พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมบูรณาการความร่วมมือการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงได้เริ่มวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา โดยเริ่มต้นในพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ซึ่งใช้กลไกการบูรณาการและทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษาทุกสังกัด เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา จัดทำข้อมูลรายบุคคล พร้อมลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน และวางแผนให้การช่วยเหลือ ไปจนถึงการส่งต่อเข้าเรียนในสถานศึกษาทุกสังกัดทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ผลการดำเนินงานในห้วง 1 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก สามารถช่วยเหลือให้ประชากรวัยเรียนกลับมาเรียนจำนวน 38,501 คน คิดเป็นร้อยละ 85.01 ซึ่งคาดว่าในเวลา 2-3 เดือนก่อนเปิดเรียนปีการศึกษา 2562 นี้ จะขยายผลช่วยเหลือให้กลุ่มเป้าหมายกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ทั้งหมด
ต่อมา ศธ.ได้ขยายความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของประชากรวัยเรียน ในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ โดยในปี 2561 ได้ทำการสำรวจประชากรวัยเรียน อายุ 3-18 ปี ที่ไม่ได้รับการศึกษา พบว่ามีจำนวน 470,591 คน และสามารถช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษา จำนวน 49,434 คน คิดเป็นร้อยละ 9.62
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้เชิญผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมหารือกับผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อสร้างความร่วมมือและบูรณาการข้อมูลร่วมกันในรูปแบบของคณะกรรมการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยมีองค์ประกอบของผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนผู้นำศาสนาในแต่ละระดับของทั้ง 5 กระทรวง ร่วมขับเคลื่อนรณรงค์ส่งเสริมตลอดจนเพิ่มโอกาสให้ประชากรวัยเรียน (3 ขวบ-18 ปี) ที่อยู่นอกระบบการศึกษาได้กลับเข้ามาเรียนมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่เน้นย้ำในการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญด้านข้อมูลประชากรวัยเรียน ดังนี้
-
ข้อมูลประชากรวัยเรียนและการเข้าถึงการศึกษาที่แต่ละกระทรวงมีอยู่ ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีความสมบูรณ์อย่างมาก ทั้งข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของข้อมูลระดับครัวเรือนในด้านการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสะท้อนคุณภาพชีวิต
-
การตรวจสอบ ติดตาม และยืนยันตัวตนของประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา โดยสำนักงาน กศน. ซึ่งมีความพร้อมส่งมอบข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ให้การช่วยเหลือเพื่อเข้าถึงการศึกษาต่อไป
-
กรอบแนวทางและการพัฒนาโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูล และการติดตามการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.ศธ.
-
การจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลนักเรียนสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่อยู่นอกระบบการศึกษา
-
การจัดทำโปรแกรมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยเรียน จำแนกเป็นรายบุคคล หมู่บ้าน และอำเภอ โดยการประสานงานร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาสังกัด สพฐ. กับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.ศธ. เป็นต้น
จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงและถ่ายทอดสู่คณะกรรมการระดับต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน, คณะกรรมการระดับอำเภอ ที่มีนายอำเภอเป็นประธาน ตลอดจนคณะกรรมการระดับตำบล ที่มีปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานในแต่ละตำบล เป็นต้น เพื่อการรณรงค์ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการศึกษา และพร้อมที่จะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการเรียนรู้ และสามารถประกอบอาชีพได้
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า แนวทาง
Written by นวรัตน์ รามสูต
Photo Credit อิทธิพล รุ่งก่อน
Rewriter นวรัตน์ รามสูต Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร