เสมา2 เปิดโครงการฝึกอบรมการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ วษท.ร้อยเอ็ด ผลิต ‘ชลกร’ เพื่อนำความรู้ขยายผลสู่ชุมชน

เมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 09.30 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด โดยมี นายณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด, นายเร่งรัด สุทธิสน ผู้อำนวยการสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ, นายเชาวลิต สิมสวย ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, นายชาติชาย เกตุพรหม ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาเกษตรกรรมและประมง และผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด คณะครู นักศึกษา และผู้เข้ารับการอบรม เข้าร่วม

 width=

 width=

 width=

 width=

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า น้ำคือชีวิต น้ำ เป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างมาก เป็นหัวใจหลักในด้านการเกษตรและสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยการบริหารจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร หากขาดน้ำสำหรับการทำการเกษตร ย่อมเสียหายและไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เปิดสอนด้านเกษตรกรรม ก็มีปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อนการดำเนินงานฟาร์มต่าง ๆ ของสถานศึกษา ก็เกิดปัญหาตามไปด้วย ทำให้เกิดโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ ขึ้น โดย ศธ. ให้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานำร่อง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยสนับสนุนในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน และให้ความรู้บุคลากรตามโครงการอบรมการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ จากกองทุนบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ อันประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ การขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ขนาด 1x1x1 เมตร จำนวน 1,500 บ่อ, การขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ขนาด 2x2x2 เมตร จำนวน 100 บ่อ, การขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดด้วยวิธีการเจาะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร ลึก 3 เมตร จำนวน 300 บ่อ, การขุดบ่อน้ำระบบเปิด (ขุดบ่อใหม่) จำนวน 2 บ่อ, การแก้ไขบ่อน้ำเก่าให้เป็นบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน จำนวน 7 บ่อ, การขุดลอกบ่อน้ำเก่า จำนวน 14 บ่อ, ขุดบ่อมหัศจรรย์ทูอินวัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ลึก 12 เมตร จำนวน 13 บ่อ และห้องปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

โดยโครงการดังกล่าว จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง และในขณะเดียวกันครู นักเรียน นักศึกษา หน่วยงาน ภาครัฐ และชุมชน จะเป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการน้ำ สามารถนำความรู้ไปขยายผลในสถานศึกษาหรือสถานศึกษาอื่น ๆ รวมทั้งขยายผลสู่ชุมชนได้ เพื่อช่วยให้ชุมชนมีน้ำเพียงพอต่อการทำการเกษตรตลอดทั้งปี และยังสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนได้อีกด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ที่เป็น ‘ชลกร’ จะสามารถช่วยขยายผลในเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็ว สุดท้ายนี้ ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อจะเป็นชลกรทั้งหลาย ตั้งใจรับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อนำไปขยายผลต่อไป และเป็นกำลังสำคัญในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนได้ สามารถกักเก็บน้ำ​ มีที่ให้น้ำอยู่​ มีที่ให้น้ำไหล​ เก็บน้ำไว้ใต้ดิน จึงจะทำให้น้ำฝนที่ได้มาฟรีนี้ เก็บไว้ได้มากที่สุด เพื่อใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี​ หากทำเช่นนี้ได้ในทุกชุมชน จะส่งผลให้คนไทยหรือเกษตรกรไทยไม่ยากจนอีกต่อไป

ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ร่วมปฏิบัติการขุดบ่อเก็บกักน้ำระบบปิด, เยี่ยมชมห้องบริหารจัดการน้ำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด, เยี่ยมชมบ่อทูอินวัน, โครงการเกษตรประณีต 1 ไร่ 1 แสน, โรงเรือนพืชผัก Smart Farm และการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินในส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ำตามโครงการดังกล่าว โดยมีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ดได้นำความรู้มาขยายผล ณ โรงเรียนขี้เหล็กเขียวไพรวัลย์วิทยา และชุมชนบ้านขี้เหล็กเขียวไพรวัลย์ เป็นต้น

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
27/8/2563