ศธ.-พณ. จับมือ เร่งปั้นนักเรียน-นักศึกษา สู่นักธุรกิจรุ่นใหม่ เสริมการค้าออนไลน์และระหว่างประเทศในอนาคต

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการสร้าง Gen Z ให้เป็น CEO” ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ช้ัน 4 สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง และนักศึกษา เข้าร่วม
 width=
 width=
 width=
 width=
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว และเข้าสู่ภาวะหดตัว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบกับประเทศไทยและทั่วโลก แต่ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่สามารถรับมือได้ดีกว่าหลาย ๆ ประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ เพราะการค้ามีอุปสรรค รูปแบบการค้าจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยน จากระบบออฟไลน์สู่รูปแบบออนไลน์ ใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มากขึ้น พัฒนาเป็นรูปแบบผสมผสานทั้งออฟไลน์และออนไลน์ในอนาคต

รูปแบบการค้าแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นรูปแบบที่มีการพัฒนาข้อตกลงทางการค้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งเขตการค้าเสรี (FTA) หรือพหุภาคี เพื่อเป็นกติกาสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ที่จะกลายเป็น New Normal สำหรับการค้ายุคใหม่ สำหรับประเทศไทยผู้ประกอบการจำนวนมากปรับตัวไปสู่ระบบออนไลน์ รวมถึงเกษตรกรที่ค้าขายในระบบออนไลน์ และกลุ่มเด็กยุคใหม่ Gen Z ที่มีอยู่ทั่วประเทศถึง 10 กว่าล้านคน หรือ 20% ของประชากรของประเทศ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และอาศัยอยู่ในภูมิภาค 85% กระจายอยู่ทุกพื้นที่ โครงการสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ปั้น Gen Z เป็น CEO ถึงเกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุฝันของเด็กรุ่นใหม่

ในวันนี้ถือเป็นการเปิดศักราชสำคัญอีกครั้งหนึ่งของประเทศ เป็นความร่วมมือครั้งใหญ่ระหว่างกระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษา 13 สถาบัน ได้แก่

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
6. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
9. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
10. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
11. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
12. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
13. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง ทั้งหมด 47 แห่งทั่วประเทศ

โดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (จำกัด) มหาชน จะเข้ามาช่วยด้านการเรียนการสอนจากเทคโนโลยี ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการสามารถแปลงเวลาอบรมเป็นหน่วยกิตทางการเรียนได้ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันว่าจากกำหนดเป็นกี่หน่วยกิต ซึ่งเมื่อผ่านการอบรมแล้ว ในอนาคตสามารถทำการค้าในระบบออนไลน์ได้ สร้างรายได้ให้กับตนเอง และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ พัฒนาจนกลายเป็นผู้ส่งออก เพื่อสร้างเศรษฐกิจและความเข้มแข็งให้กับประเทศต่อไป โดยเราตั้งเป้าหมายว่าสร้างได้ไม่ต่ำกว่า 12,000 คน ภายในปี 2564 นี้

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจปีล่าสุด ประชากรไทยมีทั้งหมด 66.5 ล้านคน เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่นซีถึง 12.6 ล้านคน คิดเป็น 18.95% ของประชากรทั้งประเทศ นอกจากนั้น กลุ่มคน GenZ ที่อยู่ในภูมิภาค นอกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีมากถึง 10.6 ล้านคน หรือเกือบ 85 % ของเจนซีทั้งประเทศ และเพียง อีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งคนเหล่านี้ จะเป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุด และจะเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงศึกษาธิการ จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้เป็นผู้ประกอบการตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ที่หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนที่ถูกต้อง เหมาะสม และทันสมัย ก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้กลายเป็นธุรกิจยุคใหม่ ที่จะสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติได้อย่างแน่นอน

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
26/11/2563