เสมา2 ย้ำ นศ.สอศ.พังงา จงภาคภูมิใจในอาชีวศึกษา เชื่อมั่นเมื่อจบแล้ว มีทำงาน และทำงานเป็น อย่างมีคุณภาพ

เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563 เคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานนโยบายการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา และวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา ในการลงพื้นที่ติดตามงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 กลุ่มจังหวัดภายใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง, พังงา, ระนอง และสตูล) โดยมี นายณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม

 width=
 width=
 width=
– วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา
เมื่อเวลา 14.00 น. รมช.ศึกษาธิการ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา โดยมี นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ, นายสมรักษ์ ถวาย ศึกษาธิการจังหวัดพังงา, นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้, นายสุภชัย อัมภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา คณะครู และนักศึกษา ให้การต้อนรับ

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา และมีความลาดชัน มากกว่า 90% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 939 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา เป็นพื้นที่ภูเขาลาดชัน ประมาณ 456 ไร่ ส่งผลให้การทำเกษตรกรรมมีความยากลำบากกว่าพื้นที่ราบ แต่ในบริเวณนี้ยังคงเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากสงวนไว้เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในส่วนอื่น ๆ ที่เป็นพื้นที่เนิน ได้ปรับเนินดินเพื่อใช้สำหรับก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ โรงเรือนงานฟาร์ม และพื้นที่สำหรับฟาร์มฝึกหัด พร้อมทั้ง ยังได้กล่าวชื่นชมความสามารถของผู้บริหาร และคณะครู ที่สามารถเปลี่ยนพื้นที่เหมืองแร่ ให้กลายเป็นสถานศึกษา ทางการเกษตรได้ในปัจจุบัน รวมถึงสร้างจุดแข็งอีกมากมาย อาทิ โรงเรือนปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI) เข้ามาช่วย โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือ กับสถานประกอบการสร้างฟาร์มเลี้ยงสุกรสมัยใหม่ ที่เกิดจากความร่วมมือทั้งศิษย์เก่า และภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุน ทำให้สามารถจัดการเรียนได้อย่างครบวงจร จนกระทั่งนำผลิต ไปจำหน่ายและแปรรูป สร้างรายได้ให้ผู้เรียน และยังเป็นฟาร์ม เลี้ยงสุกรระบบปิดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

นอกจากนี้ ได้ฝากให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี วางแผนการวิจัยเพื่อลดต้นทุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมทั้งเป็นต้นแบบให้แก่วิทยาลัยเกษตรฯ อื่น ๆ ทั่วประเทศ อีกทั้ง จะเร่งผลักดันโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งเกิดจากแนวนโยบายของ ศธ. ที่มอบหมายให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมงทั่วประเทศ เป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อทำเกษตรกรรมแบบปราณีต เนื่องจากเป็นการทำการเกษตรในพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

ทั้งนี้ การทำการเกษตรและประมงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ จึงต้องเน้นการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ทำการผลิตที่มีความหลากหลายเพื่อการบริโภคที่เพียงพอภายในครอบครัว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารและด้านการผลิต ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น จึงต้องเน้นการปลูกฝังความคิดให้เกษตรกรอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเกษตรกรให้มีความรู้และทักษะ โดยนำหลักการเรื่อง Coding มาปรับใช้ในการทำเกษตรกรรม ที่เรียกว่า Coding For Farm นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ โดยต้องพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นผู้นำด้านการเกษตร และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรให้กับเยาวชน เกษตรกร และชุมชน พร้อมทั้งยกระดับและพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่ Digital Farming โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI หรือสติ) มาใช้ในกระบวนการการเรียนการสอนต่อไปด้วย

โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พร้อมปลูกต้นไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ต้นกล้วยไม้รองเท้านารีขาวพังงา, ต้นกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ และ ต้นไม้ร่มข้าว พืชท้องถิ่นจังหวัดพังงา เป็นที่ระลึก, เยี่ยมชมฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ดี และฟาร์มสุกรในระบบปิด เป็นต้น

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
– วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา
ในเวลาต่อมา รมช.ศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา โดยมี นางสาวประทิน เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา คณะครู และนักศึกษา ให้การต้อนรับ

 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า “ขอขอบคุณและชื่นชมนักศึกษาทุกคนที่เชื่อมั่น และให้ความสำคัญกับการเรียนอาชีวศึกษา ขอให้ทุกคนจงภาคภูมิใจที่ได้ศึกษาในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่เป็นสถานศึกษาที่ได้ชื่อว่า เมื่อจบการศึกษาไปแล้วมีทำงาน ทำงานเป็น มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของตลาดมากที่สุด”

ทั้งนี้ ทราบดีว่าภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลากหลายด้านอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ส่งเสริมการเรียน Coding ที่จะช่วยพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะชีวิตให้กับเด็กรอบด้าน ได้แก่ การมีความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบและมีตรรกะ สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงมีความเข้าใจภาษาดิจิทัล นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเริ่มจากการจัดการเรียนการสอนแบบ Unplug Coding คือ การเรียนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย (Coding for All, All for Coding) และสามารถต่อยอดความคิดไปสู่การพัฒนานวัตกรรม อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาให้ถึงตัวเด็กโดยตรง และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา​ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะกระทรวงศึกษาธิการ​ให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม ทุกคนต้องได้รับการศึกษาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตลอดจนสามารถพึ่งตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจต่อไป

 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
3/11/2563