เชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดพิธี
นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวรายงานถึงการประชุมสัมมนา “การยกย่อง
การดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ สกศ.ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทยไปแล้วจำนวน 7 รุ่น มีครูภูมิปัญญาไทยจำนวนทั้งสิ้น 437 คน ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย
โดยครูภูมิปัญญาไทยทุกท่านมีหน้าที่สำคัญ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย 9 ด้านเพื่อการศึกษาและอาชีพ ได้แก่
ด้านเกษตรกรรม
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
ด้านการแพทย์แผนไทย
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน
ด้านศิลปกรรม
ด้านภาษาและวรรณกรรม
ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
ด้านโภชนาการ
ทั้งนี้ ได้ใช้ภูมิปัญญาไทยแต่ละด้านดังที่ได้กล่าวแล้ว เป็นฐานสำคัญของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งมีการปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเหมาะสมกับบริบทความต้องการของแต่พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1-7 ในปัจจุบัน บางท่านได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยของตน โดยมีเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งประเภทบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ นับเป็นกลไกสำคัญในการธำรงรักษาและสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย อันเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าของชาติ สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าความเป็นไทย ส่งมอบสู่คนรุ่นต่อไป
สำหรับครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 8 ในปีพุทธศักราช 2560 มีจำนวน 54 ท่าน เป็นครูภูมิปัญญาไทยจาก 29 จังหวัด จำแนกเป็นภาคเหนือ 16 ท่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 ท่าน ภาคกลางและภาคตะวันออก 9 ท่าน และภาคใต้ 14 ท่าน
การประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงถือเป็นการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ครูภูมิปัญญาไทยได้รู้จัก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวทางการนำภูมิปัญญาของครูภูมิปัญญาไทยแต่ละท่านเข้าสู่กระบวนการการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาชาติอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาล
จากพิธีดังกล่าว ทำให้มีความซาบซึ้งใจสุดพรรณนา ในการใช้ถ้อยคำอันไพเราะทุกขั้นตอนของการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ เฉลิมพระเกียรติพระปรีชาสามารถในหลากหลายสาขา พระอัจฉริยภาพทางการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติ พระเมตตากรุณาพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ล้วนเป็นเรื่องแห่งความทรงจำที่งดงามยิ่งแก่ประชาคมโลกทั้งสิ้นโดยตลอดรัชสมัย ที่องค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ จะได้น้อมนำสู่การปฏิบัติเป็นความทรงจำแห่งพระมหากรุณาธิคุณที่ยั่งยืนและรำลึกถึงพระองค์ท่านตลอดไป
จึงฝากให้ครูภูมิปัญญาไทยทุกท่าน รวมทั้ง สกศ. ตลอดจนส่วนราชการทุกภาคส่วน ได้
นอกจากนี้ ฝากให้เราทุกคนช่วยกันเผยแพร่รักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตนเอง เพราะการจัดการศึกษาที่ขาดรากฐานในการนำภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาใช้ การศึกษาจะขาดความยั่งยืน สูญเสียเอกลักษณ์ที่ดีเด่นของชาติ ครูภูมิปัญญาจึงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะเป็นบุคคลสำคัญช่วยสืบสานสิ่งดีงามของท้องถิ่นเอาไว้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความสำคัญในการดูแลภูมิปัญญาวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา
ม.ล.ปนัดดา กล่าวด้วยว่า
บั
อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ
27/9/2560