ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
● 3 ปีที่ผ่านมา ศธ.พร้อมจัดการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก เริ่มต้นจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 จว. สู่พื้นที่ EEC 3 จว. และขยายครอบคลุมภาคตะวันออก 8 จว.
อย่างไรก็ตาม ได้ย้ำมาโดยตลอดถึงการวางแผน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้เน้นย้ำมาโดยตลอดว่า ในการทำงานทุกด้านควรจะต้องมีการสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการวางแผน เพื่อทำให้คนภายในองค์กรของเรารับรู้เสียก่อน จะได้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าควรจะวางแผนทำงานต่อไปกันอย่างไร จากนั้นจึงสร้างการรับรู้ความเข้าใจไปสู่องค์กรภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพราะเมื่อประชาชนมีความเข้าใจแล้ว ก็จะเกิดความร่วมมือ ถือเป็นหลักการทำงานที่พึงประสงค์ตามต้องการ
เมื่อเกิดความร่วมมือแล้ว ท้ายที่สุดก็คือ “ประชาชน” ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นศูนย์กลางการทำงาน ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของเราต่อไป
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านมาเห็นว่า ศธ.มีการทำงานเชิงบูรณาการได้ดี ซึ่งสภาอุตสาหกรรมในพื้นที่ทุกจังหวัดพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางการจัดการศึกษาที่จะต้องสอดคล้องรองรับกับ
ดังนั้น หาก ศธ.เร่งการวางแผนผลิตพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมสาขาใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ จะช่วยให้ผู้ลงทุนต่างชาติเห็นแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรม และเกิดความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก
นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนฯ กล่าวถึงผลการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการชุดนี้ หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนใหม่ให้รองรับทั้งภาคตะวันออกและพื้นที่ EEC เพราะคำสั่งเดิมเน้นเฉพาะพื้นที่ EEC เท่านั้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออก (พ.ศ.2562-2564) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “มีความเป็นเลิศด้านการศึกษา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชั้นนำในอาเซียน” ที่จะทำงานภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอนทุกระดับ 3) พัฒนาผู้เรียนและบุคลากร 4) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม 5) สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร โดยเกี่ยวข้องกับสำนักงานศึกษาธิการภาค 3 และภาค 9 รวมทั้งรับทราบโครงการต่าง ๆ ของ ศธ.ที่จะเสนอต่อที่ประชุม ครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ จ.จันทบุรี
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมได้เห็นชอบการนำผลิตภัณฑ์ของผู้เรียนอาชีวศึกษา มาขยายผลเพื่อจำหน่าย โดยอาจจัดตั้งเป็นรูปแบบขององค์กรนิติบุคคลเฉพาะ การรวบรวมผลิตภัณฑ์ดีเด่นมาทำในเชิงธุรกิจ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ 151 ชิ้นงาน ในจำนวนนี้เป็นชิ้นงานในภาคตะวันออก 24 ชิ้นงาน และได้รับรางวัลระดับชาติ 5 ชิ้นงาน
หากพิจารณาจากรูปแบบที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้ศึกษาระบบเศรษฐกิจคันไซ ของญี่ปุ่นแล้ว พบว่าทั้ง 24 ชิ้นงานสามารถขยายผลให้เป็นระบบ Supply Chain ย่อยของ 10 อุตสาหกรรมได้ เช่น “น้ำยาบ้วนปากเยื่อไผ่” ที่เชื่อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีฯ หรือ “รถตุ๊กตุ๊กดับเพลิง” สามารถเชื่อมกับอุตสาหกรรมยานยนต์, “อุปกรณ์ขุดมันสำปะหลัง” ที่เชื่อมต่อกับการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 คณะจากหลากหลายหน่วยงาน โดยมี สอศ. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ เพื่อร่วมพิจารณาและหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ในการผลักดันเรื่องนี้ให้เข้าสู่ระบบ
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงการจัดงานนำร่อง การแสดงชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประกวดโครงการสิ่งประดิษฐ์ระดับชาติของปี 2559-2560 ต่อไป รวมทั้งจะมอบหมายให้ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาฯ หาช่องทางการรับโจทย์การพัฒนาชิ้นงานจากภาคอุตสาหกรรมหรือโรงงาน มาให้นักศึกษาคิดประดิษฐ์เป็นต้นแบบในเรื่องต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย
อนึ่ง ที่ประชุมครั้งนี้ ได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออก และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ EEC ปีงบประมาณ 2561 ของหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานศึกษาธิการภาค 3
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/เรียบเรียง
กิตติกร แซ่หมู่: ถ่ายภาพ
5/2/2561