โรงเรียนร่วมพัฒนา
กระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ Public School ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันพุธที่ 11 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ประชุมได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อโครงการจาก Public School เป็นโครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ
“โรงเรียนร่วมพัฒนา” จะมีความแตกต่างจาก “โรงเรียนประชารัฐ” กว่า 3,000 แห่ง เพราะภาคเอกชนไม่แต่เพียงสนับสนุนการจัดการศึกษาเท่านั้น แต่จะร่วมกับภาคประชาสังคมในท้องถิ่นร่วม
ในส่วนของการบริหารงานบุคคล จากการหารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พบว่าขณะนี้มีกฎระเบียบรองรับอยู่แล้ว ทำให้สามารถปลดล็อคได้ในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ การกำหนดการจ้างครูใหม่, การกำหนดคุณสมบัติผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเงินเดือนในอัตราเดิม แต่หากมีผลงานตามเป้าหมายทั้งในเรื่องคุณภาพของผู้เรียน การสร้างระบบที่ดี สามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้ ก็จะมีค่าตอบแทน Top up ให้เป็นพิเศษ แต่ย้ำว่ายังคงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและนักเรียนเป็นหลัก ไม่ได้นำเรื่องเงินมาเป็นตัวตั้งแต่อย่างใด
สำหรับการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ก็จะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับหลักสูตร การเรียนการสอน และภาระงานที่เข้มข้นขึ้นเช่นกัน โดยการจัดกิจกรรมของครู ทั้งกิจกรรมนอกห้องเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน สามารถนับเป็นภาระงานได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการเลื่อนวิทยฐานะ แม้จะใช้รูปแบบการประเมินตามระเบียบเดิม แต่ก็สามารถนำแนวคิดในการพัฒนางานใหม่ ๆ มานับเป็นภาระงานได้ ส่วนการนำเงินสนับสนุนของภาคเอกชนมาใช้พัฒนาโรงเรียน ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ ขณะนี้เตรียมที่จะหารือร่วมกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อไป
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของคณะกรรมการ
ส่วนข้อกังวลใจของภาคเอกชน เกี่ยวกับความไม่ต่อเนื่องของโครงการเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลนั้น ได้ยืนยันไปแล้วว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงจะระบุโครงการไว้ในยุทธศาสตร์และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และเป็นเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา
ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีน้อยลงหรือทำให้แย่ลงคงเป็นเรื่องยาก และจะต้องถูกจับตามองจากประชาชน สังคม ตลอดจนสื่อมวลชนด้วย
บรรยากาศการประชุม
และส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุม
ขอบคุณภาพประกอบ lausd.net