ศธ.จับมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR และร่วมมือผลักดันมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว –
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การร่วมประชุมและแถลงข่าวครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และสถาบันภาษา โดยเป็น
หากเรามองภาพใหญ่ จะเห็นว่าผลการประเมินการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังคงมีอันดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการจึงพยายามยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีแนวทางดำเนินงานที่สำคัญ เช่น Boot Camp การอบรมภาษาอังกฤษสำหรับครูไทย ซึ่งขณะนี้ได้ขยายไปในระดับภูมิภาค 18 ศูนย์ทั่วประเทศ คาดว่าภายใน 4-5 ปีข้างหน้าจะให้การอบรมครูผู้สอนของไทยได้ครบถ้วน และภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-3 จากเดิม 1 คาบ/สัปดาห์ เป็น 5
ในส่วนของความร่วมมือครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษแบบองค์รวม ดังนี้
การยกระดับมาตรฐานการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน ทั้งด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ตำราเรียน และการประเมิน โดยมาตรฐานนี้จะระบุถึงทักษะที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องรู้อย่างชัดเจน โดยอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานสากล (Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) ซึ่งได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับความสามารถ ดังนี้ ระดับ A1 สามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ระดับ A2 สามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลาง ระดับ B1 สามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่ว ๆ ไปได้ จัดการกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ ระดับ B2 สามารถใช้ภาษาในระดับดี พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่องอย่างถูกต้อง คล่องแคล่วขึ้น รวมทั้งอ่าน และทำความเข้าใจกับบทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้ ระดับ C1 สามารถพูดแสดงความรู้สึกได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ เขียนข้อความที่ซับซ้อนได้ชัดเจนถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์ ระดับ C2 สามารถใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา
แต่ในมาตรฐาน
หลังจากนี้ สถาบันภาษาดังกล่าวจะนำไปออกแบบและจัดทำหลักสูตรทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
การยกระดับมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ ในการประเมินความสามารถด้านการสอนของครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ เพื่อใช้เสมือนใบประกอบวิชาชีพ เพราะครูผู้สอนต่างชาติที่แม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสอนภาษาอังกฤษได้ทุกคน เราจึงต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ Backpacker หรือซำเหมา เดินเข้ามาสอนภาษาอังกฤษกันได้ง่าย ๆ ซึ่งคุรุสภาพร้อมจะนำไปพิจารณาดำเนินการออก
นอกจากนี้ จะมีความร่วมมือต่อเนื่องในการพัฒนาพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test Specifications) ตามมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษในแต่ละระดับ เพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยทดสอบต่าง ๆ สามารถผลิตข้อสอบที่ได้มาตรฐานเทียบเสียงสากล โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2560
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น : ถ่ายภาพ
21/9/2559