เสมา 2 ลงพื้นที่ “เมืองคอน” ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานและการสร้างความรู้ความเข้าใจผู้บริหาร “โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เครือข่ายภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง” ณ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายไกรศร วิศิษฎีกาวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช, นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายเจียร ทองนุ่น ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้บริหารโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เครือข่ายภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง เข้าร่วม
 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานและการสร้างความรู้ความเข้าใจผู้บริหาร “โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เครือข่ายภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง” จัดขึ้นเพื่อให้บริหารนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และเป็นฐานในการพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ให้มีศักยภาพสูงในอนาคต

นอกจากนี้ สำหรับการพัฒนาการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ต้องการให้ผู้บริหารมีใจที่อยากสร้างเด็กให้เติบโตเป็นผู้นำประเทศก้าวสู่ยุคดิจิทัล ต้องคำนึงถึงรูปแบบการศึกษาที่ครอบคลุม ทั้งในด้านองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จริง ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน เน้นการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มพูนประสบการณ์ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างผลงานทางวิชาการ และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ จะต้องมีรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง โดยเริ่มตั้งแต่การได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว การเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนจะต้องปฏิรูปการกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความสามารถของนักเรียน

โดยการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ การเร่งสร้างครูและบุคลากรด้านการศึกษาที่มีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่จะนำไปสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน จัดให้มีสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงการมีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในการฝึกทักษะประสบการณ์ด้านเทคนิควิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนในโรงเรียน ตลอดจนการสนับสนุนจากหลาย ๆ หน่วยงาน ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้การพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การสร้าง และพัฒนาบุคคล ให้เป็นกำลังสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ในเวลาต่อมา รมช.ศึกษาธิการ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โดยมีนายภักดี เหมทานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ และคณะครู นักเรียน ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมการเรียนการสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาทิ การทดลองการสั่นพ้องของเสียงในท่อปลายปิด, เคมีกับการแก้ปัญหา, การวัดขนาดละอองเรณู และ Data Science เป็นต้น ตลอดจน ชมนิทรรศการผลงานของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช อาทิ การเข้าร่วมโครงการ Haruhigaoka Global Meeting at Chubu University Haruhigaoka High School ประเทศญี่ปุ่น, โครงการเซนเซอร์ติดตามอาการผู้ป่วยทางกล้ามเนื้อ, โครงงานฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยความเป็นจริงเสมือน, โครงงานตู้อบรองเท้า, โครงงานอาบเส้นใยฝ้ายด้วยน้ำยางพาราธรรมชาติ เพื่อลดการเกิดเชื้อรา เพิ่มความต้านทานน้ำ, โครงงานแอพพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลน, โครงงานกริปไม้เทนนิสจากยางพาราผสมสารสกัดจากว่านหางจระเข้, โครงงานบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะสำหรับตรวจสอบความสดเนื้อปลากะพงขาว, โครงงานปลอกรัดพยุงเข่าแบบปิดจากยางพารา, การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ด้วยสารนาโนคาร์บอนแบล็ค, ระบบสำรวจการเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์, โครงงานสร้างทฤษฎีจากแบบจำลองสำหรับปรากฏการณ์มิราจแบบซูพีเรียร์ และแบบฟาตามอร์กานา และฟิสิกส์สัประยุทธ์ เป็นต้น
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
18/12/2563