แผนบูรณาการศึกษาภาคใต้ชายแดน

จังหวัดปัตตานี – กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาของภาค ปีงบประมาณ 2561-2562 โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุม พร้อมประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม มีผลการประเมินแผนคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ไม่ใช่อันดับสุดท้ายอย่างแน่นอน

วันนี้ (7 ธันวาคม 2560) ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี – พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมมอบนโยบาย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลาง กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี จำนวน 220 คน จัดโดยโดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สิ่งสำคัญของการวางแผน ต้องเน้นการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา และด้านอื่น ๆ อันส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ชายแดน จึงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ครบถ้วน  เพื่อให้การบูรณาการด้านการศึกษากับทุกภาคส่วนเกิดผลสำเร็จ รองรับสู่การพัฒนาของแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการทำงานของรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.25602564) และประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อมิติของการพัฒนาประเทศ ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ต่สิ่งสำคัญของการวางแผนคือ ต้องมีการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจ เพื่อนำสู่ความร่วมมือต่อไป

ประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม

จากความก้าวหน้าของงานด้านการศึกษาที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาธิการมั่นใจว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2561 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีผลการประเมินแผนคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้น จะไม่ใช่อันดับสุดท้ายอย่างแน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจ มีการบูรณาการการทำงานด้วยกลไกประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เกิดความร่วมมือที่มีพลัง เพื่อสร้างการศึกษาให้เป็นทรัพย์สินที่สำคัญของประชาชนที่จะต้องรักษา ปกป้อง ให้ยั่งยืนตลอดไป โดยจะประกาศร่วมกันว่าในปี พ.ศ.2561 ต้องทำให้การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม

เตรียมตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรของ ศธ. และศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ในพื้นที่ จชต.

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อมีแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาคเกิดขึ้นแล้วทั้ง 6 ภาค ถือว่าเป็นนโยบายที่จะต้องจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้เกิดขึ้นทุกภาคเช่นกัน โดยนำต้นแบบจากพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (EEC) มาใช้ โดยศูนย์ดังกล่าวของภาคใต้ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เพื่อให้เป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานเพื่อตรวจสอบความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ และผลิตอัตรากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท ศักยภาพ แผนงาน และวิสัยทัศน์ของพื้นที่

โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ อ.หนองจิก, การพัฒนาด้านการค้าและการท่องเที่ยวที่ อ.สุไหงโก-ลก และการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนที่ อ.เบตง เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้  ยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ณ ศูนย์ กศน.ภาคใต้ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2561 จะสามารถเปิดให้บริการได้ จากนั้นจะเปิดศูนย์พัฒนาบุคลากรให้ครบทุกภาคต่อไป

ผยผลสำรวจประชาชน จชต. ล่าสุด มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่เพิ่มขึ้น

ำหรับการทำงานเพื่อพัฒนาให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยสิ่งที่สำคัญที่ยึดมั่นไว้ในจิตใจตลอดเวลา คือ “ความรับผิดชอบ” กล่าวคือต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ซึ่งจากความรับผิดชอบร่วมกันได้ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน จนส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจ ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้สำรวจความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 มีผู้ให้ความเห็น 1,359 คน จากหลากหลายสาขาอาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ กระจายทั่วทุกจังหวัด พบว่าในภาพรวมประชาชนมีความเห็นว่าการพัฒนาการจัดการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบความสำเร็จในระดับปานกลางถึงมากร้อยละ 90.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม (เดือนกรกฎาคม) ร้อยละ 85.06

เสนอแนวทางการทำงานของนายกฯ เน้นสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ สร้างภาวะผู้นำ เพื่อส่งผลต่อความไว้วางใจต่อประชาชน

อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ แนวทางในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมาโดยตลอดว่า หลักการทำงานแบบบูรณาการนั้น จะต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) เพื่อให้แต่ละหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีหลักการจนเกิดผลสำเร็จต่อไป

พร้อมทั้งให้รณรงค์ในการสร้างความไว้วางใจ เพื่อให้ประชาชนเชื่อใจในการทำงานของรัฐบาล โดยนำตัวอย่างแนวทางการสร้างความไว้วางใจ จากหนังสือ The Speed of Trust ของ สตีเฟ่น เอ็ม.อาร์.โควีย์ (Stephen M.R.Covey) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้แง่คิดในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตกับครอบครัว การทำงาน การบริหารธุรกิจ หรือการบริหารประเทศ รวมไปถึงการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่น

ของขวัญปีใหม่ ศธ.สำหรับประชาชนในพื้นที่ จชต.

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ที่จังหวัดสงขลา ได้ให้ความเห็นขอบในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

  • ได้อนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม ของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 374 อัตรา

  • เห็นชอบโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดำเนินการภายใน 5 ปีการศึกษา จะมีนักเรียนในโครงการ จำนวน 2,519 คน รุ่นแรก จำนวน 91 คน กำลังจะจบการศึกษา และส่วนใหญ่ต้องการที่จะกลับเข้ามาทำงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง

  • นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) จัดทำโครงการที่เป็นลักษณะโรงเรียนประจำ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีที่พักมีอาหารฟรี เพื่อเปิดโอกาสให้ครอบครัวผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ตั้งเป้า 1 อำเภอให้มีโรงเรียนประระดับประถมศึกษา 1 โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 37 อำเภอ ในส่วนของอาชีวศึกษาเบื้องต้นจะจัดโครงการในระดับ ปวช. โดยจะเริ่มดำเนินโครงการภายในปีการศึกษา 2561 ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ภายหลังเปิดการประชุม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกจังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังผลดำเนินงานและความก้าวหน้าในการจัดตั้งศูนย์ จากนั้นได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปรับปรุงสถานที่ของศูนย์ กศน. ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการของภาคใต้ ต่อไป


ส่วนในวันที่สองของการประชุม (8 ธันวาคม 2560) เป็นการรับฟังการนำเสนอผลการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) โดย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังการนำเสนอผลการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้ชายแดน) พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีปิดการประชุม

พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวว่า การจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ต้องวางแผนให้ครบถ้วนทั้งระบบ ให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง การคิดโครงการต่าง ๆ ต้องคิดให้ครอบคลุมยุทธศาสตร์ต่าง ๆ มีความชัดเจนตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดความสำเร็จครบถ้วนและยั่งยืน

สำหรับทิศทางการพัฒนาภาคใต้ชายแดน มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร แปรรูปที่สำคัญของประเทศ และเป็นเมืองชายแดนเชื่อมโยงการค้าและการท่องเที่ยวกับพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซียและสิงคโปร์

อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลกำลังดำเนินโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ที่ อ.หนองจิก สุไหงโก-ลก และเบตง เพื่อสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรความมั่นคงให้กับการผลิตภาคเกษตร 2) พัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก และเมืองเบตงให้เป็นเมืองการค้าและเมืองท่องเที่ยวชายแดน 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน


อิชยา กัปปา: สรุป
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: เรียบเรียง
ปกรณ์ เรืองยิ่ง: ถ่ายภาพ
7/12/2560
update 8/12/2560