เริ่มต้น Partnership School 42 รร
“
ขณะนี้มีสถานศึกษาในโครงการ Partnership School ที่จะเข้าร่วมพิธีลงนาม จำนวนทั้งสิ้น 42 แห่ง ใน 31 จังหวัด จากเดิมมี 40 โรงเรียน แต่ล่าสุดมีภาคเอกชนเสนอเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ
ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้มีภาคเอกชนร่วมโครงการ 11 แห่ง และโรงเรียน 42 แห่ง ที่จะจับคู่กับภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), กลุ่ม ปตท., กลุ่มมิตรผล, มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ, กลุ่มสยามพรีเสิร์ฟฟู้ดส์, โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลอีสาน
ในส่วนของการบริหารจัดการโรงเรียนนั้น จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา และปรับโครงสร้างให้ขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสามารถบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวมากขึ้น พร้อมทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ตรงจุด นอกจากนี้ จะมีคณะกรรมการติดตามประเมินผลและวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลเชิงวิจัยและประเมินผลในทุกมิติ ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนความเชื่อมโยงกับชุมชน
ทั้งนี้
“กระทรวงศึกษาธิการมีความตั้งใจให้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนามีความยั่งยืนถาวร ไม่ใช่โครงการทดลองหรือเป็นเพียงโรงเรียนต้นแบบเท่านั้น โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ที่สำคัญสถานศึกษาจะได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อยู่ได้ด้วยตนเอง” นพ.อุดม กล่าว
นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา กล่าวว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ประชาชนจะได้รับจากโรงเรียนร่วมพัฒนา คือ แหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนและผู้ปกครองให้มีรายได้ โดยในอนาคตอาจมีกองทุนเงินกู้ให้ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยเพื่อทำธุรกิจ ส่วนนักเรียนจะเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการบริหารจัดการในโรงเรียน มิใช่เพียงนั่งฟังครูสอนในห้องเท่านั้น แต่จะได้ฝึกทักษะอาชีพและทักษะชีวิต พร้อมทำธุรกิจภายใต้การจัดตั้งกองทุนเงินกู้ รวมทั้งมีระบบรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง
นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. ได้ปรับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้ตอบสนองแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนร่วมพัฒนา ภายใต้ข้อจำกัดด้านระเบียบ กฎหมาย งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และอื่น ๆ รวมถึงมีการปรับตัวให้เป็นหน่วยขับเคลื่อนส่งเสริมและแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนในโครงการได้อย่างตรงจุด โดยยินดีให้ความร่วมมือในทุกด้านเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งขยายผลการดำเนินงานไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย
ส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุม