มติ ครม. 4 ธ.ค.61
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 3 เรื่อง คือ 1) เห็นชอบ
-
เห็นชอบโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ “โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค” โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ส่วนงบประมาณในการดำเนินการจำนวน 800 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานโครงการ ประมาณการงบดำเนินการรายปีในลักษณะงบเงินอุดหนุนการศึกษาของนักศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น และงบดำเนินงานของสำนักงานโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น จำนวน 1,200 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ จำนวน 2,700 ล้านบาท จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ โดยดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 วิทยาเขต ได้แก่ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN KMITL) และสถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KOSEN KMUTT) และพัฒนาหลักสูตรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ นักเทคโนโลยี และนวัตกร ที่มีทักษะความเชี่ยวชาญสูงในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม และสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ สนับสนุนการต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมและการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จัดทำหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ และจัดให้มีทุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์แก่นักศึกษาในหลักสูตรโคเซ็น 4 ประเภท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 13 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2574) งบประมาณที่ใช้จ่ายภายใต้โครงการทั้งสิ้น 3,500 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินนอกงบประมาณ 2,700 ล้านบาท และเงินงบประมาณของประเทศไทย วงเงิน 800 ล้านบาท (ไม่รวมงบดำเนินงานที่ขอรับการสนับสนุนแยกต่างหากอีก 1,200 ล้านบาท (13 ปี))
2. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค มีรายละเอียดการปรับเปลี่ยนจากโครงการเพิ่มศักยภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ดังนี้
รายการ |
โครงการเพิ่มศักยภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561) |
โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (ศธ.เสนอขอปรับเปลี่ยนในครั้งนี้) |
จัดตั้งสถานศึกษา |
1. ปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างสถานศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามและวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี 2. จัดตั้งศูนย์ผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษา และ Career Development Center |
จัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 วิทยาเขต ได้แก่ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
พัฒนาหลักสูตร |
หลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี (ระดับ ปวช. และ ปวส.) สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาแมคคราทรอนิกส์ |
หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี รวมกับอนุปริญญาตรี 2 ปี) และการศึกษาในวิชาชั้นสูง (Advanced Courses) เวลาศึกษา 2 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรี) หลักสูตรวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ และหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
ทุนการศึกษา |
ผลิตช่างเทคนิคและนักเทคโนโลยีระดับพรีเมี่ยม 1. ทุนปริญญาตรี (2 ปี) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการเรียนดี (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 180 คน 2. ทุนปริญญาตรี (4 ปี) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับบุคคลทั่วไป (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 40 คน 3. ทุนในประเทศไทยจะมีการเปิดสอน 2 สาขา สาขาละ 40 คน โดยมีค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน 110,000 บาท/คน/ปี การจัดการเรียนการสอนด้วยความร่วมมือกับสถานประกอบการ 4. ทุนฝึกอบรม/อบรมครูในประเทศญี่ปุ่นให้กับสถานศึกษา 20 แห่ง รวม 700 คน 5. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร จ้างผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษา 6. ทุนฝึกอบรมประเทศญี่ปุ่น รวม 60 คน การผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษา 7. ทุนศึกษาต่อปริญญาโท รวม 44 ทุน 8. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน E-learning โดยมหาวิทยาลัยเครือข่าย จ้างผู้เชี่ยวชาญ การผลิตกำลังคนหลักสูตร MONOZUKURI 9. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร จ้างผู้เชี่ยวชาญ 10. นักเรียนหลักสูตร MONOZUKURI จำนวน 100 คน ค่าใช้จ่ายรายหัว 500,000 บาท/คน/หลักสูตร |
1. ทุนสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (7 ปี เทียบเท่าปริญญาตรี) ประเทศญี่ปุ่น (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 72 คน 2. ทุนการศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น 2 ปี และในสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น 3 ปี จำนวน 180 คน 3. ทุนการศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น 5 ปี จำนวน 900 คน (แลกเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่น 1 ภาคการศึกษา) 4. ทุนการศึกษาต่อเนื่องสำหรับ Advanced Courses จำนวน 328 คน (แลกเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่น 2 ภาคการศึกษา) (ข้อ 2 – 4 เพื่อกลับมาทำงานหน่วยงานภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรมใน EEC โดยต้องมาปฏิบัติงานสอนแบบไม่เต็มเวลาที่สถาบันไทยโคเซ็นด้วย หรือเป็นครู/บุคลากรในสถาบันไทยโคเซ็น) |
งบประมาณดำเนินการ |
3,500 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 2,700 ล้านบาทและเงินงบประมาณ 800 ล้านบาท |
สำหรับดำเนินงานโครงการ 3,500 ล้านบาท – เงินนอกงบประมาณ 2,700 ล้านบาท (จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น) – เงินงบประมาณ 800 ล้านบาท ประมาณการงบดำเนินงานรายปีในลักษณะงบเงินอุดหนุนของนักศึกษาและงบดำเนินงานของสำนักงานโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น 1,200 ล้านบาท (13 ปี) โดยให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
10 ปี (พ.ศ. 2562 – 2571)
|
13 ปี (พ.ศ. 2562 – 2574) |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ |
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
3. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 3 มกราคม 2561 เห็นชอบโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ของประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 รุ่น รวม 24 คน ในปีการศึกษา 2561 – 2562 เพื่อกลับมาปฏิบัติราชการหรือปฎิบัติงานราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานรัฐบาลด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นโครงการในลักษณะใกล้เคียงกันกับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคที่เสนอมาในครั้งนี้ แต่มีระยะเวลาดำเนินการแตกต่างกัน โดยการดำเนินการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยของโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ฯ ที่เสนอมาในครั้งนี้ จะเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2563
4. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ที่มีความรู้และศักยภาพสูงจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม โดยมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาศัยกภาพของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมภายใต้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
-
อนุมัติจัดทำและลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษากับลาว
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือดังกล่าว
สาระสำคัญ เพื่อใช้เป็นกรอบความร่วมมือทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับต่าง ๆ การส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย การพัฒนาหลักสูตรสเต็มศึกษา โลจิสติกส์ การศึกษาพิเศษ และการตรวจสอบเอกสารวุฒิการศึกษาของนักศึกษาและพระสงฆ์ลาวที่เรียนในประเทศไทย โดยได้ระบุให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการศึกษาไทย – ลาว เพื่อใช้เป็นเวทีในการหารือกิจกรรม/โครงการความร่วมมือระหว่างกัน โดยแต่ละฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม กำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้และสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ เป็นระยะ 5 ปี และจะต่ออายุอัตโนมัติออกไปอีก 5 ปี
-
อนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง
1. นายสุภัทร จำปาทอง
2. นายสนิท แย้มเกษร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง รอง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
Photo
Rewriter/