จังหวัดสงขลา – พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะอำนวยการและคณะทำงาน “เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมและการพัฒนามนุษย์” ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ
การประชุมในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าพิธีมอบบันทึกความเข้าใจดังกล่าว และรับทราบการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
-
การปฐมนิเทศแกนนำนักศึกษา และการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษา เครือข่าย 5 มหาวิทยาลัย สถาบันการพลศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษา จชต. ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมทำให้นิสิตนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และสร้างเครือข่ายแกนนำนิสิตนักศึกษาที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรม
-
ค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจัดมาแล้ว 4 ครั้ง ได้ผลเป็นอย่างดีกับการสร้างผู้นำเยาวชน
ในการขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมใน จชต. โดยผลการประเมินการเข้าค่ายพบว่าค่าเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนและหลังอบรมสูงขึ้นมาโดยตลอด จึงจะยกระดับค่ายพัฒนารุ่นที่ 5 ให้ลงตัวมากขึ้น ที่จะเน้นให้เด็กร่วมกันถกแถลงหัวข้อ สะท้อนความคิดเห็น วิเคราะห์ และแยกแยะให้มากขึ้น -
ค่ายส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 กันยายนที่ผ่านมา ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา อ.เมืองสงขลา
-
กรอบแนวคิดในการจัดชุดความรู้สังคมพหุวัฒนธรรมใน จชต. ซึ่งจะมีการจัดทำชุดความรู้ที่แสดงให้เห็นถึงเค้าโครงชุดความรู้ของประวัติศาสตร์ในพื้นที่และชาติพันธุ์เพื่อนำไปสู่การสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ถือว่าดำเนินไปอย่างมีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งที่หน่วยงานและสถานศึกษาเกิดความร่วมมือเชิงวิชาการ นับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหานำพาสันติสุขสู่พื้นที่ จชต.อย่างยั่งยืนในมิติการบูรณาการ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันการอาชีวศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน คณาจารย์ นักวิชาการ ที่อาสามาทำงานร่วมกัน ในการสร้าง ส่งเสริม และสนับสนุนการขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรม จชต. ด้วยความแน่นแฟ้น ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน