ยุทธศาสตร์พระราชทาน
จังหวัด
การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา สำหรับพระราชดำรัสเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช่น
“…ศาสนาอิสลามนี้ มีความดีเป็นพื้นฐาน เพราะว่าศาสนาอิสลามสอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดี ทุกคนมีความเข้มแข็ง มีวินัย และมีความปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นหลักที่สำคัญ ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างบ้านเมืองให้เจริญและ มั่นคง…”
(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะธรรมจาริก ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัด นราธิวาส วันที่ 22 สิงหาคม 2516)
เมื่อครั้งที่ ดร.สุเมธ ได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระองค์เคยมีคำสอนที่บอกถึงนัยะในความละเอียดของการทำงาน เช่น “มองทุกอย่างที่ฉันทำ จดทุกอย่างที่ฉันพูด สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด”
ในขณะที่ ดร.สุเมธ มองว่าคนไทยมักชอบสร้างปัญหาและแก้ปัญหา มากกว่าที่จะวางแผนทำให้ไม่เกิดปัญหา ทำให้หลายเรื่องต้องตามไปแก้ปัญหาภายหลัง เช่น รถติดมาก ๆ ก่อนแล้วจึงตามไปแก้ปัญหา ซึ่งอยากให้ตั้งโจทย์ง่าย ๆ ไว้คิด เช่น ถ้าไม่มีข้าว ไม่มีดิน แผ่นดินเลี้ยงดูเราทุกรูปแบบ เราต้องรักษาพัฒนาแผ่นดิน วันนี้กรุงเทพฯ และหลายเมืองทั่วโลกไม่มีแม้แต่อากาศดี ๆ ให้หายใจ มนุษย์กำลังไปสู่ความตายจากการทำลายตนเอง
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการที่พระองค์ทรงต้องการพัฒนาเพื่อให้เกิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะฉะนั้น ภารกิจสำคัญของเราในวันนี้ คือ ต้องรักษาแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมให้ได้เอาไว้อย่างยั่งยืน เพราะทุกศาสนา รวมทั้งศาสนาอิสลาม ต่างสอนให้รักษาความสะอาด หากเราไม่ “เข้าใจ” ในเรื่องเหล่านี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถ “เข้าถึง” และ “พัฒนา” ได้ กลายเป็นตกต่ำไปเรื่อย ๆ จนทำลายตัวเองในที่สุด
ในเรื่องการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ดร.สุเมธ กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก อาทิ
“…การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปล ควรให้พูดเข้าใจกันได้ เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน…”
เน้นย้ำ
พระองค์ทรงปฏิบัติโดยเสมอ “ทรงให้ทำเพื่อส่วนรวม” โดย ดร.สุเมธ ได้ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อส่วนรวม และ
สิ่งต่าง ๆ ที่เกริ่นมาข้างต้น ดร.สุเมธ บอกว่า ล้วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ที่เราควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความสงบ สันติ สมานฉันท์ และความเจริญที่ยั่งยืน โดยยกตัวอย่างบางส่วน ดังนี้
เข้าใจ “เข้าใจเขา – เข้าใจเรา”
– เข้าใจเขา – คือ เข้าใจว่า ก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน ได้แก่ เข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นอย่างไร เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสภาวการณ์เศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่ เป็นต้น
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าใจว่า อะไรที่เป็นเงื่อนไขทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในมิติภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือ สภาพสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต ปัญหา ความต้องการต่างๆ ของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น การทำประชาพิจารณ์ เข้าไปพูดคุย คลุกคลีกับคนในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากคนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา
– เข้าใจเรา – ระหว่างการดำเนินการนั้น ต้องทำให้ผู้ที่เราจะไปทำงานกับเขาหรือทำงานให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึ้นตามที่เรามุ่งหวังไว้
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าต้องการเข้าไปช่วยเหลือจริง ๆ ให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่เชื่อมั่นในนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน และต้องเข้าใจโลก เข้าใจภูมิภาค เข้าใจประเทศ ไปจนถึงเข้าใจชุมชน
เข้าถึง คือ เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ต้องเข้าถึงเพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้วจะต้องทำอย่างไรให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าถึงพื้นที่และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการทำงาน ทำให้ทราบถึงลักษณะของพื้นที่และความรู้สึกนึกคิด ปัญหาต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของเขา และเขาต้องอยากเข้าถึงเราด้วย โดยต้องทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เข้าใจและไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรึกษาหารือร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและคนในพื้นที่
ดังนั้น การเข้าถึงต้องคำนึงถึง “ภูมิสังคม” ซึ่งหมายถึง
ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน – น้ำ – ลม – ไฟ
สังคมวิทยา : คน อุปนิสัย ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี
นอกจากนี้ ต้องเข้าถึงการวางระบบบริหาร เช่น บริการที่จุดเดียว เข้าถึงอิสระและเสรีภาพ กระบวนการยุติธรรมจากรัฐ พึ่งตนเอง พร้อมทั้งการส่งเสริมคนดีและคนเก่งด้วย
พัฒนา เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ ระเบิดจากข้างใน
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของการเข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง บนหลักของสันติ ความจริงใจ ความกล้าหาญ ความเสียสละ โดยการใช้ทักษะการบริหารจัดการที่สามารถรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทุน คน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ มาทำให้สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น เจริญขึ้น และมีความสงบ สันติสุขเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ขอให้เน้นการมีส่วนร่วม ประชาพิจารณ์ รู้ รัก สามัคคี ทำงานแบบองค์รวม มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย simplicity เพื่อมุ่งพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
ดร.สุเมธ กล่าวด้วยว่า ต้องการให้พวกเราน้อมนำ
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
ดร.สุเมธ สรุปการบรรยายในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า การน้อมนำความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานในการปฏิบัติงาน จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ความเจริญของส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
Photo Credit กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร./ กลุ่มสารนิเทศ สป.