แนวทางตั้งกระทรวงอุดมศึกษา
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 12/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 ว่าที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการตั้งกระทรวงใหม่โดยให้การอุดมศึกษาเป็นหลักในการดำเนินงาน คาดว่าจะใช้ชื่อ
ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้ชื่อ “กระทรวงอุดมศึกษา นวัตกรรม วิจัย และวิทยาศาสตร์” (Ministry of Higher Education, Innovation, Research and Science) ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลที่ประเทศส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ได้มอบให้ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ และฝ่ายอุดมศึกษา ทำความเข้าใจร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ต่อไปด้วย
จึงขอให้ทุกคนมองภาพใหญ่ร่วมกัน เพราะทุกหน่วยงานที่เข้ามารวมกัน ล้วนมีความสำคัญทุกส่วน ทั้งด้านวิจัย นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ จึงจำเป็นจะต้องวางแนวทางการทำงานให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อตอบยุทธศาสตร์ชาติ และช่วยผลักดันการปฏิรูปการศึกษาและการวิจัยไปพร้อมกัน โดยการขับเคลื่อนการอุดมศึกษาจะเป็นพื้นฐานใหญ่ เริ่มจากการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน
ในส่วนของการอุดมศึกษา รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัวให้สามารถทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ไม่มีใครเก่งที่สุด แต่ทุกฝ่ายจะต้องเดินไปด้วยกัน และรัฐบาลก็ต้องสนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถผลิตงานวิจัยที่ตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมหลัก ยุทธศาสตร์ชาติ และสู่มาตรฐานระดับสากล
“ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับกรอบเวลาการทำงานอีก 8 เดือนที่เหลือว่าจะตั้งกระทรวงใหม่ได้ทันก่อนการเลือกตั้งหรือไม่นั้น เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ เพราะมีการวางกรอบระยะเวลาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยการร่างกฎหมายหลักในการดำเนินงานทั้ง 2 ฉบับ มีความก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านอุดมศึกษา พ.ร.บ.กระทรวงอุดมศึกษา พ.ศ. …. (โดย ศธ.) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของภาคอุดมศึกษาและรับฟังประชาพิจารณ์แล้ว และด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี) และเมื่อกฎหมายแล้วเสร็จ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ อีกทั้งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เตรียมตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างเร่งด่วน เพื่อเตรียมนำเสนอ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป” นพ.อุดม กล่าว