“ประชาชนนั่นแหละที่เขามีความรู้เขาทำงานมาหลายชั่วอายุคน เขาทำกันอย่างไร เขามีความเฉลียวฉลาด เขารู้ว่าตรงไหนควรทำกสิกรรม เขารู้ว่าตรงไหนควรเก็บรักษาไว้ แต่ที่เสียไปเพราะพวกไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ทำมานานแล้ว ทำให้ลืมว่าชีวิตมันเป็นไปโดยการกระทำที่ถูกต้อง”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ที่สะท้อนถึงพระปรีชาสามารถในการับรู้และความเข้าใจหยั่งลึก ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังเข้าสู่หมู่บ้านในถิ่นทุรกันดาร ภายหลังจากที่ทรงทุ่มเทพระวรกายทั้งความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทรงคิดค้นวิธีการต่างๆ กำหนดโครงการพัฒนาจำนวนมากเพื่อพัฒนาชนบท นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเล็งเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง
ภูมิปัญญาไทย คือ องค์ความรู้ของชาวบ้าน หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านกระทำขึ้นจากสติปัญญา ความรู้ความสามารถของชาวบ้านเอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย โดยมีกระบวนการสั่งสม สืบทอด และกลั่นกรองกันมายาวนาน
ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่มีความหมายผูกพันลึกซึ้งจากอดีตสู่ปัจจุบัน อันแสดงออกถึงการเข้าใจมูลเหตุการณ์สร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยหนึ่ง ที่สามารถค้นคิดสิ่งที่เป็นระเบียบแบบแผน มีรูปแบบที่ยอมรับกันภายในสังคม เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมนั้นๆ ทั้งยังมีคุณค่างดงามในรูปแบบของงานศิลปะ ผลงานจากภูมิปัญญาไทยของคนโบราณจะปรากฏคุณค่าเด่นชัดและน่าหวงแหนเมื่อเราได้ประจักษ์ชัดถึงความสัมพันธ์ทีสอดคล้องระหว่างศิลปวัฒนธรรม ประเพณีกับสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของคนในสังคมแต่ละยุคสมัย
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ที่สะท้อนถึงพระปรีชาสามารถในการับรู้และความเข้าใจหยั่งลึก ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังเข้าสู่หมู่บ้านในถิ่นทุรกันดาร ภายหลังจากที่ทรงทุ่มเทพระวรกายทั้งความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทรงคิดค้นวิธีการต่างๆ กำหนดโครงการพัฒนาจำนวนมากเพื่อพัฒนาชนบท นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเล็งเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง
ภูมิปัญญาไทย คือ องค์ความรู้ของชาวบ้าน หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านกระทำขึ้นจากสติปัญญา ความรู้ความสามารถของชาวบ้านเอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย โดยมีกระบวนการสั่งสม สืบทอด และกลั่นกรองกันมายาวนาน
ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่มีความหมายผูกพันลึกซึ้งจากอดีตสู่ปัจจุบัน อันแสดงออกถึงการเข้าใจมูลเหตุการณ์สร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยหนึ่ง ที่สามารถค้นคิดสิ่งที่เป็นระเบียบแบบแผน มีรูปแบบที่ยอมรับกันภายในสังคม เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมนั้นๆ ทั้งยังมีคุณค่างดงามในรูปแบบของงานศิลปะ ผลงานจากภูมิปัญญาไทยของคนโบราณจะปรากฏคุณค่าเด่นชัดและน่าหวงแหนเมื่อเราได้ประจักษ์ชัดถึงความสัมพันธ์ทีสอดคล้องระหว่างศิลปวัฒนธรรม ประเพณีกับสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของคนในสังคมแต่ละยุคสมัย

ยังมีภูมิปัญญาไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านแท้ๆ ที่คนไทยยืดถือสืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบันนี้ ซึ่งแม้แต่ชาวต่างชาติต่างภาษาเมื่อได้มาสัมผัสพบเห็นก็อดที่จะชื่นชมยินดีเสียมิได้ บางคนก็ถึงกับลงทุนข้ามน้ำข้ามทะเลมาขอศึกษาเล่าเรียนเพื่อนำไปเผยแพร่ในประเทศของตน ภูมิปัญญาเหล่านี้แทรกซึมอยู่ในสายเลือดของคนไทยทุกคน เช่น
.ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม
ได้แก่ การใช้วัสดุธรรมชาติแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้วัสดุธรรมชาติ มาทำยาฆ่าแมลงและวัชพืชเพื่อใช้ในไร่ในนา
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐที่มุ่งตอบสนองความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมละเลยสังคมเกษตรกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งเปรียบเสมือนรากฐานของชีวิตในอดีต ขาดการยอมรับภูมิปัญญาไทย ขาดความภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีมาในอดีต วิธีการดั้งเดิมถูกดูแคลนว่า ป่าเถื่อนไม่ทัดเทียมอารยะธรรมตะวันตก เช่น วิธีการกินอยู่ การแต่งกาย เป็นต้อน ละเลยภูมิปัญญาไทยที่มีคุณค่า ขาดการเกื้อหนุนระหว่างเครือญาติและชุมชน ขาดความเชื่อมั่นต่อภูมิปัญญาของตนมีความเชื่อที่ผิดๆ ว่าคนต่างชาติต้องเก่งกว่าคนไทย การไม่ยกย่องภูมิปัญญาไทยของคนไทยด้วยกันก่อให้เกิดความชะงักงัน หยุดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาใหม่ ๆ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการนำภูมิปัญญาไทยกลับคืนสู่สังคมไทยโดยผ่านกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้คนไทยรู้ซึ้งถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของภูมิปัญญาไทยโดยกำหนดไว้ถึง 3 มาตรา คือ มาตราที่ 46, 81 และ 289 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า “ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่อนุรักษ์ ฟื้นฟู จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น และรัฐต้องจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมโดยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง” และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการศึกษา โดยระบุไว้ในมาตรา 7 ว่า
“การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขรู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาคความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นคนไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง”
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าว ทำให้มองเห็นว่าการศึกษาไม่สามารถแปลกแยกออกจากท้องถิ่นเพราะการศึกษาต้องนำเอาประเด็นสำคัญๆ ของท้องถิ่นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เพื่อทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของตน สามารถทำให้เด็กจบการศึกษาออกไปมีความรับผิดชอบและสามารถสร้างสรรค์สังคมได้ จึงมีความจำเป็นต้องคืนภูมิไทยกลับสู่การศึกษาของชาติหลังจากที่ระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว เนื่องจากละเลยด้านกระบวนการภูมิปัญญาไทย ที่ไม่เอื้อให้ผู้ทรงภูมิปัญญาเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ มุ่งเพียงผลิตกำลังคนเพื่อสนองตอบภาคเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการศึกษาตาบอด ตามที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่า
“การเรียนในปัจจุบันเรียนแล้วตาบอด กลับถิ่นฐานบ้านเกิดไม่ถูกเรียนแล้วละทิ้งท้องถิ่น เรียนแล้วต้องกลับไปพัฒนาท้องไร่ท้องนาให้มีชีวิตขึ้นมา จึงจะเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง”

ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน การนำภูมิปัญญาไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษายังไม่สามารถทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาไทย ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยขาดการยอมรับและการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยในระบบโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนยังไม่นำเอาประเด็นของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเท่าที่ควร แม้ว่าหลักสูตรจะเปิดกว้างให้ท้องถิ่นสามารถพัฒนาหลักสูตร แต่ครูและผู้บริหารบางส่วนยังไม่เข้าใจเนื้อหาของหลักสูตรและแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ การเรียนการสอนในระบบการศึกษายังไม่คำนึงถึงสัดส่วนความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากลเท่าที่ควร นอกจากนั้นสถานศึกษายังไม่มีการจัดองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องภูมิปัญญาไทยโดยตรงเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนเชื่อมโยงภูมิปัญญาไทยเข้าสู่ระบบการศึกษาในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงอุดมศึกษา
ดังนั้น ถ้าจะนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น “ภูมิปัญญาไทย” เข้าสู่ระบบการศึกษาและสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม น่าจะดำเนินการโดยจัดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา โดยให้หลักสูตรนี้มีสถานภาพเท่าเทียมกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง กำหนดวัตถุประสงค์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กำหนดหลักสูตรท้องถิ่นให้มีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้บนพื้นฐานของภูมิปัญญาไทยในสัดส่วนที่สมดุลกับภูมิปัญญาสากล ให้โรงเรียนและชุมชนร่วมกันจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการเรียนการสอนบนพื้นฐานภูมิปัญญาในชุมชนเข้ามาดำรงตำแหน่งครูภูมิปัญญาไทย โดยให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับครูในระบบราชการ และจัดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนโดยมีฝ่ายส่งเสริมภูมิปัญญาไทยเป็นผู้รับผิดชอบและประสานงานกับเครือข่ายภูมิปัญญาไทย
การนำภูมิปัญญาไทยเข้ามาสู่การจัดการศึกษาเพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบคุณค่าและศักยภาพของภูมิปัญญาไทย ให้เป็นพลังของสังคมทางภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมสมัยใหม่อย่างมีความสุขและพึ่งตนเองได้ เพื่อนำภูมิปัญญาไทยกลับสู่การศึกษาของชาติโดยการปรับเนื้อหาสาระกระบวนการเรียนการสอน ให้ปรับเนื้อหาสาระกระบวนการเรียนการสอน ให้เชื่อมโยงระหว่างภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาสากล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น ยังต้องมีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเป็นแบบอย่างและผู้นำด้านวิธีคิด วิธีการเรียนรู้ประชาธิปไตย ตลอดจนนำผลการศึกษาด้านภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ภูมิปัญญาไทยที่บรรพบุรุษของเราค้นคิดเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการทดลองใช้จนเป็นที่เชื่อมั่น และสั่งสม สืบทอด เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องร่วมกันสืบทอดภูมิปัญญาไทย อันทรงคุณค่าให้อยู่คู่กับสังคมไทย เพื่อพลิกฟื้นสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่ตกต่ำลงทุกขณะ อันเนื่องมาจากการละเลยภูมิปัญญาไทยหันไปนิยมภูมิปัญญาสากลถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ ต้องประสานเป็นหนึ่งเดียวในการนำภูมิปัญญาไทยให้กลับมาอยู่เคียงคู่กับภูมิปัญญาสากลอย่างสมเกียรติและสมภาคภูมิร่วมกัน….
ที่มาเว็บ : http://www.myfirstbrain.com