เสมา 3 ลงพื้นที่ศรีสะเกษ ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ต้องขังภายในเรือนจำ และมอบนโยบายการศึกษาเอกชน-กศน.-ลูกเสือ

เสมา 3 ลงพื้นที่ศรีสะเกษ ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ต้องขังภายในเรือนจำ และมอบนโยบายการศึกษาเอกชน-กศน.-ลูกเสือ

ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษา กศน.
ศูนย์การเรียนชุมชนขัณฑกสมิตวิทยา อ.เมืองศรีสะเกษ

(27 กันยายน 2562) ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายกมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช.ศธ., นายพะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ., นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1, นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ เขต 7 และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษา กศน. ให้แก่ผู้ต้องขังภายในเรือนจำ ณ ศูนย์การเรียนชุมชนขัณฑกสมิตวิทยา ภายในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ชอ.เมืองศรีสะเกษ โดยมีนายอุทัย ทัพอาสา ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชม

รมช.ศธ. กล่าวตอนหนึ่งว่า กศน.มีหน้าที่ให้การศึกษาแก่ผู้ด้อย พลาด ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงต้องสนับสนุนพวกเขาเหล่านี้ในขณะที่เขาอยู่ในเรือนจำ ให้มีอาชีพ มีความรู้ มีสิ่งดี ๆ ที่มอบให้ เมื่อเขาพ้นโทษจะได้กลับมาเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศได้แน่นอน

 src=
 src=
 src=
 src=
 src=
 src=

ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการศึกษาเอกชน
ที่ รร.มารีวิทยา ศรีสะเกษ

ต่อมาเวลา 8.30 น. รมช.ศธ. และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่โรงเรียนมารีวิทยาศรีสะเกษ เพื่อเยี่ยมชมและมอบนโยบาย โดยนายเพิ่มศักดิ์ ฉวีรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวให้การต้อนรับ

รมช.ศธ. กล่าวตอนหนึ่งว่า การตรวจเยี่ยมครั้งนี้ได้เห็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในหลายด้าน ได้เห็นศักยภาพของโรงเรียนในวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ Active Learning การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวของสเต็มศึกษา STEM TO STEAM ที่มีพัฒนากระบวนการคิด และการเรียนรู้สู่นวัตกรรม พัฒนาให้นักเรียนเต็มศักยภาพ การจัดกิจกรรมบูรณาการที่หลากหลาย การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของสถานศึกษาให้น่าอยู่ เอื้อต่อการเรียนรู้ การพัฒนาครู มุ่งให้นักเรียนทุกคนมีระเบียบวินัยมีคุณธรรมนําความรู้ เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้ก้าวไกลสู่อนาคต อย่างมีคุณภาพ และเป็นคนที่สมบูรณ์

นอกจากนี้ โรงเรียนได้จัดทําข้อมูลที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีการทํางานเป็นทีม และมอบหมายงาน ตรงตามความถนัดของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรสามารถทํางานได้เต็มศักยภาพ ตามความถนัดของตน สถานศึกษามีการบริหารที่ชัดเจน มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติของสถานศึกษา มีคณะทํางาน มีข้อมูล ของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนมีการทํางานเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง บุคลากรได้รับการพัฒนา ทําให้เกิดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง

นางวัชรกาญจน์ คงพูล ศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวเพิ่มเติมว่าสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดําเนินงานตามนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ในการดําเนินการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษมาโดยตลอดและต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจากหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัด

โดยเฉพาะการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนนั้น ได้ให้ความสําคัญโดยตระหนักว่าโรงเรียนเอกชนแบ่งเบาภาระของรัฐ ทําให้รัฐสามารถประหยัดเงินงบประมาณในการลงทุนด้านการศึกษาได้เป็นจํานวนมาก โรงเรียนเอกชนส่วนมากเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแหล่งชุมชนเกือบทุกชุมชน ถือว่าเป็น โรงเรียนใกล้บ้าน หรือมีการคมนาคมที่สะดวก จึงสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนและผู้ปกครอง ในเรื่องความสะดวกสบายและการประหยัดเวลา รวมทั้งค่าพาหนะในการเดินทางไป-กลับของนักเรียน ให้บริการเด่นเป็นพิเศษ

โรงเรียนเอกชนสามารถให้บริหารที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษสนองความต้องการของกลุ่มคนได้เป็นอย่างดี เช่น อาหารกลางวัน พาหนะรถรับ-ส่ง และสามารถจัดหลักสูตรพิเศษทั้งในเรื่องการฝึกอบรม ด้านคุณธรรม ด้านคุณธรรม จรรยามารยาท การฝึกทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี กีฬา และอื่น ๆ ช่วยให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเอกชนสามารถส่งเสริมเสรีภาพด้านการศึกษา คือ ช่วยให้ผู้ปกครอง และนักเรียนมีโอกาสในการเลือกสถานศึกษามากแห่งขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนที่ดีมีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงจะเป็นคู่แข่งกับโรงเรียนของรัฐ จึงเป็นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น และยังเป็นการลดการผูกขาดในการจัดการศึกษา มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว โรงเรียนเอกชนมีการบริหารจัดการที่มีอิสระ โดยบริหารอย่างระบบธุรกิจซึ่งคล่องตัวมากกว่าระบบราชการ จึงสามารถลดขั้นตอนและระเบียบวิธีการในการสั่งการ บังคับบัญชา สามารถตัดสินใจ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการบริหารงานด้านต่าง ๆ ตลอดจนบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ทําให้ประหยัดเวลา งบประมาณ และกำลังคน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีความคล่องตัว ในการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ดําเนินกิจการ โดยไม่มีข้อจํากัดทางด้านระเบียบ ข้อบังคับเหมือนโรงเรียนภาครัฐ ทําให้สามารถปรับเปลี่ยนและเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ การศึกษาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและทัน เหตุการณ์

ด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ อย่างมีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนของรัฐ โดยพิจารณาได้จากคะแนนผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา และจากคะแนนการทดสอบมาตรฐานอาชีวศึกษา (V-NET) ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนประเภท อาชีวศึกษา ความสามารถทักษะด้านอื่น ๆ ที่เห็นได้จากผลการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนทุกปีการศึกษา และการประกวดแข่งขันอื่น ๆ

 src=
 src=
 src=

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

Top