ศธ.จัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออกหวังพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน













































กระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของฐานอุตสาหกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว พร้อมเปิดประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน หวังพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน



 


จังหวัดนครนายกพล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  รับฟังแนวทางในการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค(ภาคตะวันออก) ของกระทรวงศึกษาธิการ จากคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯพร้อมทั้งมอบแนวทางในการปรับปรุงแผนฯ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น วันที่ 15 ธันวาคม 2560 ณ ภูเขางาม รีสอร์ท


 


 


พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มาใช้ในการยกระดับคุณภาพการผลิตและบริการในแต่ละพื้นที่ให้สูงขึ้น กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานหลักในการผลิตทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการยกระดับดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคของกระทรวงศึกษาธิการขึ้น6 ภาค ขึ้น และในครั้งนี้เป็นการจัดทำแผนฯ ของภาคตะวันออก ซึ่งได้มีการดำเนินการล่วงหน้ามาแล้วอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของแผน EECอย่างไรก็ตามในส่วนของภาคตะวันออก ครั้งนี้ ต้องคิดเป็นภาพรวมครอบคลุมทั้ง 8 จังหวัด


ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่14 ธันวาคม ที่ผ่านมา พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้หารือถึงการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค 8 จังหวัดกับพื้นที่ EEC เพื่อทิศทางการพัฒนาการศึกษาของทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเกิดการเชื่อมโยงและสนองตอบต่อการผลิตและการพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาพื้นที่ EEC โดยจะมี “คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออกและการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของกระทรวงศึกษาธิการ” เข้ามารับผิดชอบทั้งการศึกษาในพื้นที่ EEC และภาคตะวันออกต่อไป


 



 


นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองศึกษาธิการภาค 9กล่าวว่า การจัดทำแผนและทิศทางของการพัฒนาภาคตะวันออกจะครอบคลุม 8 จังหวัด มีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มมีโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของภาคตะวันออกสรุป ดังนี้


 


กลุ่มที่ 1 EECเพื่อเพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรม การค้าและการลงทุน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ECC ให้เป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตจำนวน 10 โครงการ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของฐานอุตสาหกรรมเดิมและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรและยุทธศาสตร์ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากล และแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอม


กลุ่มที่ 2 เมืองน่าอยู่เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรม การค้าและการลงทุน เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองสำคัญให้เป็นเมืองน่าอยู่และทันสมัย จำนวน 16 โครงการ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองสำคัญของจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีสมดุล และยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม


กลุ่มที่ 3 ด้านบริการการศึกษามีแนวทางในการพัฒนาด้านสังคมยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการบริการการศึกษาและสาธารณสุขให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่จำนวน 10โครงการ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาคนและชุมชนให้มีคุณภาพโดยจัดบริการสังคมให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และยุทธศาสตร์ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความหลากหลายอุดมสมบูรณ์  บริหารจัดการแบบบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่


 


 


อิชยา/สรุป


ธเนศ/ภาพ


กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.