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 15 ล้านบาท เช่น โครงการสอนติวด้วยการให้ไปเข้ารับการอบรมเป็นครูแม่ไก่จากติวเตอร์ชื่อดังทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้, ส่วนการจัดการแข่งขันกีฬาของบุคลากรในสังกัด ต้องการให้มีนโยบายที่จะจัดการแข่งขันทุกปี
-
ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงการลงพื้นที่ของ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ในช่วงปีที่ผ่านมาหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง มีผลถึงการช่วยเหลือ การแก้ปัญหา ขวัญกำลังใจ และส่งผลถึงการทำงานเชิงบูรณาการมากขึ้น ทั้งยังเกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่สำคัญชุมชนเริ่มมีความรู้สึกว่าการทำให้ครูบาดเจ็บหรือเสียชีวิตส่งผลกระทบต่อเด็ก จึงทำให้ครูมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยในปี 2559 ยังไม่มีครูที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ในด้านการเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการดูแลจากกระทรวงศึกษาธิการในการบรรจุแต่งตั้งทายาทครูผู้เสียชีวิตเข้าไปทำงานแล้วกว่า 50 คน ส่วนข้อเสนอแนะ ต้องการให้มีการปรับปรุงการข่าวที่มีประสิทธิภาพ และให้คณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทดูแลครูให้มากขึ้น
เรื่องต่างๆ ทั้ง 4 เรื่อง ผ่านการเห็นชอบในระดับพื้นที่แล้ว จากนี้จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไป ส่วนกรณีการจัดงานชุมนุมลูกเสือเนตรนารีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้นั้น ได้จัดทำแผนและงบประมาณบูรณาการรองรับไว้แล้ว คาดว่าจะมีการจัดค่ายชุมนุมได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
หลังจากนี้ จะมีการลงพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อพบปะและรับฟังความคิดเห็น ปัญหา และข้อเสนอแนะร่วมกับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นการเฉพาะกลุ่ม ทั้งยังฝากให้ผู้บริหารติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน และเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเผยแพร่นโยบายต่างๆ ไว้แล้วทุกเรื่อง
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวชื่นชมกับนโยบายกีฬาภาคฤดูร้อนที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้เด็กๆ มีความสุข ห่างไกลยาเสพติด ด้วยเหตุที่เราประสบความสำเร็จในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ เพราะทุกคนล้วนเป็นหัวใจเดียวกัน
อีกเรื่องที่ขอฝากให้
ส่วนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งมีจุดเน้นที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา 3) การส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ 6) การเสริมสร้างการศึกษาเพื่อความมั่นคง นั้น รมว.ศึกษาธิการเห็นว่ามีความครอบคลุมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้ว และขอให้นำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เพราะบางปัญหาอาจเกิดจาก 1 สาเหตุ, บางปัญหาอาจเกิดจาก 3 สาเหตุ, บางปัญหาอาจต้องใช้หลายด้านมาแก้ไขปัญหา ซึ่ง
ย้ำด้วยว่า การจัดการศึกษาควรเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้ง 6 ด้าน แต่หากกระทรวงศึกษาธิการมีการขยับนโยบายในภาพใหญ่ แล้วทำให้แผนดังกล่าวชะลอลง ขอให้รีบแจ้ง และขอให้เดินตามแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านให้แน่น
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยยินดีรับฟังข้อเสนอในการแก้ปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทุกเรื่องจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่สามารถทำได้จริง
พิธีลงนามความร่วมมือ
พิธีปิดมหกรรม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการจัดมหกรรมกีฬาในครั้งนี้ว่า จากการที่นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีการส่งเสริมการกีฬาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า จัดทำโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้มีการจัดมหกรรมแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาในช่วงปิดภาคเรียนได้ออกกำลังกาย โดยการเรียนรู้ทักษะกีฬาพื้นฐาน
2) เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการใช้กิจกรรมกีฬาในช่วงปิดภาคเรียน ได้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนโรงเรียนของรัฐและเอกชน และมีการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาทั่วทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3) เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยใช้กิจกรรมการแข่งขันกีฬาให้กับนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รู้จักความสามัคคี การรู้แพ้รู้ชนะ การมีน้ำใจนักกีฬา เพื่อนำมาสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
โดยกำหนดให้มีการจัดการแข่งขันจำนวน 4 ประเภทกีฬา ได้แก่ กีฬาฟุตบอล, ฟุตซอล, วอลเล่ย์บอล (ชาย หญิง), เซปัคตะกร้อ (ชาย หญิง) และกรีฑา โดยแบ่งช่วงอายุการจัดการแข่งขันให้นักเรียนทุกระดับได้เข้าร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วยนักเรียนระดับประถมศึกษาอายุ 12 ปี นักเรียนระดับมัธยมศึกษาอายุ 15 ปี นักเรียนระดับอาชีวศึกษา นักเรียนการศึกษานอกระบบ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อายุ 18 ปี และอายุ 20 ปี ได้เข้าร่วมการแข่งขัน กำหนดจัดการแข่งขันเป็น 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
ช่วงที่ 1 การจัดการแข่งขันระดับอำเภอ จำนวน 45 อำเภอ ระหว่างวันที่ 25 – 30 มีนาคม 2559
ช่วงที่ 2 การจัดการแข่งขันระดับจังหวัด ระหว่างวันที่ 1 – 8 เมษายน 2559
ช่วงที่ 3 การจัดการแข่งขันระดับพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน 2559
โดยมีนักกีฬาจากทุกสังกัด ประกอบด้วยนักกีฬาจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 1,925 คน ผู้ควบคุมทีมจำนวน 750 คน
บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน/ถ่ายภาพ
ขอบคุณ : ภาพถ่ายจากคณะทำงาน รมช.ศธ.
26/4/2559