แผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค
จังหวัด
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการจัดประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ในระดับภาค 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564) โดยประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากศักยภาพและภูมิสังคมเฉพาะของพื้นที่ และดำเนินการเชิงรุกเพื่อเสริมจุดเด่นในระดับภาคในการเป็นฐานการผลิตและการบริการที่สำคัญ ซึ่งการพัฒนาในระดับภาคดังกล่าวได้มุ่งเน้นในเรื่องการลดช่องว่างรายได้ระหว่างภาค และมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งการเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับประชาชนทุกกลุ่มในสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ระดับภาคดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา ให้สามารถตอบสนองต่อมิติของการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติความมั่นคง มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด และ
ดังนั้น ในการประชุมปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ในระดับภาค สำหรับใช้เป็นกรอบในการบูรณาการ การสร้างกลไกการขับเคลื่อนแผนงาน โครงการและกิจกรรม ด้านการศึกษาในแต่ละภาคให้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ตลอดจนเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ภาคอย่างเป็นรูปธรรม
โดยผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและภูมิภาค ประมาณ 380 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2560
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า เป็นครั้งแรกที่ได้พบปะกับผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.)
ต้องยอมรับว่าการพัฒนาทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาติ คือ “คน” และการพัฒนาคนให้เติบโตขึ้นมามีคุณภาพสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา เป็นหน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในระดับนโยบายของกระทรวงได้เห็นพ้องกันว่า ควรมีแผนบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในระดับภาคเกิดขึ้นให้ได้ แม้เรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ที่จะต้องมีการขับเคลื่อนอย่างมีระบบ มีแผน และมีการดำเนินงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งมีการทบทวนแผนงานและโครงการเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน “พื้นที่พิเศษ” จนมีความก้าวหน้าไปทีละส่วน ใน 3 พื้นที่ 5 ภารกิจ กล่าวคือ พื้นที่ชายแดน 27 จังหวัด 107 อำเภอ ที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสถานศึกษาจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแคลนครู หลายแห่งไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต และในพื้นที่นี้ก็จะมีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซ้อนอยู่อีก 10 จังหวัด ที่จำเป็นต้องจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ รวมถึงสมรรถนะในการทำงานและการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และช่วยยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ให้มีมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน ส่วนพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอในสงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) ได้มีคณะทำงานไปทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสังกัดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือ “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า” ตลอดจนจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาในพื้นที่ดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ประกาศโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ภายใต้วิสัยทัศน์ “ขับเคลื่อนธุรกิจ เศรษฐกิจ ด้วยการศึกษาทุกระดับแบบสอดคล้องต่อเนื่อง” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้ไปสนับสนุนความมั่นคงทางด้านสังคม ได้แก่ เมืองต้นแบบ “เกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน” อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมืองต้นแบบ “การพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” อ.เบตง จ.ยะลา และเมืองต้นแบบ “การค้าขายชายแดนระหว่างประเทศ” อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส จากนั้นจะขยายให้เต็มพื้นที่ เพื่อให้มิติทางเศรษฐกิจเป็นฐานในการพัฒนาความเจริญสู่ทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ใน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชั้นนำของอาเซียนภายใน 5 ปี
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน 3 พื้นที่ 5 ภารกิจดังกล่าว ได้มีการจัดทำแผนทั้งหมดในทุกพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยให้ทุกฝ่ายได้ร่วมคิด ร่วมปรึกษาหารือ สร้างกลไกในการขับเคลื่อนและดำเนินงาน พร้อมมีการทบทวนการปฏิบัติเป็นห้วง ๆ เช่น เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นเดือนแห่งการทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การศึกษาพื้นที่พิเศษดังกล่าวในการประชุมสัมมนา “มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อช่วยพัฒนาปรับปรุงแผนการทำงานโดยกำหนดเป็นขั้นเป็นตอน รวมจากกลุ่มย่อย ๆ ก่อนแล้วจึงพัฒนาไปทีละส่วน ๆ
โดยกำหนดเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นแรก
ขั้นที่สอง เป็นการประชุมระดับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
ขั้นที่สาม
การประชุมในครั้งนั้น บรรยากาศดีมาก
นอกจากนี้ เพื่อสะท้อนมุมมองการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาต่อการดำเนินงานที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก พร้อมเสนอให้มีการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมพร้อมทบทวนแผนร่วมกับทุกฝ่ายบ่อยครั้งมากขึ้น ทั้งนี้ คนส่วนมากยังไม่เคยเข้าร่วมการจัดทำแผนเช่นนี้มาก่อน จึงทำให้มั่นใจได้ว่าการขับเคลื่อนและบูรณาการการจัดการศึกษาในพื้นที่ เดินมาถูกทิศทางแล้ว และรูปแบบ วิธีคิด วิธีทำงานที่มีระบบ มีขั้นตอนการจัดทำแผนร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ได้แผนการทำงานที่ครอบคลุม ชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ การจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ของสำนักงบประมาณ ได้กำหนดไว้ 6 ยุทธศาสตร์ โดยแบ่งเป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน โดยมีทั้ง “จุดเน้นการศึกษากับการพัฒนาภาค” ทั้งมิติบูรณาการ (Agenda) และมิติกระทรวง/หน่วยงาน (Function) และ “จุดเน้นการศึกษาที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาภาค” คือ มิติพื้นที่ (Area) ซึ่งทั้ง 6 ภาคดังกล่าวจะมีแนวทางพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป
เป้าหมายในการดำเนินงาน
อีกเรื่องที่ต้องการเน้นย้ำคือ ปัญหาเด็กออกกลางคัน (หรือเด็กตกหล่น) หรือเด็กที่ไม่ได้เข้าระบบการศึกษา ถือเป็นวาระสำคัญของชาติ ที่กระทรวงศึกษาธิการจะเร่งหารือกับกระทรวงมหาดไทยโดยเร็ว เพราะเป็นเรื่องน่าตกใจมากที่เด็กประชากรวัยเรียนของไทยในช่วงอายุ 8-13 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 7.5 แสนคน แต่จากการสำรวจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้กลับพบว่ามีเด็กที่ไม่ได้เข้าระบบมากถึง 1.6 แสนคน หรือกว่า 23% เช่น ใน 4 อำเภอของสงขลา มีจำนวน 2 หมื่นคน สตูล 2 หมื่นกว่าคน ยะลา 3 หมื่นกว่าคน ฯลฯ จึงฝากให้ ศธภ./ศธจ. สำรวจข้อมูลเพื่อเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด โดยขอให้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เด็กเหล่านี้จะต้องมีชื่อเข้าเรียน เพราะการเร่งดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลในการดูแลเด็กอย่างทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำอีกด้วย
ทั้งนี้ ในการทำงานร่วมกันนั้น “กระทรวงศึกษาธิการต้องร่วมมือ ร่วมใจ รวมกันเป็นหนึ่ง” พร้อมฝากหลักคิดของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เคยแนะนำหนังสือ “The Speed of Trust” โดย Stephen MR Covey กล่าวถึงความไว้วางใจ สามารถพัฒนาเป็นระดับ ๆ ได้เริ่มจากความไว้วางใจในตัวเรา และความไว้วางใจกับบุคคลอื่น ๆ ผ่าน 13 พฤติกรรม
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะจัดการประชุมจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคทั้ง 6 ภาค ที่ขอนแก่น สงขลา พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ตราด และเชียงใหม่ ตามลำดับ จากนั้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จะมีการ
นายพะโยม ชิณวงศ์ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ นอกจาก รมช.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายดังกล่าวแล้ว ยังมีการชี้แจงในหลายเรื่อง เช่น ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค,
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป
กิตติกร แซ่หมู่, อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: ถ่ายภาพ
18/10/2560
กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.: รายงาน