เสมา2 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม วษท.ชลบุรี เร่งผลักดัน โครงการ 1 ไร่ 1 แสน

เมื่อวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ในการลงพื้นที่ติดตามงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2563 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก โดยมี นายณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศุภชัย ศรีหล้า ประธานคณะทำงานติดตามแผนงานและงบประมาณ รมช.ศึกษาธิการ, นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบาย รมช.ศึกษาธิการ, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา, นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางปัทมา วีระวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายชาย มะลิลารองเลขาธิการ ก.ค.ศ., นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการ สช., นางอรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ รักษาการในตําแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี คณะครู และนักศึกษา เข้าร่วม

 width=

 width=

 width=

 width=

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรีและการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนโครงการ Smart Farming ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ทำให้ได้รับรางวัลจากผลงานอันเป็นที่ประจักษ์จำนวนมาก โดยการเรียนอาชีวศึกษาเกษตรฯ จะทำให้นักศึกษามีความรู้ มีคุณภาพ สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้ตนเองและครอบครัว

นอกจากนี้ ได้ฝากให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี วางแผนการวิจัยเพื่อลดต้นทุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์​ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมทั้งเป็นต้นแบบให้แก่วิทยาลัยเกษตรฯ อื่น ๆ ทั่วประเทศ อีกทั้ง จะเร่งผลักดันโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งเกิดจากแนวนโยบายของ ศธ. ที่มอบหมายให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมงทั่วประเทศ เป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อทำเกษตรกรรมแบบปราณีต เนื่องจากเป็นการทำการเกษตรในพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

ทั้งนี้ การทำการเกษตรและประมงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ จึงต้องเน้นการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ทำการผลิตที่มีความหลากหลายเพื่อการบริโภคที่เพียงพอภายในครอบครัว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารและด้านการผลิต ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น จึงต้องเน้นการปลูกฝังความคิดให้เกษตรกรอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเกษตรกรให้มีความรู้และทักษะ โดยนำหลักการเรื่อง Coding มาปรับใช้ในการทำเกษตรกรรม ที่เรียกว่า Coding For Farm นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้

โดยต้องพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นผู้นำด้านการเกษตร และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรให้กับเยาวชน เกษตรกร และชุมชน พร้อมทั้งยกระดับและพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่ Digital Farming โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI หรือสติ) มาใช้ในกระบวนการการเรียนการสอน รวมไปถึงการเดินหน้าโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริฯ ซึ่งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 47 แห่งทั่วประเทศ เป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรทางการเกษตร ที่พร้อมจะพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการภายใต้หลักสูตรชลกร เพื่อปั้นนักบริหารจัดการน้ำในชุมชนต่อไป

โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมเรือนเพาะชำไม้ผล แผนกวิชาพืชศาสตร์ในโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) โดยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรีและวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานศึกษา และรับชมผลการดำเนินงานของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี เป็นต้น

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
25/8/2563