นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค โดยมีผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมรับฟังและประชุมสัมมนาครั้งนี้จำนวน 327 คน
•
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์กลุ่มโรงเรียนที่เข้ารับการทดสอบ PISA ของไทย พบว่าโรงเรียนสังกัด กทม. ได้คะแนนต่ำที่สุด ถัดมาตามลำดับคือ อบต./อบจ.,โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, โรงเรียนเอกชน, โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป, โรงเรียนสาธิต จนถึงกลุ่มที่ได้คะแนนสูงที่สุดซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ คือ จุฬาภรณราชวิทยาลัย และมหิดลวิทยานุสรณ์, ส่วนคะแนนการสอบของโรงเรียนขยายโอกาสฯ ทำให้เห็นว่าไม่ได้มีคุณภาพต่ำไปกว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป แต่ที่ต้องให้ความสนใจที่จะต้องดูแล คือ โรงเรียนเอกชน เพราะรับผิดชอบดูแลเด็กนักเรียนกว่า 2 ล้านคน ถัดมาคือ กทม.ซึ่งมีคะแนนไม่ถึง 400 และแทบไม่มีดาวเด่นเลย ก็จะได้มีการหารือและการทำงานร่วมกับ กทม. ต่อไป
สิ่งเหล่านี้ เป็นความจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสนใจในการ “ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียน ICU ซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอยู่ในระดับล่างสุด แต่ในขณะเดียวกันเวียดนามซึ่งได้อันดับ PISA ล่าสุดติดอันดับต้นของโลก ก็ทำให้เห็นความจริงที่ว่า “ความยากจนไม่จำเป็นจะต้องเป็นชะตากรรม” เพราะเด็กยากจนที่สุดของเวียดนามสามารถเอาชนะเด็กที่มีความพร้อมหรือเด็กรวยที่สุดของ OECD ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปได้ ทำให้เห็นบทเรียนที่สำคัญของเวียดนามที่ประสบความสำเร็จ คือ การส่งเสริมให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น Active Learning จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อความสำเร็จดังกล่าว และในการปฏิรูปการศึกษา ครูผู้สอนจำเป็นต้องเป็นครูแบบ Actively Teach คือ ครูไม่ได้ยัดเยียดในการสอน แต่จะทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนอยากเรียนหนังสือ ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จต่อคุณภาพการเรียนการสอน
หลักการให้วิทยฐานะที่สูงขึ้น จึงเป็นเรื่องของความเก่ง และระยะเวลาที่สั่งสม เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์จะสอนเก่งขึ้นตามช่วงเวลา ดังนั้น ในการประเมินวิทยฐานะจึงจะกำหนดทั้ง “ระยะเวลาการสอน” และ “การอบรมพัฒนาด้วยตนเอง” ให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยครูผู้ช่วยจะทำงาน 2 ปี ก่อนที่จะก้าวเป็นชำนาญการ จากนั้นจะใช้เวลา 5 ปีเพื่อขอเลื่อนเป็นชำนาญการพิเศษ และหากจะขอเลื่อนไปในระดับเชี่ยวชาญจะต้องรออีก 5 ปี จากนั้นหากจะไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องรออีก 5 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้เวลาไม่นานในการที่จะก้าวจากชำนาญการ-เชี่ยวชาญพิเศษ โดยใช้เวลาเพียง 20 ปีเท่านั้น ก็มีสิทธิ์ได้รับวิทยฐานะระดับสูงสุดเช่นเดียวกับศาสตราจารย์ และการประเมินวิทยฐานะไม่ต้องมีวิธี Fast Track ใด ๆ เพียงแต่ครูทุกคนจะมี e-Portfolio ล็อกเข้าระบบด้วยตนเองว่าต้องสอนกี่ชั่วโมงตามเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้รับรอง (Sign Off) แต่หากระบบสุ่มเจอว่ามีการโกหกในการกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ ครูรายนั้นจะถูกลดไปเริ่มต้นวิทยฐานะใหม่ และครู-ผู้บริหารก็จะถูกแจ้งความอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช.ด้วย ดังนั้น จึงไม่กังวลระบบการตรวจสอบมากมายและใช้คนมาประเมินเป็นการสิ้นเปลืองระยะเวลาและงบประมาณ
สำหรับชั่วโมงสอนของครู
นอกจากระยะเวลาการสอนแล้ว ระบบ
วิธีการเช่นนี้จะทำให้กระจายลงไปในระดับพื้นที่ และจะมีเงินเหลือนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนทุกระดับ โดยเฉพาะโรงเรียน ICU ได้เป็นจำนวนมาก และหากมีเงินเหลือมากขึ้น ปีต่อไปอาจจะเพิ่มคูปองพัฒนาครูมากกว่า 10,000 บาท แต่จะไม่มีระบบการ Transfer โควตาอบรมของตนเองไปให้ครูคนอื่น
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นระบบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศในการ “ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร” อย่างแท้จริง
•
-
ความพอเพียง: ดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักความพอดีพอเหมาะ และใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย
-
ความกตัญญู: เป็นพื้นฐานด้านคุณธรรมของทุกคน และเป็นสัญลักษณ์ของคนดี เราจึงต้องมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือนพระในบ้าน และกตัญญูต่อครูอาจารย์ซึ่งเปรียบเสมือนพระที่โรงเรียน
-
ความซื่อสัตย์สุจริตสร้างชาติ: ความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีไม่ได้ อีกทั้งการซื่อสัตย์คือการไม่สร้างภาพ ไม่เล่นละครหรือสวมหัวโขน แต่คำพูดหรือการกระทำทุกอย่างควรมาจากใจ
-
ความรับผิดชอบ: ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญสัมมาชีพต่อไปในวันข้างหน้า ขอให้ยึดมั่นกฎกติกาในการทำงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คงเส้นคงวาในความดี ปากตรงกับใจ และอย่าหลงลืมตัว
-
คุณธรรมจริยธรรม: การยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญ และต้องดำรงตนให้เป็นแบบอย่างของสังคม
นอกจากนี้ ได้กำหนด “ตัวชี้วัดโรงเรียนคุณธรรม 7 ข้อ” ดังนี้
-
มีอุดมการณ์คุณธรรม ต่อการพัฒนาในโรงเรียนคุณธรรม
-
มีกลไกและเครื่องมือในการปฏิบัติคุณธรรมจริยธรรมร่วมกันทั้งโรงเรียน
-
มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน และเสียสละในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น
-
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดน้อยลง
-
มีกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างความรับผิดชอบจากผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน
-
มีองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านคุณธรรม และบูรณาการร่วมกันไว้ในชั้นเรียน
-
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม
อย่างไรก็ตาม กรอบแนวคิดและตัวชี้วัดโรงเรียนคุณธรรม อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมถ้อยคำบางส่วนให้มีความสมบูรณ์ จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะได้แจ้งผ่านทาง กศจ.ทุกจังหวัด ได้ร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
28/2/2560