ลงพื้นที่ ครม.สัญจร
รมช.ศึกษาธิการ “พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์” ลงพื้นที่รับฟังความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคกลาง
วันนี้ (
โดยสิ่งที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมก่อนที่จะเปิดศูนย์ที่เหลืออีก 4 ภาค ภายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนเดือนพฤษภาคมนี้ คือ ต้องมีความเข้าใจนโยบายการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกัน สร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้
สิ่ง
“ต้องการให้ศูนย์อีก 4 แห่ง 4 ภาคที่เหลือ เปิดได้ทันภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งมาคิดริเริ่มใหม่ หรือนโยบายฉาบฉวย แต่เป็นการทำงานและวางแผนที่ต่อเนื่องมาเป็นขั้นเป็นตอนกว่า 3 ปีแล้ว
นอกจากนี้ ขอให้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้งศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาช่วยวิเคราะห์เพื่อกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนบูรณาการศึกษาในทุกภาค
ภายใต้สูตรการสร้างความสำเร็จที่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำอยู่เสมอ คือ “ความสำเร็จ = ความเพียร + ความร่วมมือ + ประชารัฐ” พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
1)
2) เป็นระบบที่สามารถกรอกข้อมูลคาดการณ์ในอนาคต ในแต่ละเดือน/ปี เพื่อในการนำมาใช้ประโยชน์วางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนในอนาคต ทั้งระยะใกล้และระยะไกล สามารถเห็นว่าตำแหน่งที่ต้องการได้บรรจุหรือยัง
3) ระบบสามารถควบคุมจัดการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ โดยมีการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อประโยชน์โดยตรงในการพัฒนาและผลิตกำลังคน โดนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ สามารถติดตามข้อมูลเชิงลึกเป็นรายบริษัทได้ ทำให้เจ้าหน้าที่อาชีวะกับบริษัทจะใกล้ชิดกัน โดยระบบเป็นตัวบังคับ
4) เป็นระบบต้นแบบ ที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของศูนย์ฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป เป็นขั้น 2 ขั้น 3 เข้าสู่ Big Data โดยสัมภาษณ์งานในระบบนี้ได้
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ มีข้อเสนอและความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. บางส่วน ดังนี้
-
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. “จากการติดตามงาน Big Data ของ
ผศ.บรรพต วิรุณราช ครั้งแรกที่ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ทำให้เห็นว่าเป็นระบบ ฐานข้อมูลกลางที่ดี รู้สึกชื่นชม และจากการติดตาม รมช.ศึกษาธิการ ไปตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ หลายแห่งมีมาตรฐานที่ดี หวังที่จะเห็นความมีมาตรฐานเกิดขึ้นกับศูนย์ทุกแห่ง ทั้งศูนย์ระดับภาคและศูนย์ย่อย” -
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ. “จะเร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ อีก 4 ภาค ให้เป็นไปตามนโยบายที่ รมช.ศธ.เน้นย้ำ คือ ข้อมูลการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนต้องถูกต้องชัดเจนแม่นยำ ฐานข้อมูลเป็นระบบเดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยจะให้การทำงานของ 5 ฝ่ายของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมมือกันวางแผนเตรียมความพร้อมอย่างเข้มแข็ง ทั้งฝ่ายข้อมูลกลาง ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะฯ ฝ่ายส่งเสริมระดมทรัพยากรฯ ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และฝ่ายวิจัยและพัฒนา โดย สอศ.จะรวบรวมและรายงานความพร้อมศูนย์ฯ ภาคที่เหลือว่าศูนย์ใดจะเป็นศูนย์ระดับภาค และมีความพร้อมจะเปิดเมื่อใด”
-
นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัด ศธ. “การผลิตสายอาชีวะไม่น่าห่วง แต่ยังห่วงการผลิตกำลังคนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาที่ยังไม่ตรงกับความต้องการกับการมีงานทำของประเทศ”
-
นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. “การจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ระดับภาคทั้ง 6 ภาค ถือเป็นมิติใหม่ของประเทศ เป็นการเตรียมอาชีวะ เชื่อมโยงกับ สพฐ. และผู้เรียนทุกระดับ และขอให้มองการวางแผนระยะยาวที่มีการบูรณาการร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน”
-
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. “พร้อมที่จะสนับสนุนการส่งต่อผู้เรียน กศน.ให้กับสายอาชีวะ และร่วมมือแลกเปลี่ยนผู้สอนโดยเริ่มต้น
30 หลักสูตร ใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ก่อน และพร้อมจะส่งเสริมสนับสนุนระบบทวิศึกษา ร่วมกับ สอศ.ให้เกิดความต่อเนื่อง โดย กศน.สอนวิชาพื้นฐาน ส่วน สอศ.สอนวิชาชีพ” -
นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 9 “จากการไปตรวจราชการ พบว่าโรงเรียนขยายโอกาสที่อยู่พื้นที่ห่างไกล ยังต้องการให้อาชีวะเข้าไปแนะแนว สร้างทางเลือกการเข้าเรียนให้แก่ผู้เรียน เด็กจำนวนมากยังขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อ อาจจัดหาทุนการศึกษาให้ หรือมีทางออกให้เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะของประเทศให้มากขึ้น”
-
นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ. “สพฐ.ต้องเป็นหน่วยงานหลักที่จะผลักดันให้เด็กนักเรียนได้เรียนสายอาชีพในระบบทวิศึกษาให้มากขึ้น จะวางระบบการแนะแนวให้โรงเรียนให้เด็กที่จบ ม.3 สามารถค้นพบตัวเองที่จะเลือกเรียนได้ตามความถนัดทั้งสายวิชาการและสายอาชีพ”
-
น.ส.วัฒนาพร สุขพรต ผอ.สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สกอ. “เห็นด้วยกับนโยบายรัฐที่มุ่งเน้นผู้เรียนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น รวมทั้งระบบทวิศึกษา เพราะผู้เรียนมหาวิทยาลัยหลายแห่งหลายสาขาจบออกมาแล้วไม่มีงานทำ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังการศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษา ทั้งมัธยม-อาชีวะที่ต้องร่วมกันวางแผนการส่งต่อผู้เรียน จึงต้องมีการเชื่อมเส้นทางการเรียนของเด็กตั้งแต่มัธยม”
-
น.ส.สมรัชนีกร อ่องเอิบ ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ. “สกศ.เป็นหน่วยงานนโยบาย โดยดูแลการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาแม่พิมพ์ ก็มีคณะกรรมการฯ ที่ดูแล ซึ่งเห็นว่าวิทยาลัยอาชีวะในภาคกลางหลายแห่งมีจุดเด่นในเรื่องนี้ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมให้เป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศในเรื่องนี้ และการเชื่อมโยงผู้เรียน สพฐ.-สอศ. ก็ต้องมี Data ที่เห็นชัด มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งคน เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมายสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะของไทยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายสามัญเป็น 50 : 50 ใน 20 ปีข้างหน้าตามเป้าหมาย”
-
นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการ กช. “โรงเรียนเอกชนนอกระบบหลายแห่งมีการเรียนการสอนสายอาชีพ กำลังมีโครงการถ่ายโอนให้เด็กเข้าสู่โรงเรียนในระบบด้วย โดยจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เพื่อถ่ายโอนนอกระบบสู่ในระบบ”
Photo Credit ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี, ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า