การนำเสนอผลงาน รร.ประชาคมอาเซียนศึกษา ระดับชาติ
ใน 10 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ
นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนของประเทศ ได้เริ่มต้นจากการผลักดันของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ ซึ่ง ADB ได้บรรจุแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อการเปลี่ยนแปลงระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ และให้ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิคและกลยุทธ์ในการสร้างและดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนุภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) จึงได้เริ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อปี 2547 และเพื่อให้การดำเนินงานเกิดคุณภาพ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)
ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกใน 5 พื้นที่ชายแดน รวม 10 อำเภอ 5 จังหวัด คือ จังหวัดตาก สงขลา มุกดาหาร สระแก้ว และตราด และระยะที่สองอีก 5 เขตพื้นที่ชายแดน รวม 13 อำเภอ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาส
โดยมีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน แก้ปัญหาปัญหาแรงงานต่างด้าว ลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนใน ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดน
อย่างไรก็ตาม สิ่งดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ประเทศไทยต้องมีการสร้างคน โดยให้การศึกษาและการฝึกอาชีพให้กับเยาวชนอย่างทั่วถึง เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพพลเมือง จึงได้กำหนดทิศทางและแนวคิดเพื่อเตรียมพลเมืองไทยให้พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน จัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในด้านการศึกษา (2558 – 2562) ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพ มุ่งสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของอาเซียน ผ่านเครือข่ายที่เข้มแข็ง
แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญของ สพฐ.
1. ประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์แผนและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
2. จัดสรรงบประมาณปี 2559 ให้กับเขตพื้นที่การศึกษา 23 เขต 47 โรงเรียน
3. ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
4. ติดตามและตรวจเยี่ยมการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ รวม 9 จุด (หมายเหตุ : ยกเว้นจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งยังไม่ได้ไปตรวจเยี่ยม)
5. ประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สู่ความสำเร็จและความยั่งยืน
6. การประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระดับชาติ
7. จัดการประชุมสัมมนานำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระดับชาติ
สำหรับกิจกรรมที่ 7 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระดับชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2559 ณ โรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
-
การจัดนิทรรศการผลงาน จากการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด -
การสัมมนาทางวิชาการกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม -
ปาฐกถา เรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษท้าทาย การศึกษาไทยอย่างไร โดย ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ -
การอภิปราย “การสร้างเครือข่ายเพื่อบูรณาการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” โดยผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้แทนสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย ดำเนินรายการ โดย ดร.นนทวัชร์ อนันต์พรจินดา -
ศึกษาดูงานโรงเรียนอาเซียนศึกษา ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมงาน ประกอบด้วยข้าราชการกระทรวงต่างๆ ตัวแทนภาคธุรกิจ คณะผู้บริหารโรงเรียน คณะครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 800 คน
โดย
ทั้งนี้ รมช.ศึกษาธิการ
-
หากเรามีแผนที่ดี และนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย จะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ -
หากเรามีแผนที่ไม่ดี แต่มีการปฏิบัติที่ดี จะช่วยพัฒนาแผนงานให้ดีได้ -
หากเรามีแผนที่ดี แต่การปฏิบัติไม่ดี มีสาเหตุมาจากขาดความร่วมมือกัน จะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ -
หากเรามีแผนไม่ดี และมีการปฏิบัติที่ไม่ดีด้วย ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น : ถ่ายภาพ
8/9/2559