ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมและพัฒนามนุษย์
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
การทำงานครั้งนี้ เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 โดยการนำของ พล.อ.ปราการ ชลยุทธ
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าหน่วยงานทางวิชาการมีความสำคัญมากต่อการทำงานที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ เพราะเป็นแหล่งองค์ความรู้สังคมพหุวัฒนธรรมที่สามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ และมีทรัพยากรที่พร้อมให้การสนับสนุน ทั้งด้านบุคลากร อาจารย์ สถานที่ รวมทั้งการเชิญชวนให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษา เข้าร่วมกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ตลอดจนสื่อสารทำความเข้าใจให้ได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาการศึกษา ที่เป็นความดีงามที่มีคุณค่าต่อการอยู่ร่วมกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หลักสำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้หน่วยงานได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” รวมทั้งศาสตร์พระราชา 23 หลักการทรงงานฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 23 “รู้ รัก สามัคคี” มาเป็นหลักในการดำเนินงานส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจกันบนพื้นฐานความรักความสามัคคี งานก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ดีอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ จากการประกาศเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี” ซึ่งได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ดำเนินงานวางแผน นโยบาย และยุทธศาสตร์การทำงานที่ชัดเจน เพื่อเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และประสานกับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมกำหนดให้มีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ ที่จะเป็นส่วนเชื่อมโยงการประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค พร้อมบูรณาการความร่วมมือการทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนสื่อมวลชน จึงเชื่อมั่นได้ว่าการจะเดินไปสู่เป้าหมายการสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เกิดความสันติสุขในพื้นที่ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
บันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ (Southern Universities‘ Networking for Multicultural Societies and Human Development)” ระหว่างมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 จำนวน 18 แห่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เพื่อร่วมประกาศเจตนารมณ์ ในการส่งเสริมและประสานความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการประสานความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและแนวทางการดำเนินการต่าง ๆ การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาล, เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่จะเป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พร้อมสร้างจิตสำนึกของนักเรียนนักศึกษา ในการพัฒนาคุณธรรม ความรัก ความเมตตา และความประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักศาสนา, เพื่อให้มหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานความร่วมมือของเครือข่าย ทั้งด้านสถานที่ ด้านเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ด้านยานพาหนะ เป็นต้น, การจัดทำแผนงาน โครงการวิชาการ และการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้วย นอกจากนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขึ้นมา 2 ชุด ได้แก่
ทั้งหมดนี้เพื่อตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัย สถาบันการอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นเวทีทางปัญญา เป็นแหล่งความคิดชี้นำสังคม ด้วยหลักความเป็นเลิศทางความรู้และวิทยาการต่าง ๆ ตลอดจนเป็นพื้นที่กลางทางความคิด ในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่รู้ และสร้างความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาที่คุกคามความมั่นคง และความผาสุกของสังคมส่วนรวม รวมทั้งมีบทบาทในการสร้างปัญญาชนและคนดีสู่สังคม ที่จะทำให้สังคมเกิดการพัฒนาสู่ความก้าวหน้าภายใต้วิถีแห่งสังคมของพหุวัฒนธรรมและความหลากหลาย รวมทั้งพัฒนาเยาวชนที่มีความสามารถ มีคุณธรรม มีจิตใจเปิดกว้าง และมีจิตอาสา ที่คำนึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เสมอ |
Written by นวรัตน์ รามสูต Photo Credit ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร