แถลงผลขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา จชต.
กระทรวงศึกษาธิการ โดยศูนย์ประสาน
● น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานและพระราโชบายด้านการศึกษามาขับเคลื่อน
จากการที่ได้รับชม VTR การนำเสนอผลการสรุป
รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี” ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) โดย
เพราะฉะนั้น การเชื่อมโยงงานจากส่วนกลางไปสู่พื้นที่ จึงมี คปต.เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมขับเคลื่อนกับหน่วยงานในพื้นที่ ภายใต้แผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ที่จะแบ่งการทำงานเป็นห้วง ๆ ละ 5 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564), โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (ที่หนองจิก เบตง และสุไหงโก-ลก), โครงการขับเคลื่อน “ไทยนิยม ยั่งยืน” ซึ่งคาดหวังให้ชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความเข้มแข็งในทุกด้านอย่างยั่งยืน
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้พยายามทำงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายใต้ปัญหาที่สำคัญคือ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ด้วยหลักสำคัญคือ “การศึกษาถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประชาชน”
ดังนั้น หากสามารถจัดการเรียนการสอนได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจ กับฝ่ายความมั่นคงและหลายฝ่ายทำงานร่วมกันในพื้นที่ ซึ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการไปเรียนหนังสือ ภายใต้การทำงานที่เป็น “MOE one team“ เกิดการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวของกระทรวงศึกษาธิการ โดย ศปบ.จชต.เป็นหน่วยงานหลักในการประสานแผนการทำงานร่วมกันให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการ อันจะส่งผลให้การทำงานเกิดคุณค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
ศปบ.จชต. หรือ “กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า)” ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา และจะมีอาคารทำการถาวรในห้วงเวลาต่อไป เพื่อที่จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการวางรากฐานการศึกษาให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างมั่นคงถาวร สามารถก้าวข้ามปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ให้หมดไป เพื่อเดินไปข้างหน้าด้วยความเข้มแข็งและมั่นคง
พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้กล่าวให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 6 ด้าน โดยให้เน้นการทำงานที่ใช้ความพยายาม ร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายจัดการศึกษา เช่น
-
การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ที่จะต้องร่วมกันคิดหาแนวทางวิธีการที่จะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วยกิจกรรมหลากหลายต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม
-
การผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน โดยให้ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคใต้ชายแดน ซึ่งตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ที่ได้จัดวางระบบ Big Data ในการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน ที่ถือเป็นต้นแบบให้แก่ศูนย์ภาคอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมข้อมูลตลาดงานในพื้นที่
วางแผนจัดการศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนจบแล้วมีอาชีพ มีงานทำ ไม่ตกงาน ที่สำคัญคือการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษากับสายสามัญให้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันทั้งประเทศมีสัดส่วนอยู่ที่ 40:60 ส่วนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อยู่ที่ 20:80 จึงหวังว่าจะต้องพยายามขับเคลื่อนเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เพราะหากผู้เรียนจบสายอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดงานในพื้นที่ จะส่งผลให้มีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย -
การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปคือ “เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” เพื่อต้องการพัฒนาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการและ
การบูรณาการทำงานในเขตพื้นที่มากขึ้น ทั้งความร่วมมือจากประชารัฐ สังคม เศรษฐกิจ ชุมชน ซึ่งเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ และยกระดับคุณภาพนักเรียนและโรงเรียนบนความหลากหลายของพื้นที่ ซึ่ง ขณะนี้รัฐบาลและ ศธ.ได้เห็นชอบให้นำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครบทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศแล้ว คือ ภาคใต้ ที่สตูล, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ศรีสะเกษ, ภาคตะวันออก ที่ระยอง, ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่, ภาคกลาง ที่กาญจนบุรี และภาคใต้ชายแดน ที่ปัตตานี ซึ่งนอกจากจะนำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคใต้ชายแดนที่ปัตตานีแล้ว คาดว่าจะดำเนินการทั้ง 3 จังหวัดในภาคใต้ชายแดน คือ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ให้เป็นเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพราะจากการดำเนินงาน 4 ปีที่ผ่านมา เห็นผลการดำเนินงานขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมในการจัดการศึกษาในพื้นที่เกิดขึ้นมีผลชัดเจนหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น DLTV ในโรงเรียนขนาดเล็ก, DLIT ในโรงเรียนขนาดกลาง, Google Education เริ่มต้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 750 โรงเรียน ซึ่งได้มีการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับจำนวน 7 รุ่น หรือการเปิด Open Class โดยใช้ตำบลเป็นฐาน ฯลฯ ถือว่าเรื่องนวัตกรรมในพื้นที่โดดเด่นไม่น้อยหน้าใคร -
การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา รมช.ศธ.กล่าว
ว่า “โอกาสที่เคยขาด วันนี้เราเติมเต็มแล้ว” เพราะที่ผ่านมาได้ดำเนินการสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนดนตรี การส่งเสริมด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งด้านกีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งถือว่าโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 12 โรงเรียน จชต. กลายเป็นต้นแบบขยายไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ อีก 9 แห่ง ตามโครงการห้องเรียนกีฬา โครงการสานฝันฯ จึงเป็นโครงการที่ได้รับความชื่นชมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงขอให้รักษามาตรฐานเพื่อลูกหลานของเราได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อไป -
การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อไป ทั้งมาตรฐานสถานศึกษา หลักสูตร การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายความร่วมมือ
-
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ฝากเรื่องการสร้าง “จิตวิญญาณ” ในการทำงาน ที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีระบบธรรมาภิบาล การน้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติ ใช้หลักคิดทำให้ครบฯ ยึดหลักความคุ้มค่า ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความยุติธรรม และหลักนิติธรรม เป็นแนวทางปฏิบัติ
ผลของการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2560 ถือเป็นอีกเรื่องที่เป็นความภูมิใจร่วมกันของทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา เพราะได้มีการสำรวจความคิดเห็น “ความพึงพอใจด้านการศึกษา” ของประชาชนทุกจังหวัดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งผลสำรวจทั้ง 2 ครั้งพบว่าใกล้เคียงกัน กล่าวคือประชาชนมีความพึงพอใจมากถึงร้อยละ 85 และในการสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ในวันแถลงผลงานครั้งนี้ก็พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 91 มีความพึงพอใจผลงานด้านการศึกษาของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะขอให้มีการสำรวจเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งเพศ อายุ รายได้ ฯลฯ เพื่อสรุปรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบในโอกาสต่อไป
ทั้งนี้ ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกประชารัฐ ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสื่อมวลชน เพื่อส่งผลให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้การศึกษาเป็นรากฐานที่สำคัญนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป.
การแถลงผลงาน ข้อมูลพื้นฐาน : ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษา : ผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านที่ 1 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง : นำเสนอโดย นายสนิท แย้มเกสร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ได้ดำเนินการขับเคลื่อนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ที่จะทำให้เยาวชนและประชาชนเกิดความภาคภูมิใจและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ น้อมนำ ศาสตร์พระราชามาเป็นแกนหลักในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ตลอดจนปลูกฝังการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และจัดกิจกรรมลูกเสือเนตรนารียุวกาชาด เพื่อส่งเสริมจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์ โดยมีโครงการและกิจกรรมสำคัญ อาทิ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา พร้อมปลูกต้นไม้ประจำพระองค์ “ต้นรวงผึ้ง”, กิจกรรมปลูกจิตสำนึกความเป็นชาติไทยในโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (To Be Number One) ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี, กิจกรรมประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย โดยวิทยากรแกนนำจำนวน 25 คนจัดอบรมขยายผลให้แก่ผู้บริหารข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษาและพนักงานราชการ จำนวน 1,204 คน, กิจกรรมพัฒนาทักษะทางสังคมพหุวัฒนธรรม ผ่านกิจกรรมกระบวนการพัฒนาผู้นำ และกิจกรรมครอบครัวสุขสันต์สมานฉันท์สังคมไทย โดยมีผู้เข้าร่วม 1,590 คน ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลบุตรหลาน และสร้างความอบอุ่นในครอบครัว, การจัดงานรอมฎอนสัมพันธ์ของหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความสามัคคีและปลูกจิตสำนึกการอยู่ร่วมกันโดยมี ผู้บริหาร บุคลากร หน่วยงานภาคราชการในพื้นที่ องค์กรชุมชน/ศาสนา ตลอดจนผู้ปกครอง เข้าร่วมกว่า 17,320 คน, การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง และพัฒนาครูแกนนำเพื่อออกแบบและขับเคลื่อนการเรียนรู้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักนิติธรรม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 13 เขต และสำนักงาน กศน.จชต. การจัดกิจกรรมชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 13 โดยมีผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ลูกเสือเนตรนารี 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจากประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เนปาล การ์ต้า) เข้าร่วม 3,760 คน นอกจากนี้ ยังมีลูกเสือจิตอาสาช่วยเหลือประชาชนที่ไปประกอบพิธีฮัจย์ จำนวน 420 คน และจิตอาสาอาชีวะในกิจกรรมอาชีวะร่วมด้วยช่วยประชาชน เพื่อให้บริการในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ และวันสงกรานต์ เป็นต้น ด้านที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน ให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน : นำเสนอโดย นายอิทธิฤทธิ์ ศรีชุมภู รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างยะลา ในเรื่องของการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาประชากรวัยแรงงาน ให้มีทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมประสบการณ์ด้านอาชีพเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขัน พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพทางเลือก และพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจนผลิตกำลังคนให้ตามความต้องการของสถานประกอบการในท้องถิ่น จชต. สอดรับตามนโยบายเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พร้อมมุ่งพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจฮาลาลโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีโครงการและกิจกรรมสำคัญ อาทิ การพัฒนาภาษาสู่ยุคอาเซียน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษามลายูกลาง, ภาษาจีน และภาษาพม่า แก่นักเรียนนักศึกษา 1,695 คน ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา 18 แห่ง, การฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไป แก่ประชาชน จำนวน 40 คน เพื่อให้ได้รับบัตรมัคคุเทศก์ทั่วไป (บัตรบรอน) ที่จะสามารถประกอบอาชีพได้จริงตามกฎหมาย, โครงการหลักสูตร 2 ปริญญา ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กับคณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อพัฒนาหลักสูตรสองปริญญาร่วมกัน มีการเทียบโอนหน่วยกิตและได้รับปริญญาทั้ง 2 มหาวิทยาลัย, การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะระยะสั้น Thailand 4.0 แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา กว่า 100 คน พร้อมหลักสูตรการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมศึกษา Lesson study และวิธีการแบบเปิด Open Approach ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา 450 คน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน 1,300 คน ออกไปฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ร้านอาหาร และโรงเรียน และร้านอาหาร และฝึกประสบการณ์อาชีพเพื่อการมีงานทำ 1,700 คน, การ ฝึกอาชีพและจัดตั้งกลุ่มอาชีพในสถาบันศึกษาปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 182 แห่ง รวม 4,021 คน, โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและพัฒนาทักษะวิชาชีพ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ใน 58 ตำบล พร้อมจัดโครงการอาชีวศึกษาประชารัฐ 4 แห่ง ( วิทยาลัยอาชีวะจังหวัดยะลา, วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก, วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี และวิลัยเทคนิคจะนะ) โดยมีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วม 382 คน, จัดกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพและอาชีพทางเลือกอาชีพใหม่แก่ประชาชน 10,034 คนใน 80 อาชีพ พร้อมจัดตั้งกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใน 11 กลุ่มอาชีพ รวมทั้ง จัดโครงการพัฒนาร้านอาหารอัตลักษณ์มลายูใน จชต. และส่งผลงานนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมการประกวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารฮาลาล และสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมฮาลาล กว่า 80 ผลงาน ด้านที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : นำเสนอโดย นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ได้เปิดโอกาสให้ประชากรทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาคุณภาพ ให้สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย หลักสูตรด้านอาชีพ และหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฏูอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้นตามความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ภาษาและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่หลากหลาย และจัดตั้งศูนย์พัฒนาครูเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นรูปแบบสะเต็มศึกษาและการสอนแบบโครงงาน โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ตลอดจนสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครูด้วย โดยมีโครงการและกิจกรรมสำคัญ อาทิ การอบรมหลักสูตรแกนกลางและการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย รูปแบบ Active Learning แก่ครู 80 คน, การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้วรรณกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จำนวน 3 รุ่น กว่า 200 คน, โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ผ่านกิจกรรมแข่งขันทักษะภาษาไทยให้แก่นักเรียน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ โครงการส่งเสริมภาษาคู่การเรียนรู้สู่หมู่บ้านชายแดนใต้แก่ประชาชน 220 คน, จัดกิจกรรมขับเคลื่อนคุณภาพภาษาไทยโดยใช้ “ห้องสมุดคุณภาพ” ในโรงเรียน 161 แห่ง, โครงการค่ายภาษาอังกฤษ English Camp แก่นักเรียน 180 คน พร้อมจัดทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะผ่านการเพิ่มขีดความสามารถด้านการอ่านและเขียนภาษา, จัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา และการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามกระบวนการสะเต็มศึกษา และสร้างสรรค์ผลงานแบบโครงงาน ที่ใช้องค์ความรู้ในหลายสาขาวิชา ที่จะเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลประจำอำเภอ, จัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูสอนไม่ตรงสาย 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 660 คน และจัดอบรมพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองพัฒนาครู) ใน 3 หลักสูตร โดยมีผู้เข้าร่วม 157 คน ด้านที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา : นำเสนอโดย นายเรวัฒน์ เพ็ชรสงฆ์ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้สร้างแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และที่สำคัญคือ การนำประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา การให้ทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อ ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของประชากรวัยเรียนอย่างมีคุณภาพ พร้อมผลักดันโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีโครงการและกิจกรรมสำคัญ อาทิ การแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา ให้กลับเข้ามาเข้าสู่ระบบการศึกษาพร้อมจัดหาที่เรียน จำนวน 27,376 คน (ร้อยละ 60.45) จากจำนวนทั้งหมด 45,289 คน, จัดอบรมครูรับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 111 คน, จัดสรรทุนการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ และผู้เรียนต่อ เช่น ทุนรพี 50 ทุน ทุนการศึกษาเงินอุดหนุนการศึกษานักเรียนมุสลิมและอิสลามศึกษาแห่งประเทศไทย กว่า 700 ทุน ทุนอาชีวศึกษา กว่า 900 ทุน เป็นต้น, โรงเ Top |