ศธ. จัดทัพใหญ่ปฏิรูปการศึกษา หวังพลิกคุณภาพการศึกษาทุกตารางนิ้วทั่วประเทศ

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม​ 2564 คุณหญิง​กัลยา​ โสภณ​พ​นิช​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ การประชุม การบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ โดยมี ผู้บริหารกระทรวง​ศึกษาธิการ​ ศึกษาธิการ​ภาค ศึกษาธิการ​จังหวัด และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ หอประชุมคุรุสภา

 width=
 width=
 width=
 width=
รมว.ศึกษาธิการ​ กล่าวว่า การศึกษาถือเป็นเครื่องมือชี้วัดคุณภาพและศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีความสามารถในการแข่งขันกับนานาอารยะประเทศ และมีทักษะเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของศตวรรษที่ 21 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่าโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 15,000 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ทำให้การบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่ ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่สามารถจัดสรรบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนของผู้เรียน

กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวทางที่จะบูรณาการการศึกษา เพื่อพลิกการศึกษาทุกตารางนิ้วของประเทศไทย โดยการผนึกกำลังการทำงานอย่างเป็นเอกภาพของทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ การบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ, การสร้างโรงเรียนคุณภาพให้กับชุมชน, การจัดสรรบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่ในระบบให้เข้าถึงในทุกโรงเรียน เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้เรียนในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น พร้อมทั้งได้รับการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจากการที่มีครูครบชั้น ครบวิชา ในส่วนของโรงเรียนก็จะได้รับเงินอุดหนุน ที่สามารถจัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญกับวางรากฐานระบบการส่งต่อนักเรียน จากชั้นประถมศึกษา ไปยังระดับ​ชั้นมัธยมศึกษา​ อาชีวศึกษา​ อุดมศึกษา รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางที่จะต่อยอดการใช้พื้นที่โรงเรียนบางส่วน ในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ทั้งการเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็ก การสร้างชุมชนครูหรือหอพักสำหรับครูและข้าราชการในพื้นที่ รวมทั้งการจัดพื้นที่สำหรับพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดด้วย

ทั้งนี้ แผนบูรณาการการศึกษาดังกล่าว ได้มีการลงพื้นที่สำรวจและพัฒนาโดยใช้พื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นต้นแบบ ใน 3 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่ 1: พัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชนระดับประถมศึกษา, แนวทางที่ 2: เพิ่มศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) และแนวทางที่ 3: ยกระดับโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง จึงขอฝากให้ตัวแทนจากทั้ง 77 จังหวัด ได้ทำแผนพัฒนาในจังหวัดของตนเอง เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนารวมถึงการพิจารณาวางแผนงบประมาณที่ต่อเนื่องต่อไป

“กระทรวงศึกษาธิการ​ให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะที่การขับเคลื่อนการศึกษาไทยเป็นสิ่งหยุดไม่ได้ สิ่งที่เรากำลังทำนั้น มีความสำคัญมากกับการขับเคลื่อนการศึกษาไทย วันนี้ เป็นวันที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ครบ 18 เดือน ได้เห็นวงจรการศึกษาครบถ้วน รวมถึงรับทราบแนวทางในอดีต และรับฟังข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งสำคัญ คือ การเตรียมเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ให้มีความพร้อมรองรับการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และต้องการการรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ของทุกภาคส่วนในกระทรวงศึกษาธิการ​” รมว.ศึกษาธิการ​ กล่าว

 width=
 width=
 width=
 width=
คุณหญิงกัลยา โสภณ​พนิช รมช.ศึกษาธิการ​ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ที่รวมทุกองคาพยพของกระทรวงศึกษาธิการ​ ทำให้เห็นการรวมพลังเพื่อพลิกการศึกษาไทยทั้งประเทศ เชื่อมโยงกับการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยทุกระดับ หากเราดำเนินงานได้ตามเป้าหมายก็จะสามารถพลิกฟื้นประเทศไทยได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ขอเป็นตัวแทนที่สะท้อนระบบการศึกษาไทยที่มีคุณภาพ เนื่องจากได้เคยเข้าศึกษาในโรงเรียนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด จึงขอยืนยันว่าไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาในพื้นที่ใด การศึกษาไทยสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกพื้นที่ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ดังนั้น การยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยทั่วประเทศ เป็นสิ่งสำคัญและต้องเร่งดำเนินการ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ​ จึงขอสนับสนุนการดำเนินงานบูรณาการการศึกษาในทุกจังหวัดอย่างเต็มที่

นาง​กนก​วรรณ​ วิ​ลา​วัลย์​ รมช.ศึกษาธิการ​ กล่าวว่า นับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง​รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ภายใต้การนำของ รมว.ศึกษาธิการ​ ได้ลงพื้นที่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยพยายามดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีมิติการศึกษาเป็นตัวนำ และขอขอบคุณพี่น้องชาวกระทรวงศึกษาธิการ​ที่ให้การต้อนรับในระหว่างการลงพื้นที่ทุกจังหวัด ทุกความคิดเห็นและข้อแนะนำของทุกท่าน ล้วนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาการศึกษาไทย

สำหรับการบูรณาการการศึกษาเพื่อพลิกคุณภาพการศึกษาไทยในครั้งนี้ื ได้จัดคณะทำงานร่วมองคาพยพ และมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของชาวกระทรวงศึกษาธิการ​ทุกคน ทั้งบุคลากรในส่วนกลางและในพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อทำให้การศึกษาที่เปรียบเสมือนเป็นรากแก้ว ที่จะยึดโยงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพยั่งยืนต่อไป

นอกจากนี้ ขอขอบคุณและชื่นชม สพฐ. ที่ร่วมมือทำงานอย่างเข้มแข็ง รวมถึงขอบคุณคนในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลอย่างเข้มข้น ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น โดยขอเน้นย้ำการเดินหน้าการบูรณาการทำงานที่จะใช้กลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ เพื่อให้การศึกษาดำรงอยู่ได้ ด้วยการร่วมด้วยการพึ่งพากันคนละไม้คนละมือของทุกหน่วยงานในชุมชน

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
อรพรรณ​ ฤทธิ์​มั่น​: สรุป
นวรัตน์​ ราม​สูต​: เรียบเรียง
ทิพย์​สุดา​ ศรีษะ​แก้ว, สถาพร ถาวรสุข, ยุทธ​พงศ์​ เลือก​กลั่น​ดี​: ถ่ายภาพ
กลุ่ม​ประชา​สัมพันธ์​ สร.: รายงาน
18/1/2564