เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด
การประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด
จังหวัดตราด –
เมื่อเวลา 10.00 น. รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึงโรงเรียนบ้านท่าเรือจ้าง (ประชาชนูปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด อำเภอเมืองตราด โดยมีนายคราวุธ หงษ์วิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้งคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้พบปะกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน 37 คน และเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนซึ่งมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 544 คน โรงเรียนดังกล่าวจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยจนถึงประถมศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองเคลื่อนย้ายถิ่นฐานบ่อย และนักเรียนมีหลายชาติพันธุ์
รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวกับคณะครูและผู้บริหารว่า จากการตรวจเยี่ยมทำให้เห็นว่าโรงเรียนมีความมุ่งมั่นพัฒนา มีความสามัคคีของทุกฝ่าย มีการปรับปรุงอาคารสถานที่ได้ดี แม้จะก่อตั้งมาอย่างยาวนานแล้วก็ตาม และจากการสังเกตพบว่านักเรียนมีความพร้อมในด้านต่างๆ สอดคล้องกับการที่โรงเรียนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจนมีความก้าวหน้าเป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัดตราด เป็นต้นแบบของศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Learning School) ตามนโยบายรัฐบาลด้วย
พบปะผู้บริหารและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่วิทยาลัยเทคนิคตราด
รมช.ศึกษาธิการ ได้รับฟังรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงานทำของประธานอาชีวศึกษาจังหวัดตราด ซึ่งประกอบด้วย 3 วิทยาลัยในจังหวัดตราด คือ วิทยาลัยเทคนิคตราด วิทยาลัยสารพัดช่างตราด และวิทยาลัยการอาชีพบ่อไร่ โดยจัดการศึกษาตามหลักสูตร ปวช./ปวส./หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่สำคัญของจังหวัด คือ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
ขณะนี้ มีความต้องการแรงงานในธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และสถานประกอบการอีกจำนวนมาก โดยได้เตรียมความพร้อมสำหรับผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษด้วยหลักสูตร EP/MEP (English Program และ Mini E
จากการได้รับฟังข้อมูลต่างๆ ถือว่าน่าพอใจ ที่
จากนั้น รมช.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษาจังหวัดตราด รวมทั้งรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับคณะผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดตราด
ประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด
เวลา 13.30 น. รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด โดยมีนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตาก รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 รวมทั้งสถานศึกษาทุกสังกัดภายในจังหวัด นักวิชาการ ตลอดจนผู้แทนภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ตามนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล ที่กำหนดให้
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้เสนอความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ ในการเตรียมความพร้อม การจัดการปัญหา และการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังนี้
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า จังหวัดตราดมีพื้นที่ครอบคลุม 7 อำเภอ โดยอำเภอคลองใหญ่ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมียุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในการผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองต่อเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว, ระบบขนส่งโลจิสติกส์, การแปรรูปอุตสาหกรรม และยุทธศาสตร์ด้านภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ, ภาษาเขมร และภาษาเวียดนาม)
นายสุรศักดิ์ ศิลาอาสน์ ผู้แทนจากโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่จังหวัดตราด กล่าวว่า โครงการปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่จังหวัดตราดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเพื่อประชาชนชาวตราด โดยมีแนวคิดหลักคือ การส่งเสริมให้คนในพื้นที่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งอาชีพส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการเกษตร การท่องเที่ยว การค้าชายแดน และการขนส่งโลจิสติกส์ นอกจากนี้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอคลองใหญ่ได้มีการเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชา อีกทั้งมีการผลักดันให้นำอาชีพต่าง ๆ ในจังหวัดตราดไปบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษาด้วย
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา มีการจัดหลักสูตรทวิศึกษาและทวิภาคี และมีแนวทางในการดำเนินงานขั้นต่อไป ได้แก่ ดำเนินงานตาม Roadmap ที่วางไว้, ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกัน และจัดทำแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อทำให้ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสัมมาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
นางกรรณิกา สุภาภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด กล่าวว่า วิทยาลัยชุมชนตราดเป็นสถาบันพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อีกทั้งยังเป็นสถานศึกษาที่การจัดการเรียนรู้ให้กับคนทุกเพศทุกวัยในชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในชุมชน นอกจากนี้วิทยาลัยชุมชนตราดได้นำนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และนโยบายยกระดับภาษาอังกฤษมาจัดทำหลักสูตรตามความต้องการของพื้นที่ อาทิ หลักสูตรมัคคุเทศก์น้อย และหลักสูตรการจัดดอกไม้สด พร้อมทั้งปรับทัศนคติของคนในชุมชนที่มีต่อภาษาอังกฤษ โดยส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือนำไปหารายได้เสริม ทั้งนี้ วิทยาลัยชุมชนตราดได้จัดการศึกษาให้เด็กและเยาวชนชาวต่างด้าว อาทิ จัดการเรียนการสอนภาษากัมพูชา ภาษาเวียดนาม และภาษาจีน
นายถาวรสิทธิ์ อินทะแสง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างตราด กล่าวว่าวิทยาลัยสารพัดช่างตราดได้ประสานความร่วมมือกับคนในพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งต้องการกำลังคนด้านการท่องเที่ยว สถาบันอาชีวศึกษาจึงจัดการศึกษาสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตดังกล่าว นอกจากนี้มีการเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาบัญชี และสาขาการตลาด เพื่อสนองนโยบายการค้าในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้วย ปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาประมาณ 2,600 คน จากสถาบันอาชีวศึกษา 3 แห่งในจังหวัดตราด ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อไป
สำหรับด้านการคมนาคมขนส่ง ได้จัดให้มีหลักสูตรโลจิสติกส์เพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตราด ทั้งนี้สถาบันอาชีวศึกษาได้รับความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน เนื่องจากจังหวัดตราดมีสถานประกอบการจำนวนน้อย นักศึกษาบางส่วนต้องไปฝึกประสบการณ์ที่จังหวัดระยองและจันทบุรี นอกจากนี้สถาบันอาชีวศึกษาได้สนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยการจัดบุคลากรทางการศึกษาไปทำการสอนวิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาด้วย อีกทั้งมีการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาใน 3 สาขา คือ สาขาการโรงแรม สาขาช่างยนต์ และสาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะรับนักเรียนระดับชั้น ม. 4 เข้าเรียนควบคู่หลักสูตรสายอาชีพ ภายหลังจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะได้รับวุฒิ ปวช. ด้วย
ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด กล่าวว่า ประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาต้องได้รับการศึกษา โดยสำนักงาน กศน. ได้สำรวจความต้องการด้านการศึกษาของประชาชนในพื้นที่และจัดทำแผนจุลภาคในแต่ละตำบลว่าต้องการศึกษาเนื้อหาอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่จะเป็นผู้เรียนสูงอายุและอยู่ในวัยทำงาน นอกจากนี้ สำนักงานกศน.ได้จัดให้มีค่ายค่านิยม 12 ประการ กฎหมายในชีวิตประจำวัน กิจกรรมลูกเสือยุวกาชาด โดยจัดขึ้นในสำนักงาน กศน. ทุกอำเภอ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มี English Camp เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาอังกฤษผ่านแอพพลิเคชั่น Echo English
นอกจากนี้ สำนักงาน กศน. ได้จัดการศึกษาต่อเนื่องให้กับคนในพื้นที่ ด้วยการสนับสนุนอาชีพพื้นฐานและอาชีพต่อยอด รวมทั้งให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและภาษากัมพูชาเพื่อการสื่อสาร เนื่องจากมีชาวกัมพูชาจำนวนมาก เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดตราด อีกทั้งยังจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยจัดทำแผนการศึกษาชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทด้วย
นายวรวิทย์ พรหมคช ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 กล่าวว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาได้สนองนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการนำนโยบายการศึกษามาวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านอาชีพและการมีงานทำ ด้วยการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเน้นการพัฒนาครูและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อีกทั้งผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษาร่วมกับอาชีวศึกษา กล่าวคือ เด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะมีโอกาสเรียนอาชีวศึกษาควบคู่กับสายสามัญ และสนับสนุนการแนะแนวการศึกษาต่อโดยจัดให้มีการประชุมครูแนะแนว เพื่อทำให้ครูเหล่านี้สามารถแนะแนวเด็กให้มีเป้าหมายและทิศทางในการเรียนได้
นายวัลลภ รองพล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กล่าวว่า การจัดการศึกษาในพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ เน้นการค้าชายแดน เกษตรอินทรีย์ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีการจัดตั้งโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบ และมีการบูรณาการการเรียนรู้ทักษะอาชีพร่วมกับทุกภาคส่วน พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรในสถานศึกษาไปพร้อมกับการปรับปรุงบุคลากร นอกจากนี้ได้นำภาษาอังกฤษ ภาษา
ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด กล่าวว่า หน่วยงานในส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งอาคารสถานที่กับสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ตลอดจนสถานศึกษาของชุมชน อีกทั้งยังมีภารกิจดูแลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ซึ่งจัดให้มีกองทุนฟื้นฟูและให้ความรู้เรื่องสุขภาพและกฎหมาย ทั้งนี้ ได้จัดให้มีโรงเรียนสอนกีฬาฟุตบอลซึ่งได้ผลิตนักฟุตบอลอาชีพที่ป้อนเข้าสูงวงการฟุตบอลจำนวนมาก
ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดต้องการแรงงานตอบสนองอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว การค้าชายแดน การขนส่งโลจิสติกส์ และการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งหอการค้าจังหวัดตราดมีความต้องการที่จะให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลนักเรียนที่ได้เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.5 ด้วยการสนับสนุนให้เรียนสายอาชีพ เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นสามารถมาประกอบอาชีพได้หลังจบการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดหลักที่ว่า “เรียนเพื่อมีงานทำ” โดยอันดับแรกจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองและนักเรียนให้หันมาเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น พร้อมทั้งปฏิรูปครูและผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด กล่าวเสนอว่า ควรให้นักเรียนชั้น ม.3 ไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการทั้งในจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อทำให้เด็กรู้ตัวว่าโตขึ้นจะทำอาชีพอะไรและใช้ข้อมูลจากการศึกษาดูงานมาประกอบการตัดสินใจในการเรียนต่อระดับชั้น ม.ปลายหรือสายอาชีพ อีกทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบการรับเด็กฝึกงาน อย่างไรก็ดีการรับเด็กฝึกงานนั้นมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กเหล่านี้ โดยขอเสนอให้รัฐบาลพิจารณาการลดหย่อนภาษีจากรายจ่ายที่ใช้ดูแลเด็กนักเรียนฝึกงานต่อไป
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ค่าใช้จ่ายที่ภาคเอกชนใช้ในการดูแลการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยหลักการแล้วจะสามารถนำมาหักภาษีได้ 300% ซึ่งแนวคิดดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรี
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า การประชุมในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากได้รับทราบแผนงานต่าง ๆ จากทุกหน่วยงานที่มีการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งแผนงานต่างๆจะนำไปสู่การปฏิบัติจึงขอให้ทุกคนมุ่งมั่นและตั้งใจ โดยได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวางแผนและการปฏิบัติ ดังนี้
– หากเรามีแผนที่ดีจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย จึงจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
– หากเรามีแผนที่ไม่ดี แต่มีการปฏิบัติที่ดีก็จะช่วยพัฒนาแผนงานให้ดีได้
– การมีแผนที่ดี แต่การปฏิบัติไม่ดี มีสาเหตุมาจากขาดความร่วมมือกันทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ
– การมีแผนไม่ ดีรวมทั้งมีการปฏิบัติที่ไม่ดีด้วย ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ
จึงขอให้ทุกภาคส่วนนำแผนงานที่มีอยู่ไปทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติอย่างเข้มข้นและสัมฤทธิ์ผลต่อไป
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น
สรุป/รายงาน
19/5/2559
update