เปิดตำราจินดามณี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. อ่านคำศัพท์พร้อมทั้งคำแปล ตัวอย่างเช่น พรรษ ว่าฝน พรรษ ว่าปีว่าอายุศม พรรผักกาด หัวพันเกี้ยวพัน กรรม ว่ากทำ กัลปประไลย กรรณ ว่า หู กรรฐ ว่าคอ กัลยา ว่านาง ฯลฯ 3. อ่านคำศัพท์พร้อมทั้งคำแปล ตัวอย่างเช่น มาดา มาดร บิดา บิดร บิดุเรศ บิดุราช นัดดา หลาน ทารา ภรรยา นารี บุตรี ยุไพ พงโพท นงพาล พธู พเท พนิดา สุดา อ่อนไท เทวี เทพี ชายา ชาเยศ ชาเยนทร การดา กัลยา ฯลฯ
เมื่อจบคำอธิบายอักษรศัพท์จึงคั่นด้วยนมัสการพระรัตนตรัย ตามด้วยเนื้อความที่กล่าวถึง การเขียนตัวสะกดการันต์ เช่น การเขียน ศ.ษ.ศ. การใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย การใช้ ฤ ฤา ฦ ฦา การจำแนกอักษร และการผันอักษร การใช้เครื่องหมายต่างๆ เช่น วิสรรชนีย์ พินเอก ทัณฑฆาต ตัวสะกดในแม่ต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น
การใช้ ฤ ฤา ฦ ฦา การเขียนกาพย์ โคลง ฉันท์ ไม่ควรใช้ ฤ ฤา ฦ ฦา ถ้าจำเป็นจึงใช้เพราะระบบการเขียนและการอ่านยากมาก คำใดที่ควรเขียนจึงเขียน ฤทธิ พฤนทร ฤา ฦา เป็นต้น การจำแนกอักษร จำแนกอักษรออกเป็น 3 หมู่ ซึ่งในหนังสือจินดามณีฉบับพระโหราธิบดีนี้ แบ่งเป็น อักษรเสียงกลาง 9 ตัว อักษรสูง 11 ตัว และอักษรเสียงกลางที่เหลือจากอักษรเสียงกลางที่เหลือจากอักษรเสียงกลาง 9 ตัว อีก 24 ตัว โดยให้คำอธิบายไว้ว่า ต้องอ่านสระ 19 ตัว ให้จำได้ก่อน และก่อนอ่านต้องขึ้นบทไหว้พระพุทธเจ้าก่อน แล้วจึงอ่านพยัญชนะอ่านตามเสียงสูงและเสียงกลาง จากนั้นจึงนำพยัญชนะ สระ และตัวสะกดมาตราต่างๆ มาประสมกันแล้วอ่านออกเสียง ซึ่งเรียกว่า การแจกลูก การผันอักษร การผันอักษรในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี อักษรทั้งหลายจะผันออกไปตัวละ 3 คำ คำที่แจกลูกมาเป็นคำต้น คำที่สะกดด้วยไม้ค้อนหางวัว (ไม้เอก) เป็นคำกลาง คำที่สะกดด้วยรูปขอ (ไม้โท) เป็นคำปลาย ในช่วงท้ายของหนังสือจินดามณีเล่มหนึ่ง ได้กล่าวถึงคำอธิบายวิธีแต่ง กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ โดยอธิบายการแต่งโคลงและฉันท์ ซึ่งแบ่งโคลงออกเป็น 2 ชนิด คือ โคลงลาวกับโคลง (ไทย) โคลงลาวเช่น พระยาลืมงายโคลงลาว ซึ่งใช้ภาษาเหนือแต่ง ส่วนโคลง (ไทย) เริ่มด้วยโคลงสี่สุภาพ และมณฑกคติ โคลง 5 การแต่งฉันท์ได้จากคำภีร์วุตโตทัย โคลงฉันท์ที่ดีๆ มาเพื่อเด็กได้ศึกษาจดจำไว้ รหัส ได้แก่ อักษรเลขไทยนับ 3 เป็นต้น ผู้ที่จะถอดข้อความได้จะต้องรู้รหัสต่างๆ เช่น ตัวอักษรที่มีรหัสเป็นตัวเลขหรือการชักตัวอักษรจากคำประพันธ์อื่น เพื่อนำมาประสมให้เป็นข้อความติดต่อกันและอ่านได้ความ โคลงกลอนที่เป็นรหัสนี้มีเนื้อความเกี่ยวกับความรัก น่าจะใช้สำหรับเขียนเพลงยาวเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ข้อความ หนังสือจินดามณีเป็นหนังสือแบบเรียนเพื่อสอนอ่านและเขียน การสอนมุ่งไปในการเขียนคำศัพท์ต่างๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้อง พร้อมทั้งการผันเสียง เมื่อสามารถอ่านเขียนได้ถูกต้องแล้วจึงแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงในสมัยนั้น การยืมคำมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร คงจะมีมาก่อนนานแล้ว แต่การเขียนยังสับสนอยู่ ผู้แต่งจึงได้รวบรวมคำศัพท์ภาษาต่างๆ ไว้ด้วยกัน และบอกคำแปลไว้ด้วย เพื่อสะดวกแก่การศึกษา เป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องหมายวรรณยุกต์มีเพียง 2 เครื่องหมายเท่านั้น คือ เอก และโท ซึ่งตรงกับที่มีอยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มาข้อมูล : เอกสารประกอบการสัมมนา คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่มาเว็บ : www.myfirstbrain.com |
บริการ Download การเรียนการสอน